เครื่องหมายอัศเจรีย์

กรุงเทพฯ จะจมน้ำในอีก 8 ปี ?

อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จะจมน้ำ   เป็นการเปิดเผยจากหน่วยงานสิ่งแวดล้อมต่างประเทศ ระบุว่า ปี 2573 กรุงเทพมหานคร  จะเป็น 1 ในเมืองของเอเชีย  เจอภาวะน้ำทะเลหนุนสูง  สอดรับกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน  ทำให้เกิดฝนตกหนักมากกว่าที่ระบบโครงสร้างจะรองรับได้  หมายความว่า “กรุงเทพฯ จะจมน้ำ”  

รองศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์  อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  อธิบายให้ฟังว่า   พื้นที่กรุงเทพฯ  กว่าร้อยละ 60 มีระดับต่ำกว่าน้ำทะเลอยู่แล้ว   น้ำท่วมที่คน  กทม. เผชิญอยู่  จึงเรียกได้ว่า “ภัยพิบัติประจำถิ่น”   

ปรากฏการณ์  Climate Change  หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  เป็นความกังวลของหลายภาคส่วนว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีความเกี่ยวข้อง หรือมีผลมากน้อยเพียงใด  แต่สิ่งที่สามารถทำได้ทันที คือการศึกษาและวางระบบโครงสร้างเพื่อรองรับและป้องกันในระยะยาว   

“เมื่อถามว่า กรุงเทพฯ จะน้ำท่วมไหม?  เราจะนึกถึงภาพของสารคดีต่างประเทศ เมืองนั้นเมืองนี้จะจมอยู่ใต้น้ำ….  ซึ่งเราจิตนาการแบบนั้นไม่ได้  เพราะตั้งแต่ในอดีตประเทศเราอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอยู่แล้ว และเราก็สู้กับน้ำท่วมมานานหลายสิบปี” 

….การวางระบบโครงสร้างบริหารจัดการน้ำ จะช่วยให้ กทม.น้ำไม่ท่วม หรือไม่?… 

ย้อนไปสิบปีที่แล้ว  กรุงเทพฯ มีจุดอ่อนน้ำท่วม 324 จุด  แม้ปัจจุบันจะลดเหลือ 20 จุด แต่การยอมรับของประชาชนไม่เหมือนในอดีต   เพราะปัจจุบันประชาชนมองว่า เหตุใดจึงยังไม่มีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน  หากมองในเรื่องระบบเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำที่เริ่มดำเนินการ ชี้ให้ประสิทธิภาพของ กทม. ในการจัดการบริหารน้ำได้เร็วกว่าเดิม  แต่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยแทรกแซงที่ยังทำให้ กทม.เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก  ดังนั้นการวางระบบจัดการน้ำจะเป็นตัววัดถึงประสิทธิภาพของผู้ว่า กทม. ต่อจากนี้   

“กรุงเทพฯ  เปรียบเสมือนอ่างล้างหน้า  ที่จะมีสะดืออยู่ใต้ล่างเพื่อระบายน้ำออก ในรูปแบบของคลอง และระบบท่อต่างๆ  เพียงแค่รูเดียว  แต่หากว่าเราเปิดน้ำมากผิดปกติโดยไม่ได้คาดการณ์ ก็จะทำให้เกิดน้ำล้น  เฉกเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  ทำให้ฝนตกหนักเกินประสิทธิภาพการระบาย โดยเฉพาะในพื้นที่ต่ำ”  

กทม.จะมีคลอง 2 แบบ คือ คลองแนวตั้งในทิศเหนือใต้  มีหน้าที่รับน้ำเหนือเพื่อผันไปทางทิศใต้ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในทางตอนล่างของ กทม. และ คลองแนวขวาง  ทำหน้าที่ช่วยผันน้ำไปยังอุโมงค์รับน้ำ  ส่งต่อลงเเม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง  ซึ่งนั้นน่าจะช่วยให้การระบายน้ำได้ดีขึ้น  แต่กลับพบปัญหาจากชุมชนที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยรุกล้ำคูคลอง ทำให้ไม่สามารถผันน้ำตามคลองต่างๆ ได้มากนัก   

ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลอง  พัฒนาชีวิตชาวบ้านด้วยการสร้างบ้านบนแนวตลิ่งไม่ให้รุกล้ำเข้ามาในคลอง  พร้อมการสร้างเขื่อนกั้นน้ำสองฝั่งคลองอย่างถาวร  ช่วยให้การระบายทำได้อย่างเต็มที่  แต่ยังมีอีกหลายชุมชนที่ยังเป็นชุมชนแบบเดิม  ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการระบายน้ำ  เป็นสิ่งที่ผู้ว่า กทม.จะต้องเร่งดำเนินการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนแก้ปัญหา  

“การที่จะเปลี่ยนชุมชนริมน้ำ  ให้ไปอยู่บนตลิ่ง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เปราะบาง แต่ก็เป็นบุคคลที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ  นับเป็นโจทย์ที่ยาก  ยิ่งหากผู้ว่า กทม. ที่จะเข้ามา อยู่คนละพรรคการเมืองกัน  เมื่อมีการของบประมาณจะมีการขัดแย้งกันหรือไม่ เป็นสิ่งที่ ผู้ว่า กทม. จะต้องประสานให้ดี”  

บ้านริมคลองบางบัวชุมชนดั้งเดิม
บ้านริมคลองบางบัวหลังพัฒนา

…ทำไมเวลาฝนตกหนัก ถนน กทม. น้ำท่วม… 

น้ำไม่มีที่ไป.. แต่เดิมถนนใน กทม. จะมีคลองระบายน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านข้าง  ไม่ว่าจะเป็น ถนนสีลม  ถนนพระราม 4  เมื่อถนนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น คลองก็หายไป  กลายเป็นท่อระบายน้ำขนาดเล็กแทน  เมื่อฝนตกหนักจึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรับมือกับปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้นได้

ถนนวิภาวดีรังสิต.. พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก   ด้านข้างของถนนมีคลองระบายน้ำในลักษณะแนวลาดเอียง คล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู  แต่ก็มีปัญหาที่รับน้ำได้น้อย หากฝนตกหนักมากกว่าปกติประสิทธิภาพในการพร่องน้ำไม่เพียงพอ  อีกทั้งสภาพตลิ่งเริ่มพังจากอายุการใช้งานมานาน  โดยขณะนี้ได้มีการก่อสร้างให้เป็นคลองระบายน้ำแนวตั้ง  มีการขยายคลองทั้งแนวกว้างและแนวลึก ทั้งสองฝั่งของถนนวิภาวดีเพื่อให้การรองรับน้ำได้มากขึ้น   พร้อมการติดตั้งเทคนิคดันท่อ  หรือที่เรียกว่า Pipe Jacking  ซึ่งก็ต้องมาดูกันว่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้มากน้อยเพียงใด 

รองศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์  ระบุว่า   ปัญหาอยู่ที่ถนนส่วนใหญ่ใน กทม. ไม่สามารถขยายคลองระบายน้ำได้  โดยเฉพาะ ถนนรามคำแหง  สุขุมวิท   มักมีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก  จึงเป็นโจทย์ของผู้ว่า กทม. จะมีการวางระบบแก้ปัญหาอย่างไร 

…ถนนทรุดตัว  หรือ แผ่นดินทรุดตัว ใน กทม. มีผลให้น้ำท่วม กทม. 

การสูบน้ำบาดาล  ทำให้ กรุงเทพฯ ทรุดตัว… รองศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์  ระบุว่า  การสูบน้ำบาดาลในอดีต 30-40 ปีที่แล้ว  ไม่มีผลทำให้แผ่นดินใน  กรุงเทพฯ  ทรุดตัว จนทำให้น้ำทะเลเข้าท่วม  ……แต่สิ่งที่ทำให้คนกรุงเทพฯ มีความกังวล อาจเพราะข่าวการทรุดตัวในพื้นที่ต่างๆ  อย่างล่าสุดที่ถนนอุดมสุข มีการทรุดตัวเป็นวงกว้าง  คล้ายกับแผ่นดินบริเวณนั้นมีการยุบตัวลงไป  ทั้งที่จริงแล้ว  การทรุดตัวที่เกิดขึ้นมาจากโครงสร้าง ไม่ใช่เป็นการทรุดตัวของแผ่นดิน  เช่นเดียวกับอีกหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 

เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ  รองศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์  ได้พาทีมข่าวไปดูที่บริเวณใต้สะพานต่างระดับรัชวิภา   พื้นดินตรงเสาใต้สะพานมีความลาดเอียง ลักษณะคล้ายกับแผ่นดินทรุด  ทั้งที่จริงแล้วเป็นเพียงการทรุดฐานรากของตัวเสา  ที่มีการถมดินยกระดับขึ้นมาจากระดับเดิม  เมื่อมีโครงสร้างที่มีน้ำหนักก็จะกดทับให้ดินยุบลงไป   ทำให้มองผ่านๆ  จะเห็นคล้ายกับว่าแผ่นดินทรุดตัว  โดยการทรุดตัวจากการก่อสร้างไม่สามารถที่จะทำให้กรุงเทพฯ จมน้ำทะเลได้อย่างที่ต่างประเทศให้ข้อมูล   

“ประเด็นเรื่องทรุดตัว แล้วทำให้กรุงเทพฯ น้ำท่วม  ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องมาคุยกันแล้ว  ในอดีต 30-40 ปี ที่แล้ว อาจจะใช่  เพราะเรามีการสูบน้ำ

แชร์