เครื่องหมายอัศเจรีย์

แผนบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 ของไทย

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงถึงผลการประชุมของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง การบริหารจัดการวัคซีนในที่ประชุม ศบค. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2564 ระบุว่า ในประเทศไทยจะแบ่งการฉีดวัคซีนเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เมื่อวัคซีนมีปริมาณจำกัด กลุ่มเป้าหมาย คือ

1. บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน

2. บุคคลที่มีโรคประจำตัว ได้แก่

– โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น

– โรคหัวใจและหลอดเลือด

– โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต

– โรคหลอดเลือดสมอง

– โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด

– โรคเบาหวาน

– โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

3. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

4. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย

ระยะที่ 2 เมื่อวัคซีนมากขึ้นและเพียงพอ กลุ่มเป้าหมาย คือ

1. กลุ่มเป้าหมายที่ตกค้างในระยะที่ 1

2. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากด่านหน้า

3. ผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ นักกีฬา

4. ผู้เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบิน/ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ

5. ประชาชนทั่วไป

6. นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ นักธุรกิจต่างชาติ คนต่างชาติพำนักระยะยาว

7. แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ

สำหรับวัตถุประสงค์การฉีดวัคซีนในระยะแรก เพื่อลดการป่วยรุนแรง และเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 รวมถึงเพื่อรักษาระบบสุขภาพของประเทศ ส่วนการฉีดวัคซีนในระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของประเทศ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากร และฟื้นฟูให้ประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

และเมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่โรงพยาบาล ผู้ได้รับสิทธิ์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ทางการกระทรวงสาธารณสุขวางไว้ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการฉีดโดยประมาณ รวม 40 นาที แบ่งเป็นช่วงลงทะเบียนและฉีด 5-7 นาที รอดูอาการอีก 30 นาที รวมทั้งสิ้น 8 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : ลงทะเบียน (ทำบัตร)

ขั้นตอนที่ 2 : ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต

ขั้นตอนที่ 3 : คัดกรอง/ซักประวัติ, ประเมินความเสี่ยง, ลงนามในใบยินยอมการรับวัคซีน

ขั้นตอนที่ 4 : รอฉีดวัคซีน

ขั้นตอนที่ 5 : ฉีดวัคซีน

ขั้นตอนที่ 6 : พักสังเกตอาการ 30 นาที สแกน LINE OFFICIAL Account “หมอพร้อม”

ขั้นตอนที่ 7 : ตรวจสอบก่อนกลับ พร้อมรับเอกสารการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน

ขั้นตอนที่ 8 : ประเมินผลความครอบคลุมการฉีดวัคซีน และอาการไม่พึงประสงค์ผ่าน LINE OFFICIAL Account “หมอพร้อม”

LINE OFFICIAL Account “หมอพร้อม” จะทำหน้าที่

* ติดตามวัคซีนหลังฉีด 1 วัน, 7 วัน และ 30 วัน

* แจ้งนัดหมายฉีดครั้งที่ 2

* รับใบยืนยันการฉีดวัคซีน

ด้านแผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 ของ Sinovac จำนวน 200,000 โดส ในระยะที่ 1 ช่วงเดือนมีนาคม 2564 จะมีการกระจายออกไปใน 13 จังหวัด แบ่งเป็น

* พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 1 จังหวัด ได้แก่สมุทรสาคร จำนวน 70,000 โดส

* พื้นที่ควบคุม 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก) 66,000 โดส,ปทุมธานี 8,000 โดส, นนทบุรี 6,000 โดส, สมุทรปราการ 6,000 โดส, ตาก (อ.แม่สอด) 5,000 โดส, นครปฐม 3,500 โดส, สมุทรสงคราม 2,000 โดส, ราชบุรี 2,500 โดส

* พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอีก 4 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี 4,700 โดส, ภูเก็ต 4,000 โดส, สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) 2,500 โดส และเชียงใหม่ 3,500 โดส

ทั้งนี้ การให้บริการฉีดวัคซีน โควิด-19 จะมีจำนวนหน่วยบริการ ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนประมาณ 1,000 แห่ง แบ่งเป็นระยะที่ 1 ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2564 จำนวน 2 ล้านโดส และระยะที่สองช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2564 จำนวน 61 ล้านโดส รวมทั้งหมด 63 ล้านโดส โดยจะวางแผนให้บริการวัคซีนจำนวน 500 โดสต่อวัน 20 วันต่อเดือน เฉลี่ยเดือนละ 10 ล้านโดส

ภาพจาก กระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ แผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทยในปี 2564 แบ่งออกเป็น 3 ล็อต

ล็อตที่ 1 วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 2 ล้านโดส (เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2564)

* วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564  จำนวน 200,000 โดส

* เดือนมีนาคม 2564 จำนวน 800,000 โดส

* เดือนเมษายน 2564 จำนวน 1,000,000 โดส

ล็อตที่ 2 วัคซีน AstraZeneca จำนวน 26 ล้านโดส (เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2564)

* เดือนมิถุนายน 2564 จำนวน 6,000,000 โดส

* เดือนกรกฎาคม 2564 จำนวน 10,000,000 โดส

* เดือนสิงหาคม 2564 จำนวน 10,000,000 โดส

ล็อตที่ 3 วัคซีน AstraZeneca จำนวน 35 ล้านโดส (เดือนกันยายน-ธันวาคม 2564)

* เดือนกันยายน 2564 จำนวน 10,000,000 โดส

* เดือนตุลาคม 2564 จำนวน 10,000,000 โดส

* เดือนพฤศจิกายน 2564 จำนวน 10,000,000 โดส

* เดอืนธันวาคม 2564 จำนวน 5,000,000 โดส

แชร์