Thailand Web Stat Truehits.net
เครื่องหมายอัศเจรีย์

ปี 63 ‘ฝุ่นพิษ’ คร่าชีวิต 1.6 แสนราย ใน 5 เมืองใหญ่ของโลก

ปี 63 ฝุ่นพิษ PM2.5 คร่าชีวิตประชากรก่อนวัยอันควร 1.6 แสนราย ใน 5 เมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ‘โตเกียว’ เสียหายมากที่สุด

ผลการศึกษาของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ IQAir จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากป้ายแสดงผลตัวเลขตามเวลาจริง (live Cost Estimator) ตามระบบออนไลน์ พบว่า ปี  2563   ฝุ่นพิษ  PM 2.5  เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว  160,000  ราย ใน  5  เมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ในขณะที่หลายเมืองมีคุณภาพอากาศดีขึ้นบ้าง อันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์ช่วงการระบาดของโควิด-19

อวินัช จันทร์ชาญ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ อินเดีย กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลเลือกใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ มากกว่าพลังงานหมุนเวียน นั่นคือต้นทุนด้านสุขภาพที่ประชาชนต้องเป็นผู้จ่าย มลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดทางสมอง ความเจ็บป่วยจากโรคหอบหืด และเพิ่มความรุนแรงของโควิด-19 ในเมื่อทางแก้ปัญหามลพิษทางอากาศมีอยู่พร้อมแล้วและมีราคาไม่แพง เราจึงไม่อาจทนหายใจเอาอากาศสกปรกเข้าปอดได้อีกต่อไป

ปี  2563  กรุงเดลี ประเทศอินเดียมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากฝุ่นพิษ  PM 2.5  ประมาณ  54,000  ราย หรือคิดเป็นอัตราการเสียชีวิต  1 คนต่อประชากร 500 คน

กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 13,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นพิษ PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 101,570,000,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.2 เทียบกับ GDP ทั้งหมดของกรุงจาการ์ตา

ส่วนในประเทศไทย มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรกว่า 14,000 รายใน จังหวัด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 149,367,000,000 บาท

โดยกรุงเทพมหานครมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากมลพิษ PM 2.5 กว่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 104,557,000,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (city’sGDP) และ ฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรในกรุงเทพฯ เกือบ 10,000 ราย ถือเป็นจังหวัดที่มีการเสียชีวิตจากฝุ่นพิษ PM 2.5 สูงสุดในประเทศไทย รองลงมาคือ เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรสาคร ขอนแก่น และระยอง

สำหรับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ ระยะเวลา ความหนาแน่นของประชากร และกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในจังหวัด ในขณะที่ประเทศไทยใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 มาหลายเดือนแล้ว แต่ปัญหามลพิษทางอากาศกลับไม่ได้ลดน้อยลงเลย และกำลังคุกคามสุขภาพของประชาชน และระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เว้นแต่ว่าวิกฤตมลพิษทางอากาศจะได้รับการแก้ไข

 ในปี 2563 ความเสียทางเศรษฐกิจโดยประมาณจากฝุ่นพิษ  PM 2.5   ใน  14  เมืองที่ปรากฎอยู่ในป้ายแสดงผลตัวเลขตามเวลาจริง คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 149,367,000,000 บาท และเมืองที่มีค่าความเสียหายจากมลพิษ  PM 2.5  สูงที่สุดที่บันทึกไว้คือ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ  40,000  ราย คิดเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากฝุ่นพิษ  PM 2.5  ประมาณ  43,000  ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว  1,284,560,000,000  บาท

ส่วนลอสแองเจลิสทำสถิติสูงสุดด้านความเสียหายทางเศรษฐกิจจากฝุ่นพิษ  PM 2.5 คิดเป็นมูลค่าประมาณ  2,700  เหรียญสหรัฐต่อคน หรือ  80,658.20  บาทต่อคน.

แชร์