
สถานการณ์ของเต่ามะเฟืองโลกอยู่ในระดับเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ Critically Endangered เต่ามะเฟือง ขึ้นมาวางไข่ เว้นระยะครั้งละประมาณ 5 ปี ( ระหว่างนี้อาจพบรังไข่ ไม่เกิน 2 รัง ) ตามธรรมชาติ ลูกเต่ามะเฟืองที่ฟัก 1,000 ตัว จะมีชีวิตรอดเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ประมาณ 1 ตัว กลุ่มนักวิจัย จึงตั้งสมมติฐานว่าทำอย่างไรสามารถให้สถานการณ์เต่ามะเฟืองถูกปลดจากภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์วิกฤต

การอนุบาลเต่ามะเฟืองครั้งนี้ ใช้ลูกเต่าทั้งหมด 3 รัง จาก 18 รัง ในปี 2563/2564 พื้นที่จังหวัดพังงา
รังที่ 1 ลูกเต่าก้นหลุมที่ 1 ( ที่ปกติจะมีอัตราการรอดน้อยมาก เพราะไม่สามารถขึ้นจากปากหลุมที่มีความลึก 60-120 เซนติเมตร ) 15 ตัว
รังที่ 2 ลูกเต่าก้นหลุมที่ 2 15 ตัว
รังที่ 3 ลูกเต่าปากหลุม ( เป็นเต่าที่แข็งแรงที่สุดในรัง ) 15 ตัว

ผ่านไป 1 ปี
รังที่ 1 จาก 15 ตัว รอด 2 ตัว (อัตราการรอด 13%)
รังที่ 2 ตาย 100% ใน 4 เดือนแรก
รังที่ 3 รอด 7 ตัว ( อัตราการรอด 47%)

การอนุบาลเต่ามะเฟืองครั้งนี้ ไทยถือเป็นประเทศอันดับ 5 ของโลก ( ศรีลังกาอเมริกา ฝรั่งเศส แคนนาดา ตามการเผยแพร่ทางวิชาการ ) และมีอัตราการรอดมากที่สุด
นอกจากประสบความสำเร็จการอนุบาลยังพบว่า ทีมนักวิจัย สามารถคิดค้นสูตรอาหารเป็นครั้งแรกของโลก โดยได้คำขอการยื่นจดอนุสิทธิบัตรแล้ว รวมถึงเพาะเลี้ยงแมงกะพรุนหนังลายจุด และแมงกะพรุนลอดช่อง เพื่อมาเป็นอาหารเต่าได้ที่แรกในประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดเป็นองค์ความรู้ในการเลี้ยงเต่ามะเฟือง

นอกจากภัยคุกคามของมนุษย์ สถานการณ์ขยะพลาสติก สิ่งที่น่ากังวล คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( ภาวะโลกรวน ) ส่งผลสำคัญ ต่อการวางไข่ของเต่าเช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยน ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยน หลายพื้นที่ ชายฝั่งถูกกระแสน้ำที่เปลี่ยนกัดเซาะ ทำให้ไม่มีพื้นที่ชายหาด หรือชายหาดลดลง ช่วงเวลาน้ำทะเลขึ้นทำให้น้ำทะเลท่วมรังไข่ หรือ เต่าจะถูกกำหนดเพศในหลุมฟัก หากอุณหภูมิเกิน 31 องศา จะเป็นเพศเมีย ต่ำกว่า 28 องศา เป็นเพศผู้ ในอนาคตหากเป็นตัวเมียทั้งหมดไม่มีการผสมพันธุ์ เต่ามะเฟืองที่สามารถปรับตัวอยู่บนโลกได้มานานกว่า 65 ล้านปีอาจเสี่ยงสูญพันธุ์