เครื่องหมายอัศเจรีย์

มุมมอง สภาพอากาศ 2564 : แล้ง หรือ ท่วม ?

เริ่มเข้าสู่ปี 2564 ด้วยความหนาวเย็นเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ต่อเนื่องด้วยความยากลำบาก ทั่วโลก ทั้งจากภัยคุกคามซ้ำซ้อน ระหว่าง Covid-19 กับ Climate Change ภายใต้ปรากฎการณ์ “ลานิญญา” ที่กำลังจะอ่อนแรงลงในกลางปีนี้ เหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นบ้างกับประเทศไทย ผมขอสรุปเป็น ข้อความที่สำคัญ (Key messages) ดังนี้

1. ความแปรปรวนของอุณหภูมิน้ำทะเลทั่วโลก โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นปัจจัยหลักที่ จะส่งผลกระทบต่อความรุนแรงของสภาพอากาศ ซึ่งปรากฎตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมาโดยเกิดความ แห้งแล้งในช่วงครึ่งปีแรก และไม่ปรากฎพายุพัดเข้าประเทศ จนกระทั่งครึ่งปีหลัง มีพายุส่ง อิทธิพลต่อประเทศไทยหลายลูก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช และภาคใต้ (ดูรูปที่ 1)

รูปที่ 1 ปัจจัยส่งผลกระทบความรุนแรงสภาพอากาศ (Sevellec and Drijfhout, 2018)

2. ปรากฎการณ์ “ลานิญญา” ช่วงต้นปีทำให้อุณหภูมิบ้านเราจะต่ำกว่าปกติ (แต่ไม่หนาว) จนถึงกลางปีนี้ และจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไป จากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศทั่วโลกที่กำลังเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม “ลานิญญา”  มีแนวโน้มลดระดับลงไปจนถึงกลางปี (ดูรูปที่ 2)

รูปที่ 2 ปรากฎการณ์ “ลานิญญา” กำลังเกิดขึ้น มีแนวโน้มลดลง (APEC Climate Center, APCC)

3. ฝนมาเร็ว และมากกว่าปกติในช่วง Premonsoon โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม 2564 มีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในภาคใต้ (รปที่ 3) และจะตกมากกว่าปกติทั่วทุกภาค ในเดือนพฤษภาคม 2564 อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งแรกของปี  2564 พื้นที่หลายแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง ซึ่งมีน้ำต้นทุนน้อย (จากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ปัจจุบัน ณ.วันที่ 29 มกราคม มีอยู่   22% หรือ 3,500 ล้าน ลบ.เมต่ร) ต้องเผชิญความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำ (ทั้งน้ำเพื่อการ เกษตร อุปโภค และบริโภค เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้น้ำเพื่อทำนาปรังกว่า 2.6 ล้านไร่ ในทุ่งเจ้าพระยา) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเตรียมมาตรการรองรับ กักเก็บน้ำในช่วงเดือน พฤษภาคมที่จะมาถึง เพื่อรองรับฝนทิ้งช่วงระหว่างเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม ในช่วงครึ่งปีหลัง สถานการณ์ฝนมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนาน และทิศทางพายุจรที่จะส่งอิทธิพลต่อประเทศไทย ต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

รูปที่ 3 การคาดการณ์ปริมาณฝนช่วง Premonsoon (Copernicus)

4. การคาดการณ์จะมีฝนตกมากกว่าปกติในช่วง Premonsoon ตามข้อ 3) เป็นการส่งสัญาณ ความเสี่ยงน้ำท่วมใหญ่ปลายปีคล้ายกับปี 2554 แต่บนสภาพทางกายภาพที่ต่างกัน (ความ สามารถในการรับน้ำของเขื่อนในภาคเหนือปี 2554 มีน้อยกว่าปัจจุบัน สภาพการเปลี่ยนแปลง พื้นที่รับน้ำต่างกัน) ดังนั้นความรุนแรงของอุกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นจึงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบ 1) ภัยคุกคามจากปริมาณฝนตกหนัก (จำนวน และทิศทางพายุ ร่องความกด อากาศ) 2) ความล่อแหลม (สภาพพื้นที่รับน้ำ มูลค่าทรัพย์สินเสี่ยง) และ 3) ความเปราะบาง (การจัดการในพื้นที่ แผนการเตรียมความพร้อมรับมือ) โดยเฉพาะช่วง สิงหาคม-กันยายน

รูปที่ 4 สัญญาณความเสี่ยงน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2564

5. ภายใต้สถานการณ์ภัยพิบัติซับซ้อนดังกล่าวข้างต้น ทำให้หลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศ ไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายต่อเนื่อง จากการทำงานร่วมกับคณะทำงาน  IPCC พบว่า การบรรลุข้อตกลงปารีส ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่เกิน 2o C มีความเป็น ไปได้น้อยมาก (มีทางออกเพียงต้องลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี 2050) ประกอบกับการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตาม  UN Agenda 2030 ก็แทบเป็น ไปไม่ได้เลย ดังนั้น หายนะครั้งใหญ่ของโลกกำลังจะเกิดขึ้น หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไปแตะ ระดับ 3-5oC (BAU : Business as usual) ประเทศไทยจะทำอย่างไร ? ลูกหลานไทยจะอยู่ กันอย่างไร ? ยุทธศาสตร์ชาติไทยจะเดินไปอย่างไร ? และ พวกเราคนไทยจะปรับตัวให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างไร ?

รูปที่ 5 อนาคตโลก และประเทศไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)

แชร์