เครื่องหมายอัศเจรีย์

นักวิชาการเฝ้าระวังแผ่นดินไหว

เหตุการณ์แผ่นดินไหว 24 ครั้ง นอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจาก จ.ภูเก็ต ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือกว่า 500 กิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้

เหตุการ์ที่เกิดขึ้น ศ. ดร. สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ ยอมรับว่า การเกิดแผ่นดินไหวติดต่อกัน 24 ครั้ง ภายใน 2 วัน เป็นสิ่งที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าเป็นเพียงกลุ่มแผ่นดินไหว (earthquake cluster) ขนาดปานกลาง หรือเป็นชุดแผ่นดินไหวนำ (foreshock) ที่มักเกิดก่อน แผ่นดินไหวหลัก (mainshock) ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจุดศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ใกล้เคียงกับเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน แต่รายละเอียดทางธรณีวิทยา กลุ่มแผ่นดินไหวดังกล่าวเกิดจาก รอยเลื่อนอันดามันตะวันตก (West Andaman Fault) ซึ่ง การเกิดแผ่นดินไหวจะไม่รุนแรงเท่ากับ แผ่นดินไหวขนาด 9.1 เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ที่ก่อให้เกิดสึนามิ เช่นเดียวกับการวิเคราะห์กลไกการเกิดแผ่นดินไหว พบว่าแผ่นดินไหวทั้ง 24 ครั้ง เกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแบบปกติ ทำให้โอกาสเกิดสึนามินั้นต่ำมาก หรือหากเกิดก็จะไม่รุนแรงเท่ากับเหตุการณ์สึนามิที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 อย่างแน่นอน

แต่ถึงอย่างไรนั้นก็ขอให้ประชาชน โดยเฉพาะ 5 จังหวัดที่ติดฝั่งทะเลอันมามัน ติดตามข่าวสารและการรายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิดจาก กรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทย

แชร์