เครื่องหมายอัศเจรีย์

หลักการจัดการภัยพิบัติซ้ำซ้อนภายใต้สถานการณ์ Covid-19

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

ผู้เขียน และประเมินรายงาน IPCC
คณะกรรมการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ม.รังสิต

จากงานวิจัยสถานการณ์การติดเชื้อจากประเทศจีน ตัวเลขการคาดการณ์ ผู้ติดเชื้อประเทศไทยอาจมีถึง 18,000 คน

“ภายใต้สถานการณ์ภัยพิบัติซ้ำซ้อนที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศ ไทย เปรียบเสมือนเราอยู่ในทะเลที่กำลังเผชิญกับพายุลูกเดียวกัน แต่อยู่ เรือคนละลำ พายุลูกนี้เป็นภัยพิบัติซ้ำซ้อนระหว่าง Covid-19  และ Climate Change ซึ่งจะคงอยู่กับเราตลอดไป ท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้บัญชา การกองเรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะกัปตันเรือ 77 ลำ ที่มีเป้าหมาย ร่วมกันในการนำเรือแต่ละลำเข้าเทียบท่าอย่างปลอดภัย กัปตันเรือทุกคน และเรือทุกลำ มีความเปราะบางแตกต่างกัน (มีความสามารถต่างกัน มีอุป กรณ์ และ กำลังคน กำลังเครื่องมือ กำลังทรัพย์ต่างกัน)​ มีความล่อแหลม ต่างกัน (มีพื้นที่รับผิดชอบต่างกัน มีผู้โดยสารที่เป็นประชากรต่างกัน มีผู้ติดเชื้อต่างกัน) แต่มีภัยคุกคามเหมือนกัน (Covid-19 และ Climate Change) ดังนั้น กัปตันเรือจึงต้องมีคู่มือในการจัดการภัยพิบัติซ้ำซ้อน ดังกล่าว เพื่อใช้เป็นพื้นฐานร่วมกัน ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน และที่ สำคัญได้รับการยอมรับ และเกิดความร่วมมือจากภาคประชาชน ไม่เช่นนั้น เราจะตกเหวกันทั้งประเทศ”

คู่มือการจัดการภัยพิบัติซ้ำซ้อนภายใต้สถานการณ์ Covid-19

(ทบทวน ปรับปรุง และเรียบเรียงจากกรอบการทำงาน Sendai และรายงาน IPCC)

หลักที่ 1 : ผู้นำเป็นต้นแบบของความตระหนักด้าน DRR ในช่วง Covid-19

1.1 ผู้นำควรตระหนักถึงภัยพิบัติซ้ำซ้อนภายใต้สถานการณ์ Covid-19 สถานการณ์อาจมีความสลับซับซ้อน รุกลามใหญ่โต การตัดสินใจด้วย ความรอบคอบโดยผู้เชี่ยวช่าญด้าน DRR และ Pandemic จะช่วยให้ สถานการณ์ดีขึ้น

1.2 ผู้นำต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยง และแผนการจัดการในภาวะฉุก เฉินในการป้องกันความสูญเสีย และความเสียหาย ต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข โรงพยาบาล เสบียง เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นลำดับแรก พร้อมทั้งรักษา และฟื้นฟูสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้า ประปา คมนาคม) ที่จะนำไปสู่การป้องกันการแพร่ระบาด Covid-19

1.3 แผนการจัดการความเสี่ยงต้องระบุความต้องการของกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ (เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ลี้ภัย ผู้ที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยติดเชื้อ Covid-19 โดยแยกตามเพศ อายุ ความเจ็บป่วยเรื้อรัง)

1.4 มีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ทหาร และหน่วยบริการฉุกเฉินทางการแพทย์

1.5 มีการเตรียมการด้านบุคลากร และการเงินรองรับในการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ (หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ เป็นต้น)

1.6 บรรจุหลักการนี้ในแผนจัดการความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้ง ภาคเอกชน มูลนิธิต่าง ๆ

หลักที่ 2 : บูรณาการแผนการจัดการความเสี่ยง DRR และ Pandemic

2.1 บรรจุความมั่นคงของมนุษย์ไว้ในแผนการจัดการความเสี่ยง DRR ที่ สอดคล้องกับกรอบการทำงาน Sendai การจัดการโดยชุมชนเป็นฐาน การจัดการภัยรวม เป็นต้น

2.2 ถ่ายทอดประสบการณ์จริง การเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้ สถานการณ์ Covid-19 เป็นกรณีศึกษาในการเตรียมความพร้อมในการรับมือ และการฝึกซ้อม

2.3  เผยแพร่นำเสนอแผนที่ความเสี่ยงของภัยคุกคาม พร้อมข้อแนะนำให้กับบุคลากรโรงพยาบาล และหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น

2.4  ทบทวน ปรับปรุงการสื่อสารความเสี่ยงระบบการแจ้งเตือน และอพยพ ภายใต้สถานการณ์ภัยพิบัติซ้ำซ้อนให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน

2.5   จัดแคมเปญสร้างความตระหนักร่วมกันระหว่าง DRR กับ Covid-19 เพื่่อ การเตรียมความพร้อมที่ดี นำไปสู่การจัดการที่ยั่งยืนต่อไป

2.6  มีความโปร่งใสในการจัดการทุกขั้นตอน ตอบสนองความต้องการ และ ความช่วยเหลือต่อเนื่อง

2.7   สร้างความร่วมมือของคนรุ่นหนุ่มสาวโดยช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่ โดยคนรุ่นนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการจัดการต่อไปในอนาคต

 หลักที่ 3 : จัดหาน้ำสะอาด ถูกสุขพลานามัยตลอดช่วงของการเกิด Covid-19

3.1  โดยทั่วไปการเกิดภัยพิบัติมักจะทำให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของ Covid-19  โดย เฉพาะเรื่องของน้ำกิน น้ำใช้

3.2  ป้องกันสิ่งปนเปื้อนแหล่งน้ำ การจัดการน้ำเสียจากกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ โดยต้องมีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพน้ำเสียไม่ให้เกิดการแพร่ กระจายเชื้อ Covid-19 ไปสู่ชุมชนโดยรอบ

3.3  สนับสนุนให้มีการใช้ระบบควบคุม และสั่งการโดย Smart system เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม

หลักที่ 4 : ลดความเสี่ยงบุคลากรด้าน DRR จากภัยคุมคาม Covid-19

4.1  ให้การอบรม สร้างกลยุทธ์ ข้อแนะนำความรู้เกี่ยวกับ Covid-19 ให้กับบุคลากรด้าน DRR

4.2  ให้การปกป้องบุคลากรด้าน DRR จากภัยคุกคาม Covid-19 โดยการสนับสนุนอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ต่าง ๆ (หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ เป็นต้น)

4.3  มีการตรวจเช็คร่างกายบุคลากรด้าน DRR ทุกวันที่ปฏิบัติภารกิจ รวมทั้งการเข้าสู่การกักกันตนเอง (ในกรณีมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ)

4.4  บริหารจัดการ การเคลื่อนย้ายบุคลากร และอุปกรณ์ด้าน DRR อย่างมี สมดุล

หลักที่ 5 : ลดความเสี่ยงบุคลากรด้านสาธารณสุข เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ต่าง ๆ จากภัยคุมคามอื่น ๆ

5.1  หลีกเลี่ยงการใช้โรงพยาบาล หรือสถานประกอบการด้านสาธารณสุข เป็นศูนย์อพยพ

5.2  ลดความเสี่ยงในการป้องกันความสูญเสียบุคลากรด้านสาธารณสุข และความเสียหายต่ออุปกรณ์ เวชภัณฑ์ต่าง ๆ จากภัยคุกคามอื่น ๆ

หลักที่ 6 : การป้องกันผู้อพยพจากการติดเชื้อ Covid-19

6.1  ทบทวน ปรับปรุงศูนย์อพยพรองรับมาตรการทิ้งระยะห่าง โดยคัดแยก ผู้อพยพ ผู้ติดเชื้อ ผู้ที่ต้องกักตัวออกจากกัน

6.2  เลือกใช้ศูนย์อพยพหลายชั้น (Vertical evacuation) เพื่อลดความ แออัด และลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อ

6.3  กำหนดแผนการอพยพ และการดูแลกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะ

6.4  จัดหาน้ำสะอาด รวมทั้งสำรองเสบียง เวชภัณฑ์รองรับผู้อพยพ

6.5  ตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐานผู้อพยพ

6.6  รณรงค์การบริจาคด้วยเงินสด (Digital money) แทนสิ่งของ

หลักที่ 7 : การป้องกันผู้ป่วย Covid-19 จากภัยคุกคามอื่น ๆ

7.1  มีมาตรการลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามอื่นๆต่อผู้ป่วย  Covid-19

7.2  ควรเข้าใจแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐานในการลดความเสี่ยงจากผลกระทบ Covid-19 (กำจัดที่ต้นตอ ตัดเส้นทางการแพร่เชื้อ ป้องกันกลุ่มเปราะ บาง)

7.3  มีแผนป้องกัน และแผนการอพยพ ผู้ป่วย Covid-19 สถานที่กักตัว การติดต่อสื่อสาร การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ต่างๆ

หลักที่ 8 : กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับพื้นที่ Lock down

8.1  สื่อสารข้อมูลเตือนภัยล่วงหน้าก่อนมีการ Lock down เพื่อป้องกันการเดินทาง และการแตกตื่นของประชาชน                               

8.2  วางแผนฉุกเฉินในการอพยพ กรณีมีการ Lock down เพื่อลดความเสี่ยง และป้องกันการติดเชื้อ

8.3  ประสานท้องถิ่นด้านสถานที่อพยพ เส้นทางการอพยพก่อนการ Lock down

หลักที่ 9 : การสำรองเงินฉุกเฉินการจัดการ Covid-19 เพื่อหลีกเลี่ยงผล กระทบทางเศรษฐกิจ

9.1  สำรองเงินฉุกเฉินเพื่อตอบสนองภารกิจเร่งด่วนจำเป็น

9.2  ความคล่องตัวในการใช้จ่ายของบุคลากร DRR

9.3  ส่งเสริมให้มีการใช้ Digital money ในการใช้จ่ายเพื่อลดความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ Covid-19

หลักที่ 10 : ความร่วมมือระดับนานาชาติ และภูมิภาค

10.1  กำหนดวัน เวลาที่ชัดเจนในการแถลงข้อมูลต่อชาวโลกเพื่อสร้างความ ไว้วางใจซึ่งกัน และกัน

10.2  ร้องขอข้อมูลที่จำเป็นจากหน่วยงานนานาชาติ

10.3  (ในกรณีจำเป็น) อาจต้องเตรียมการ และอำนวยความสะดวกต่อผู้แทน หน่วยงานนานาชาติ

10.4   (ในกรณีจำเป็น) อาจมีการตั้งศูนย์ฯภูมิภาคในพื้นที่

10.5  ความร่วมมือในการสร้างแผนที่เสี่ยงภัยฯภูมิภาค

10.6  กำหนดมาตรการความช่วยเหลือแก่ประเทศผู้มีรายได้ต่ำ-ปานกลาง

แชร์