Thailand Web Stat Truehits.net
เครื่องหมายอัศเจรีย์

กำแพงกันคลื่น หาดแม่รำพึง ควรมีหรือไม่?

หาดแม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง กำหนดโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ความยาว เกือบ 1 กม. ไว้บนชายหาดแห่งนี้ โดยโครงการดังกล่าว เกิดขึ้นหลังหน่วยงานส่วนท้องถิ่นได้มีการร้องขอแนวทางแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุปาบึก เมื่อปี 2562 

แต่ก็มีเสียงสะท้อนจากชาวบ้านบางส่วนว่า ปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะที่เกิดขึ้นไม่ได้รุนแรง เหมือนในครั้งที่มีเหตุการณ์พายุปาบึก ประกอบกับหาดทรายก็มีการทับถมสลับกับกัดเซาะ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติจึงมองว่า การก่อสร้างโครงสร้างวิศวกรรมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นเรื่องที่เกินความจำเป็น อีกทั้งยังกังวลว่ากำแพงกันคลื่นจะส่งผลทำให้หาดทรายหายไปและจะกระทบวิถีชีวิตของคนในพื้นที่โดยหลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติครั้งนั้น ก็ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงเพิ่มเติมส่วนนี้ชาวบ้านบางรายจึงมองว่าหากการกัดเซาะ ไม่ได้เกิดกับพื้นที่ที่มีประชาชนอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ ก็ควรปล่อยให้การกัดเซาะดำเนินไปถึงจุดสมดุลและยุติไปเอง อีกทั้งยังมองว่าในอนาคตควรมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ผ่านกลไกของ พ.ร.บ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยฯ ที่ขณะนี้ภาคประชาชนอยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อขอแก้ไข ซึ่งเนื้อหาสำคัญของร่างแก้ไขดังกล่าว คือการเสนอเพิ่มเติมให้ภัยพิบัติเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งเป็นสาธารณภัยประเภทหนึ่งเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถนำงบประมาณมาใช้แก้ปัญหาเมื่อเกิดภัยพิบัติได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านการยื่นเรื่องร้องของบประมาณจากหน่วยงานรัฐซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน เมื่อรอให้เวลาผ่านพ้นไปปัญหาที่เคยมีก็หมดไป การจะยัดเยียดโครงการที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาในอดีตแต่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเข้ามาในพื้นที่ จึงไม่เกิดประโยชน์ 

สภาพชายหาดแม่รำพึงที่มีความสมบูรณ์ โดยการกัดเซาะจะเกิดขึ้นเพียงในระยะเวลาสั้น ๆ คือช่วงเดือน พ.ย. – มี.ค. ของทุกปี ชาวบ้านเล่าว่า นับตั้งแต่ผ่านพ้นภัยพิบัติพายุปาบึก ก็ไม่เคยเกิดการกัดเซาะรุนแรงอีกเลย และแม้ว่าจะเกิดการกัดเซาะขึ้น แต่ชายหาดก็จะค่อย ๆ เกิดการทับถมกลับคืนมา และเป็นอย่างนี้มาโดยตลอด ซึ่งหากเกิดการกัดเซาะจริง ชายหาดแห่งนี้ก็น่าจะไม่เหลือพื้นที่เดิมไว้
ถนนริมชายฝั่ง 1 ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะ ในช่วงเดือน พ.ย. – มี.ค. ของทุกปี มีความยาวประมาณ 20 เมตร เป็นจุดที่กรมโยธาธิการและผังเมือง วางแผนการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น แต่ชาวบ้านระบุว่า ได้รับแจ้งจะมีการเปลี่ยนจุดก่อสร้าง โดยย้ายไปยังบริเวณที่มีสภาพชายหาดสมบูรณ์ จึงเกิดข้อกังขาถึงความจำเป็นในการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ขณะเดียวกันยังมองว่าช่วงมรสุม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ลมว่าวจะมีช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งการก่อสร้างโครงสร้างถาวร อาจไม่ใช่วิธีที่ตอบโจทย์มากนัก
ร่องรอยบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง ในช่วงที่เกิดพายุปาบึก พ.ศ.2562 ปัจจุบันบ้านหลังนี้ถูกทิ้งร้าง ไม่มีผู้อาศัย รวมถึงไม่มีการรื้อถอนและซ่อมแซม โดยหลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติครั้งนั้น ก็ไม่พบเหตุการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงเพิ่มเติม ส่วนนี้ชาวบ้านบางรายจึงมองว่าหากการกัดเซาะ ไม่ได้เกิดกับพื้นที่ที่มีประชาชนอยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์ ก็ควรปล่อยให้การกัดเซาะดำเนินไปถึงจุดสมดุลและยุติไปเอง ประกอบกับควรมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถนำงบประมาณมาใช้แก้ปัญหาเมื่อเกิดภัยพิบัติได้ ไม่ใช่ต้องร้องของบประมาณจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน เมื่อรอให้เวลาผ่านพ้นไป ปัญหาที่เคยมีก็หมดไป การจะยัดเยียดโครงการที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาในอดีต แต่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเข้ามาในพื้นที่ จึงไม่เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่า
ภาพมุมสูงแสดงให้เห็น แนวโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น หาดแม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ความยาว 966 เมตร เริ่มจากคลองบางสะพาน สิ้นสุดที่ร้านอาหารหาดสมบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดที่นอกเหนือบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะทำให้ชาวบ้านในพื้นที่เกิดข้อกังขาถึงความจำเป็นในการก่อสร้างโครงการ เพราะตัวกำแพงอยู่คนละจุดกับจุดที่มีปัญหา
ชายหาดบางสะพาน เป็นชายหาดสาธารณะ ที่มีประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ หาสัตว์น้ำรวมถึงพักผ่อนหย่อนใจ ชาวบ้านบางส่วนกังวลว่าหากมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นจะทำให้พื้นที่ชายหาดหายไป กระทบกับวิถีชีวิตชุมชน

แชร์