เครื่องหมายอัศเจรีย์

3 โรคระบาดในประวัติศาสตร์ไทย ที่มีคนตายนับหมื่นคน

ปัจจุบันที่ทั่วโลกต่างเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดอย่าง “โควิด-19” ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อหลายล้านคน โดยเฉพาะประเทศไทย ที่กำลังรับมือกับการแพร่ระบาดระลอกที่ 5 ที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่รู้หรือไม่ “โควิด-19” ไม่ใช่โรคระบาดแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในอดีตประเทศไทยเคยเผชิญกับโรคระบาดมาแล้วหลายครั้ง วันนี้ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติจะพาย้อนเวลาไปดูว่าในประวัติศาสตร์ไทยเคยเกิดโรคระบาดอะไรขึ้นบ้าง

“กาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ” 3 โรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน

“ความตายสีดำ” หรือ Black Death คำที่ใช้เรียกอาการของผู้ป่วยกาฬโรคที่ตามร่างกายจะมีสีดำ เพราะเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายต่อมน้ำเหลือง ทำให้เซลล์ผิวหนังและเนื้อเยื้อตายจนกลายเป็นแผลสีดำ โดยมีหมัดหนูเป็นพาหนะที่มากับเรือขนส่งสินค้าของประเทศอินเดียเข้ามาระบาดในประเทศไทย จนช่วงรัชการที่ 5 มีการะบาดอย่างหนัก “หมอลำสั้น” แพทย์ประจำด่านตรวจโรคคนแรกของไทย เป็นผู้ออกประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค และ พ.ศ. 2495 พบผู้ป่วยรายสุดท้ายที่จังหวัดนครสวรรค์ก่อนที่โรคนี้จะหายไป

“อหิวาตกโรค หรือ ไข้ป่วง” ก็เป็นอีกโรคที่เริ่มระบาดในช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 เช่นกัน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาการโดยมีแมลงมันเป็นพาหะ จากการระบาดในครั้งนั้นมีคนตายหลายหมื่นคน จนเกิดที่มาของคำว่า “แร้งวัดสระเกศ” เพราะมีศพจำนวนมากที่เผาไม่ทัน ชาวบ้านจึงให้แร้งกำจัดศพแทน และ โรคไข้ทรพิษที่ถือว่ารุนแรกมากในอดีต เพราะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ 36,394 คน จนทำให้กระทรวงการสาธารณสุขในยุคนั้นต้องประกาศเรื่องป้องกันโรคติดต่ออันตรายรายจากต่างประเทศ เพราะโรคไข้ทรพิษเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน

แม้ปัจจุบันเราจะไม่พบผู้ป่วยจาก 3 โรคนี้แล้ว แต่ยังมีโรคระบาดใหม่ๆเกิดขึ้นอีกมากที่ตอนนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด เช่น โรคHIV โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หรือโรคโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังหาวิธีรับมือ
.
.
ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ , siriraj e-public library และ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

แชร์