เครื่องหมายอัศเจรีย์

คำต่อคำ กับมุมมองนโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติที่ควรมี : เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กับข้อเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อม  ในวงพูดคุยนโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566   

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ  

นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติที่เคย นำเสนอ

เพ็ญโฉม : ที่ผ่านมาเนี่ยเรามีการพูดกันเยอะว่ามันไม่มีข้อมูลที่จะชี้ว่าสิ่งแวดล้อมมันเกี่ยวโยงกับสุขภาพยังไง โดยเฉพาะในประเทศไทยเนี่ยไม่มีตัวเลขทางการแพทย์ที่จะมาเชื่อมโยง แต่ว่าทุกวันนี้มันมีมากขึ้น หรือ 3 ถึง 4 ปี ที่ผ่านมามีการศึกษาของคณะนักวิชาการ แล้วก็บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้มีการตีพิมพ์งานศึกษาเรื่องของผลกระทบทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษต่าง ๆ ในนิตยสารการแพทย์  ชี้ชัดมากว่า ประชากรโลกในแต่ละประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำจะมีประชากรที่เสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวข้อง หรือมีสาเหตุมาจากเรื่องของมลพิษและสิ่งแวดล้อมสูงมากอย่างของประเทศไทยเนี่ยชัดเจนมากว่าสถิติ สูงกว่าผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์หรือว่าเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและก็การสูบบุหรี่

ตรงนี้ก็จะเชื่อมโยงกับสิ่งประเด็นที่ทางคุณธาราพูดว่า ปัญหามลพิษอากาศของประเทศไทยอาจจะไม่ใช่แค่สี่ปีหลัง คิดว่ามันนานก่อนหน้านั้นนะคะมันรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันนี้มันก็แย่ลงด้วยนะคะ

ทีนี้ก่อนที่จะไปพูดต่อไปถึงตรงนั้นเนี่ยอยากจะพูดถึงประเด็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมกับภัยพิบัติสักนิดหนึ่งนะคะ คือว่าเราพูดถึงภัยพิบัติเนี่ยเราจะจินตนาการไปว่านี่คือภัยพิบัติจากธรรมชาติ ซึ่งในความเป็นจริงสิ่งที่มันเป็นปัญหาใหญ่และมันสร้างความเสียหายเยอะมาก ๆ

ในวันนี้มันไม่ใช่แค่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติเท่านั้นนะคะ มันคือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์หรือว่าจากการกระทำของคนด้วยนะคะ  มันกลายเป็นก็สเกล หรือความเสียหายมันอยู่ในสเกลของระดับภัยพิบัติ มันถึงขั้นต้องมีการประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉิน อย่างกรณีที่เกิดไฟไหม้ที่บ่อขยะแพรกษาเมื่อปี 2557 จังหวัดสมุทรปราการ  ต้องประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉิน แต่ว่าการกระทำมันเกิดขึ้นจากมนุษย์ หรือกรณีการระเบิดของโรงงานเคมี หมิงตี้ เคมิคอล อันนั้นถึงต้องมีการประกาศเป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉินชั่วคราว  เพราะว่าความเสียหายมันมีขอบเขตที่เป็นวงกว้าง

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์หรือจากการกระทำของคนเนี่ยจริง ๆ ป้องกันได้นะคะแล้วมันผู้มันมีมันมีมาตรการ ที่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย โดยเฉพาะภัยพิบัติทางเคมี ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบันเนี่ยมันเกิดขึ้นถี่มาก ๆ เฉพาะปีนี้ปีเดียว นับตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้จนถึง ณ วันนี้ เดือนนี้ มันยังไม่สองเดือนเต็มเลย มันเกิดไม่ต่ำกว่าสิบครั้งโรงงานระเบิด ไฟไหม้

อันนี้ก็เป็นประเด็นที่ที่เราจะต้องคุยกันต่อว่าการจัดการภัยที่แบบที่ว่าเนี่ยคือที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งซึ่งบางทีมันเป็นเหตุสุดวิสัย มันก็เป็นเรื่องของผลกระทบของสภาพแวดล้อมภูมิอากาศ มันสะสมมาเป็นเป็นหลายร้อยปีนะคะ  แต่ว่าภัยพิบัติในลักษณะนี้มันเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ หรือว่าเป็นความสะเพร่าต่าง ๆ มาจากระบบการจัดการที่ไม่ดี อันนี้มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดซ้ำ หรือว่าไม่ควรไม่ควรจะเกิดขึ้นถี่

ย้อนกลับมานิดนึงนะคะว่า เมื่อสักครู่นี้ถามว่า 4 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง จริง ๆ อยากจะย้อนกลับไปว่า นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมานะคะจริง ๆ เรา ไม่อยากจะระบุเฉพาะบุคคล แต่ว่าถ้าด้วยโดยช่วงเวลา เท่าที่เราติดตามเรื่องของสิ่งแวดล้อมแล้วก็มลพิษแล้วก็ผลกระทบที่เกิดขึ้นเนี่ย เราเห็นชัดเจนนะคะว่าสถานการณ์มันแย่ลงมาก ๆ ในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ

 ที่ว่าแย่เลยยกตัวอย่าง เช่นนะคะ จากปีที่เกิดไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา ปี 2557 ทำให้รัฐบาลมีการตื่นตัว ซึ่งการตื่นตัวของรัฐทำให้คนที่จับตาดูสถานการณ์  มีความหวังขึ้นมาว่ารัฐบาลตื่นตัวแล้วนะคะ

รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับเรื่องขยะ  ประกาศทันทีให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ  คือความตื่นตัวของรัฐบาลเนี่ยเขาตื่นตัวจริง เค้าให้ความสำคัญทันทีจริงแบบการบริหารงานของทหารเด็ดขาด แต่ว่าความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมกับวิธีการจัดการเนี่ย มีปัญหาใหญ่มากคือ ต้องยอมรับว่า วิธีคิดซึ่งมานำมาสู่วิธีการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ภายใต้การนำท่านนายกรัฐมนตรีเนี่ยมีปัญหาหลายอย่าง และก็วิธีการแก้ไขปัญหาทั้งหมดมันมาลงเอยตรงที่มันนำไปสู่สิ่งที่มาเป็นวัวพันหลัก และปัญหามันแย่ลง ยกตัวอย่าง คำสั่งที่ 4/2559 คำสั่งอันนี้เกิดขึ้นมาจากที่รัฐบาลมองเห็นว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก รัฐบาลก็ประกาศให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ คำสั่งนี้ มีสาเหตุมาจากเรื่องของว่าต้องเร่งจัดการปัญหาขยะโดยทันที เป็นคำสั่งที่ให้มีการยกเว้นการบังคับใช้กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องผังเมืองนะคะ สำหรับการประกอบกิจการบางประเภท อันนี้เอากลับมาให้ดูเป็นตัวอย่างว่า คำสั่งนี้มันมีผลที่ทำให้รัฐบาลในยุคนั้น จริง ๆ มันมีผลมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ให้มีการบังคับใช้ผังเมืองสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงรวมไปถึงเรื่องของโรงคัดแยกขยะ  โรงงานรีไซเคิลขยะ  แล้วก็โรงไฟฟ้าบางประเภทด้วย

อีกฝั่งก็คือโรงไฟฟ้าขยะอ่อนนุชซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้เนี่ย สร้างขึ้นมาแทบต้องบอกว่าอยู่ใจชุมชนเลยก็ว่าได้ เป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่พอสมควรซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมพึ่งสั่งปิดชั่วคราวไปเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถ้าหากว่าไม่มีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองแล้วก็ไม่ได้ให้โอกาสในการสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะภายใต้กฎหมายที่อยู่ภายใต้การดูแลของคสช. เนี่ยโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่นี้ไม่ได้ ที่อ่อนนุชไม่ได้เพราะว่ามันมีโอกาสที่ตัวก๊าซมีเทนจะระเบิด อาจจะสร้างความเสียหายมาก  แต่ว่าทุกวันนี้ที่สั่งปิดไปชั่วคราวเพราะว่ากลิ่นรุนแรงมาก

ตัวเลขของชุมชนที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะซึ่งจากปี 2559 ถึง 2565 มีประมาณ 22 ถึง 23 ชุมชน ก่อนหน้านั้นช่วงปี 2555 ถึง 2559 ทั่วประเทศมีประมาณ 33 ชุมชน ที่คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งตรงนี้ ต้องการให้เห็นว่า รัฐบาลเมื่อมองเห็นว่าปัญหาขยะ เป็นปัญหาเร่งด่วน สิ่งที่รัฐบาลคิด แล้วก็รับฟังข้อมูลคือรับฟังข้อมูลจากผู้ลงทุนผู้ประกอบกิจการว่า การจัดการขยะ ถ้าจะทำให้รวดเร็วก็ต้องเอามาเผาอย่างเดียวนะคะ บวกกับเห็นว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องพลังงาน และก็มองว่าขยะเป็นพลังงานหมุนเวียนได้ ทำให้มีนโยบายให้สร้างโรงไฟฟ้าขยะไปทั่วประเทศ ประมาณเกือบ 60 แห่ง แต่รัฐบาลไม่ได้มองว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างไฟฟ้าลักษณะแบบนี้มันคืออะไรบ้าง คือไม่มีการศึกษาทั้ง ๆ ที่การศึกษามีอยู่มากแต่ไม่นำมาใช้ ตัวรัฐเองก็ไม่ศึกษาในเรื่องนี้

อันนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า การบริหารนโยบายที่ผิดพลาดในเรื่องสิ่งแวดล้อมมันสามารถสร้างปัญหาที่ซ้ำซ้อนเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีกได้นะคะ แล้วมันเป็นการสร้างความเสียหายต่องบประมาณของประเทศ  และที่สำคัญก็คือว่าตัวมลพิษที่เกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้าในสถานะแบบนี้มันเป็นพิษที่ร้ายแรงและมันคุกคามสุขภาพมาก ซึ่งหลายประเทศเขาก็รู้กันนะคะมันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งโรคภูมิแพ้และอีกหลายโรคนะคะไม่ว่าจะเป็น  เรื่องของ กลิ่น ตัวฝุ่นละอองขนาดเล็ก เป็นสาเหตุของมลพิษ PM2.5 ด้วย ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งหลาย ๆ อย่าง ถ้ารัฐบาลตื่นตัวในเรื่องนี้ แต่จากวิธีคิดของรัฐบาล มีปัญหา วิธีคิดของผู้นำรัฐบาลมีปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา จึงมีปัญหาตามมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันสร้างผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราคิดว่าในส่วนที่เรามองเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาลชุดนี้  ในขณะเดียวกันเนี่ยเราคิดว่า ช่วงการบริหารของรัฐบาลที่กำลังจะหมดวาระไปเนี่ยค่ะ มีปัญหาอีกหลายส่วน โดยเฉพาะเรื่องของการรับฟังเสียงภาคประชาชน หรือนักวิชาการ จะสังเกตดูว่าท่านนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็น ผู้นำ ไม่เปิดโอกาสที่จะรับฟัง ไม่เปิดโอกาสที่จะลงมาพูดให้ข้อมูลข้อเท็จจริงในระดับพื้นที่ ที่มีปัญหา ไม่เคยลงพื้นที่หรือว่าไม่เคยเปิดโอกาสให้นักวิชาการเข้ามาสะท้อนข้อมูลข้อเท็จจริง ก่อนที่จะตัดสินใจ

จริงอยู่ว่าท่านตั้งคณะกรรมปฏิรูปประเทศ แต่ว่าถ้าเราจำกันได้ข้อเสนอจาก สภาปฏิรูปประเทศชุดแรกถูกยกเลิกไปเนื่องจากมันมีหลายข้อมีนโยบายพูดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างจะก้าวหน้า รวมถึงเรื่องพลังงานหมุนเวียน และอื่นๆ อีกมากมาย  

เพราะฉะนั้นเนี่ย มันเหมือนตื่นตัว ให้ความสำคัญ แต่ในความเป็นจริง มองข้าม เพราะฉะนั้นคิดว่า รัฐบาลที่จะเข้ามา บริหารประเทศ คิดแบบเดิมไม่ได้ บริหารจัดการแก้ไขปัญหาแบบเดิมไม่ได้ ไม่อย่างนั้น ประเทศเราจะมุ่งหน้าไปสู่ภัยพิบัติที่เกินความคาดเดาได้

นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติแบบไหนที่ไปต่อ และนโยบายไหนที่ควรเร่งแก้ไข

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ  

เพ็ญโฉม : ไม่เห็นแตกต่างจากสามท่านที่ผ่านมานะคะ แต่ว่าอยากจะเพิ่มเติมในส่วนนี้ค่ะว่าจริง ๆ

ถ้าเรามองเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมกับเรื่องของภัยพิบัติเนี่ยเราคิดว่าพื้นฐานที่สุดเลยตอนนี้ที่ส่วนตัวคิดว่าอยากให้เกิดขึ้นแน่ ๆ เลย คือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของรัฐบาล ของผู้นำประเทศ เราต้องการ พาราดาม ชิพท์ ( paradigm shift : การเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ ) ในที่นี้หมายถึงว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการลงทุนและการค้ามองตัวเลขมองจีดีพีเป็นหลัก แต่ว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือว่าเรื่องสุขภาพ หรือการมองในเชิงของการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติ หรือว่าความเสียหายต่าง ๆ ก็ตาม

ตรงนี้ที่เราคิดว่าถ้าหากว่ามันเกิด พาราดาม ชิพท์ ขึ้นมาจริง ๆ เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วิธีคิด วิธีมองปัญหาของรัฐบาล คิดว่าเราคิดว่าเรื่องอื่นจัดการได้หมดเลยนะคะ เรื่องใหญ่จะกลายเป็นเรื่องเล็ก ภัยพิบัติ ก็จะสามารถจัดการได้ อยู่ในมือของอำนาจจัดการของรัฐบาล อยู่ตรงที่ว่าเขาเห็นไหมว่าเรื่องนี้มันสำคัญ 

คือถ้าประเทศไทยเรามีนโยบายมาตรการที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้มันดีอยู่เสมอ ให้มีคุณภาพที่ดี  ให้ทรัพยากรธรรมชาติของเรามีความสมบูรณ์ ให้มีความสมดุล ไม่เสื่อมโทรม สิ่งแวดล้อมที่ดีมันจะเป็นตัวลดภัยพิบัติเองในทุกด้าน ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าหากเราเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจและลงทุนไปเรื่อย ๆ สิ่งแวดล้อมจะเสื่อมลงเรื่อย ๆ ทรัพยากรก็จะสูญไปเรื่อย ๆ ภัยพิบัติจะเกิดรุนแรงขึ้นและเกิดถี่ขึ้น ทางกลับกัน ถ้าเราดูแลตรงนี้ดี ภัยพิบัติจะน้อยลงในระยะยาว แล้วก็คุณภาพชีวิตคนจะดีขึ้น สมรรถนะคนในการผลิตในทุก ๆ ด้านมันจะดีขึ้น  ซึ่งตรงนี้มันจะเป็นสิ่งที่จะทำให้ฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ

การแข่งขันทางการค้าการลงทุนของประเทศไทยดีขึ้น  เพราะว่าคุณภาพคนดี เมื่อมันดีเติบโตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีเนี่ยสติปัญญาจะดีค่ะ  แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมมันแย่สภาพทุกอย่างมันแย่ ทรัพยากรมันแย่  คิดว่าคนจะดีได้ยังไง ถ้าคนในประเทศไม่มีคุณภาพ การแข่งขันทางการค้าเศรษฐกิจและการลงทุนจะดีขึ้นได้ยังไง  เป็นไปไม่ได้เลยนะคะ  เพราะฉะนั้นรัฐบาลมองย้อน ไป ต้องเปลี่ยนความคิดตรงนี้  ต้องทำให้คนไทยอยู่ดีกินดี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ ตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่มันจะเกิดขึ้นได้ต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อน ถ้าเปลี่ยนวิธีคิดเสร็จแล้ว วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จะมาเอง  แล้วก็เราเชื่อว่าตรงนี้ระยะยาวประเทศไทยจะยั่งยืนและแข็งแกร่งมาก  ทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อมสังคมและเศรษฐกิจด้วย  เราจะไม่ห่วงเลยว่าสิ่งที่รัฐบาลไปรับปากนานาชาติไว้ เราจะทำไม่ได้

ประเด็นต่อมากฎหมายที่มีอยู่ในประเทศทั้งหมด ถ้าหากว่าจะนับจากวันนี้ถ้าไปรอกฎหมายใหม่มันอาจจะช้าเพราะฉะนั้นกฎหมายใหม่ที่มีอยู่ในวันนี้ ต้องเอามาใช้ให้มันเต็มที่ ปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่มันเสื่อมโทรมลงทุกวันนี้ ปัญหามลพิษ โรงงานไฟไหม้ ภัยพิบัติ เหยื่อของมลพิษ หรือว่าอาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม และอาชญากรรมในรูปแบบอื่น ๆ เราคิดว่าผู้บังคับใช้กฎหมายเนี่ยไม่ได้บังคับใช้กฎหมายจริงจัง  มันมีการทุจริตมีการคอรัปชั่น  ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาใหญ่มาก  เราต้องจัดการตรงนี้ให้ได้ตอนนี้  ตอนนี้เราได้ยินข่าวแบบทุกวันเลยทางกลับกัน ผู้ที่กระทำผิดกฎหมายโดยเฉพาะผู้ก่อมลพิษ ไม่เคยถูกลงโทษเลย ไม่มีจริง ๆ การเผาโรงงานเพื่อหนีปัญหา เพื่อทำลายหลักฐาน  การเผาบ่อขยะเกิดขึ้น เพื่อทำลายหลักฐาน การกระทำผิดของตัวเอง

เพราะฉะนั้นเราไม่แปลกใจเลยว่าทำไมผู้ลงทุนเนี่ยหลั่งไหลมาประเทศไทยมากันเยอะมาก มาด้วยเทคโนโลยีที่มันแย่ ๆ มาด้วยคุณภาพของคนที่เข้ามาลงทุนแย่ ๆ ทิ้งสิ่งแย่ ๆ ให้กับเรา  เพราะว่าผู้ใช้กฎหมายไม่บังคับใช้กฎหมาย

กฎหมายที่บ้านเรามีอยู่ แม้ว่าโทษจะอ่อนก็ตาม หรือบางอย่างอาจจะบกพร่องยังไม่เต็มที่ ยังไม่สามารถใช้ได้เต็มที่ แต่ถ้าใช้มันเต็มที่  เราเชื่อว่าจะเป็นปราการด่านแรกในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม คุ้มครองคน ซึ่งเราคิดว่า  นี่เป็นประเด็นที่สองที่เราอยากจะเสนอต่อรัฐบาลที่เข้ามาใหม่ด้วย

ประเด็นที่สามเนี่ยก็คือว่าส่วนใดส่วนไหนที่บ้านเรายังขาดอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งประเทศไทยยังขาดอยู่ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายพีอาร์ทีอาร์ และเรายังต้องการกฎหมายอีกหลายฉบับ ประเทศไทยเนี่ยมีพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษเยอะมากทั่วประเทศเลยนะคะ ในประเทศไทยมีพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษอยู่กี่แห่ง และไม่มีพื้นที่ไหนที่ได้รับการฟื้นฟู ในขณะที่พื้นที่ปนเปื้อนมลพิษเหล่านี้มันคือพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตอาหารเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ  แต่ว่าเมื่อมันเสียหายมันปนเปื้อนมลพิษแล้วเนี่ยมันไม่ปลอดภัยพอที่จะปลูกพืช เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยแก่เรา

แผนที่ที่แสดงการลักลอบทิ้งของเสียในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นถี่มากเยอะมากๆและพื้นที่ที่ถูกลอบทิ้งเนี่ย จะเป็นพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษเกือบทั้งหมด ซึ่งยังไม่มีการแก้ไขในปัจจุบัน อาจจะมีที่บางพื้นที่ที่มีการฟ้องคดี ศาลได้มีคำพิพากษาให้มีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมนะคะโดยเฉพาะที่จังหวัดระยองนะคะ ที่จังหวัดเพชรบูรณ์นะคะ ที่จังหวัดราชบุรี อันนี้มีการฟ้องคดีที่เหมืองทองก็มีการฟ้องคดีว่าต้องฟื้นฟูที่กาญจนบุรี เหมืองคลิตี้ก็มีการ ฟ้องคดีที่ต้องมีการฟื้นฟู

ต่อไปคือพื้นที่ ที่มีการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเหมืองแร่ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่พื้นที่เหล่านี้ นาข้าว พื้นที่เกษตร  เสียหายแบบถาวร มีสารปนเปื้อนที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพคนผ่านห่วงโซ่อาหารของเราเนี่ยได้ตลอดเวลา  แล้วก็มาจากกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม หรือมีโรงงานรีไซเคิลต่าง ๆ ที่มีการลอบทิ้งเนี่ย อย่างรูปน้ำข้างบนมุมบนสุด จะเห็นว่าพื้นที่ที่มีการลักลอบทิ้งน้ำเสีย ทำให้อ่างเก็บน้ำขนาดหลายสิบไร่เนี่ยปนเปื้อนทั้งบ่อใช้ไม่ได้ ถ้าจะฟื้นฟูมีการประมาณการว่าต้องใช้เงินประมาณสองพันล้านบาทในการฟื้นฟู แต่ทุกวันนี้ไม่มีงบ

คือถ้ามองย้อน ไทยยังขายได้กฎหมายบางอย่างโดยเฉพาะกฎหมายเฉพาะด้วยการเยียวยาผู้ที่กระทบจากปัญหามลพิษ หรือการปนเปื้อนมลพิษ ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะมาในรูปของอากาศเสีย มลพิษอากาศฝุ่น น้ำเสียหรือขยะอันตราย ประเทศไทยไม่มีกฎหมายตรงนี้ เพราะฉะนั้น กว่าชาวบ้านที่เดือดร้อนจะได้รับการเยียวยา ต้องไปสู้คดีในศาล ซึ่งใช้เวลาไม่เคยต่ำกว่า 3 ปี 5 ปี บางกรณีอาจจะต้องยาวนานถึง 10 ปี

แต่ที่สำคัญก็คือว่าพื้นที่เกษตรก็ดี พื้นที่แหล่งน้ำก็ดีนะคะ นาข้าว แล้วก็แหล่งน้ำใต้ดินเสียหายรุนแรงมากแล้วประเทศไทยไม่มีงบประมาณเลยแม้แต่บาทเดียวในการฟื้นฟู เรามีกองทุนสิ่งแวดล้อมก็จริง  แต่กองทุนสิ่งแวดล้อมเนี่ยไม่สามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูได้

ล่าสุด กรณีของ ชาวบ้าน ต.น้ำพุ จังหวัดราชบุรี ฟ้องคดี ศาลได้มีการพิพากษาให้มีการฟื้นฟู กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลบอกไม่มีงบประมาณ  ด้วยการที่ต่อสู้กันมาจนถึงจุดที่ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมจะของบกลางของรัฐบาลเก้าสิบสี่ล้านบาทมาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขนย้ายกาก ไปทำลายให้ถูกต้อง ฟื้นฟูระบบน้ำใต้ดินเบื้องต้น แต่ ณ วันนี้ อนุมัติเพียงหลักการ  เงินยังไม่มา เมื่อเงินไม่มาก็ไม่มีการฟื้นฟู ยกตัวอย่างให้เห็นให้เห็นว่าไทยยังขาดกฎหมาย

ส่วนพื้นที่น้ำพุจะเห็นว่ามลพิษมันลงจากโรงงาน ลงใต้ดิน ต่อไปแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งเมื่อปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดินแล้ว การฟื้นฟูจะยากมาก สารที่มันปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน มันคือสารก่อมะเร็ง ซึ่งต่อเนื่องไปลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จ.ราชบุรี แล้วก็จะมาลงที่แม่กลอง  คำถามอยู่ที่ว่าเราจะหยุดมันได้ไหมถ้าไม่มีการฟื้นฟู

อันนี้เป็นเรื่องของมลพิษจากโรงงานรีไซเคิลของเสีย และประเทศไทยก็เจ้ากรรมมากตรงที่ว่ารัฐบาลส่งเสริม การอุตสาหกรรมรีไซเคิลหนักมาก แล้วก็มีโรงงานที่เข้ามาลงทุนประกอบกิจการโรงงานรีไซเคิลสูงมาก โดยเฉพาะจากประเทศจีนที่เขาห้ามนำเข้าขยะรีไซเคิลบ้านเขา เขาเลยย้ายมาตั้งโรงงานรีไซเคิลที่บ้านเรา

เรามีปัญหามลพิษอากาศสูงมาก และส่วนหนึ่งทำให้เกิดปัญหา PM2.5 รุนแรงหนักขึ้นด้วยนะคะ บางคนเนี่ยว่าโรงงานเหล่านี้ทำให้เกิด ไดออกซิน แฟคทอรี่ ( dioxin factory )  คือโรงงานที่ผลิตสารพิษก่อมะเร็ง

อันนี้จังหวัดสมุทรสาครที่เรามีการศึกษาแล้วเป็นจังหวัดที่มีปัญหา PM2.5 สูงที่สุดหมายถึงว่าเป็นการศึกษาทางวิชาการว่า ในแต่ละปีเนี่ยมีการผลิต PM2.5 หลายหมื่นตัน

คือเราคิดว่ากฎหมายที่ประเทศไทยยังจะต้องมี ถ้าหากคิดว่าสิ่งแวดล้อมสำคัญกับสุขภาพของคนสำคัญ แล้วก็ทรัพยากรของบ้านเราสำคัญ เราจะต้องมีกฎหมายว่าด้วยเรื่องการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ สู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งคือกฎหมายพีอาร์ทีอาร์  เราอยากให้ประเทศไทยมีกฎหมายว่าด้วยเรื่องการชดเชยความเสียหายสุขภาพจากมลพิษ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ประเทศญี่ปุ่นเนี่ยใช้ได้ผลมาก ๆ นะคะ แล้วทำให้สถิติผู้ป่วยมลพิษของประเทศญี่ปุ่นน้อยลงมาก ๆ แก้ปัญหามลพิษอากาศก็ได้ เราสามารถแก้ปัญหาน้ำเสียต่าง ๆ เมื่อของญี่ปุ่นจะมีกฎหมายฉบับที่สองที่ว่ากับ PRTR สิ่งแวดล้อมของเขาสะอาดขึ้น หายใจเต็มปอดเต็มปอดนะคะ

และกฎหมายฉบับที่ 3 ที่ประเทศไทยควรจะมีโดยเร็ว ก็คือ กฎหมายที่ว่าฟื้นฟูบนพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษ อันนี้ยกตัวอย่างของอเมริกามา เพราะฉะนั้นเนี่ย ตามแผนที่ ที่เราเห็นประเทศมีพื้นที่ที่ปนเปื้อนมลพิษเยอะ และพื้นที่เหล่านี้ สารพิษเหล่านี้กำลังคุกคามพื้นที่เกษตรกรรมแหล่งน้ำ ทั้งแหล่งน้ำใต้ดินแล้วก็แหล่งน้ำผิวดิน แล้วก็คุกคามสุขภาพของคนนะคะ วันนึงมันจะมาถึงเราแน่นอนนะคะ ถ้าเราไม่หยุดยั้งปัญหาเหล่านี้กฎหมายสามฉบับนี้เป็นสิ่งที่อยากจะเสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่

ความเห็นสนับสนุนตั้งคณะทำงานสิ่งแวดล้อม

พูดถึงเรื่องกลไกการแก้ไขปัญหาด้วยกรรมการ หรือกรรมาธิการ ตรงนี้สำคัญมาก  ที่ผ่านมาเอาเรื่องกรรมาธิการรัฐสภาก่อน ถ้าเราไม่มีคณะกรรมการแบบ STANDING COMMITTEE มันจะไม่มาไม่ไปกับรัฐบาล แบบนี้จะทำให้การติดตามมีความต่อเนื่อง เพราะแต่ละเรื่องไม่ใช่ว่าจะทำความเข้าใจง่าย ต้องอาศัยประสบการณ์สั่งสมข้อมูลความรู้ ที่จะเดินหน้าเพื่อแก้ไขปัญหา ถ้าเขามาแปบ ๆ ก็เปลี่ยน แค่ทำความเข้าใจก็หมดเวลา 

ประเทศไทยการแก้ปัญหาเกือบทุกเรื่อง  คือการตั้งคณะทำงาน อนุกรรมการหลายชุดที่มีการตั้งแบบนี้ เรื่องฝุ่น PM2.5 ก็ใช้วิธีนี้ เอามาทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง และมันเทอะทะมาก คือรูปแบบการแก้ปัญหาการตั้งคณะกรรมการ  มันสิ้นเปลืองงบประมาณ และไม่มีประสิทธิภาพ เพราะมันเหมือนกับ ในแง่หนึ่งเหมือนเป็นการประวิงเวลา  เวลาไปที่มันพีคมาก ๆ เนี่ยตั้งกรรมการปั๊บทุกอย่างก็จะเงียบลง แล้วก็รอดูว่า คณะกรรมการจะพูดว่าไง จะเสนอปัญหายังไง พอปัญหามันคลายตัวกรรมการเงียบไปเหมือนกัน  และปัญหาก็จะอยู่ ซึ่งตรงนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เรามองว่ามันแทบจะไม่มีประโยชน์

เมื่อปัญหาเกิดขึ้นมาดูว่าใช้กฎหมายที่มีอยู่เข้าไปจัดการ  อันนี้อาจมีประสิทธิภาพมากกว่า ไม่ใช่ไม่มีอะไรก็ตั้งอนุกรรมการ  ตั้งกรรมการขึ้นมาแก้ไขปัญหา เยอะไปหมด ทุกคนก็วิ่งประชุม มันมีแต่วิ่ง ทุกคนวิ่งประชุม วิ่งประชุมประชุม และก็งบประมาณจ่ายออกไปเรื่อย ๆ แต่ว่าไม่มีกระแสว่าไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา

นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติไหน ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง

จริง ๆ อยากให้พรรคการเมืองนะคะบูรณาการแนวความคิดและความสัมพันธ์ของความพร้อมของสิ่งแวดล้อมเข้ากับความสัมพันธ์อื่น ๆ ให้เสมอกัน เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีปราศจากมลพิษ มันเท่ากับเศรษฐกิจที่มั่งคง และสังคมที่ปลอดภัย มันไม่ควรจะถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังเหมือนที่ผ่านมา  ให้มันเป็นนโยบายที่เสมอหน้าเหมือนนโยบายด้านอื่น

แชร์