
“เราก็ชาวบ้านธรรมดา จะเอากำลังที่ไหนไปสู้ เห็นหน่วยงานลงมาดูแล้วบอกให้โรงงานไปปรับปรุง แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น จนมีมูลนิธิฯ และ สื่อ เข้ามาช่วย ลึก ๆ ก็หวังว่ากระบวนการศาลจะช่วยให้เกิดความเป็นธรรม” – เทียบ สมานมิตร เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบต้นยางพาราตายจากน้ำปนเปื้อน สารพิษ
กว่า 10 ปีแล้ว ที่ชาวบ้าน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำปนเปื้อนสารเคมีรั่วไหลมาจากโรงงานลักลอบกำจัดขยะสารเคมีไม่ได้มาตรฐาน ทำให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย แหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ รวมบริเวณได้รับผลกระทบไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ และแม้ว่าจะพบหลักฐานชัดเจน แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ
ปัญหาดังกล่าวไม่เพียงแต่จะกระทบคนในพื้นที่เท่านั้น แต่ระบบที่อ่อนแอและผู้ประกอบการที่เห็นแก่ตัวเพียงไม่กี่ราย ยังนำมาซึ่งความสูญเสียมูลค่ามหาศาลที่กระทบกับประชาชนทั้งประเทศด้วย เพราะหลังเกิดเหตุ เจ้าของโรงงานได้แจ้งยุติประกอบกิจการ และนำเงินมาวางต่อศาล 9 ล้านบาท แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นรวมถึงการฟื้นฟู มีมูลค่ามากถึง 1,300 ล้านบาท ทำให้รัฐฯอาจจะต้องนำเงินจากกองทุนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมมาใช้ และเงินจำนวนดังกล่าว ก็เป็นเงินที่มาจากภาษีประชาชน นักวิชาการจึงมองว่า การที่หน่วยงานที่ รับผิดชอบกำกับดูแลโรงงานเหล่านี้ ปล่อยปละละเลยให้มีผู้ประกอบการสามารถลอบกระทำความผิด เพื่อนำเงินกำไรเข้ากระเป๋าตัวเอง แลกกับการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นทรัพยากรของประเทศชาติเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจับตามองและหาแนวทางแก้ไขปัญหา สารพิษ








เบื้องต้น เชาหวังว่าคำพิพากษาของศาลจังหวัดระยอง ที่เขากับพวกรวม 15 คน ยื่นฟ้องโรงงานคดีแพ่ง ความผิดฐานละเมิดกฎหมายตาม พ.ร.บส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จะทำให้เกิดแรงกระเพื่อม จนนำไปสู่การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายไปได้