เครื่องหมายอัศเจรีย์

นักวิชาการ ระบุ ไทยอาจเกิดคลื่นความร้อน จากอากาศแปรปรวน

จากกรณีที่หลายประเทศในยุโรป  เกิดคลื่นความร้อนอย่างรุนแรง ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน  ทำให้หลายประเทศทั้งสเปน เยอรมนี ฝรั่งเศส มีอากาศร้อนจัด  หลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่สเปน เยอรมนี เกิดไฟป่ารุนแรง หลายเมืองมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส  ส่วนที่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา  เมืองบียาริตส์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอุณหภูมิสูง ทุบสถิตินับตั้งแต่บันทึกมา คือ 42.9 องศาเซลเซียส   

ส่วนทางฝั่งเอเชีย อย่างจีน ก็ต้องเจอกับสภาพอากาศสุดขั้วเช่นกัน โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ น้ำท่วมและดินถล่ม เพราะเจอกับฝนตกหนักที่สุดในรอบ 60 ปี ถนนหลายสายกลายเป็นแม่น้ำ บ้านเรือนและรถยนต์จำนวนมากถูกกระแสน้ำพัดพาไป ประชาชนเสียชีวิตและสูญหาย ต้องอพยพประชาชนออกจากพื้นที่หลายพันคน เช่นเดียวกับที่ บังคลาเทศ ฤดูมรสุมเดือนนี้ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ต้องอพยพประชาชนจำนวนมากมีประชาชนพลัดถิ่นกว่า สามล้านคน   และล่าสุด ประเทศญี่ปุ่น  ก็กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนอย่างรุนแรง  อุณหภูมิกว่า 40 องศาเซลเซียส ในรอบ 150 ปี  

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์  หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ระบุว่า  การเกิดคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป  เกิดขึ้นเป็นปกติในช่วงฤดูร้อนแต่ห้วงระยะเวลาของการเกิดและระดับความรุนแรง รวมทั้งระดับความเสียหายมีความแตกต่างกัน  จากอากาศที่ร้อนประกอบกับพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากความชื้นของมหาสมุทรแผ่เข้ามาปกคลุม  ส่วนจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากน้อยเพียงใด  ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ที่จะทำให้เกิดสภาพอากาศสุดโต่ง หรือสุดขีด 

ประกอบกับลักษณะของประเทศในแถบยุโรป ที่บ้านเรือนส่วนใหญ่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความหนาวเย็น  ส่วนประกอบโครงสร้างจึงทำมาจากโลหะ เมื่อเกิดความร้อนจึงร้อนมากกว่าปกติ  อีกทั้งประเทศเหล่านี้ไม่ค่อยมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นเมืองหนาว ในอดีตที่เกิดเหตุการณ์คลื่นความร้อนที่รุนแรงจึงมีพื้นที่หลบภัยเพื่อปรับสภาพอุณหภูมิร่างกายไม่ให้อยู่ในระดับที่อันตราย แต่ก็ค่อนข้างมีจำกัด ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมาก  อย่างไรก็ตามประเทศที่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว เชื่อว่าความสูญเสียลดลงเนื่องจากได้มีการถอดบทเรียนและมีการเตรียมความพร้อมในการับมือปัญหาได้  แต่ความน่าเป็นห่วงหากเหตุการเหล่านี้เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่อาจจะไม่มีศักยภาพเพียงพอในการรับมือที่ดีพอ 

จากกรณีที่หลายประเทศในยุโรป  เกิดคลื่นความร้อนอย่างรุนแรง ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน  ทำให้หลายประเทศทั้งสเปน เยอรมนี ฝรั่งเศส มีอากาศร้อนจัด  หลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่สเปน เยอรมนี เกิดไฟป่ารุนแรง หลายเมืองมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส  ส่วนที่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา  เมืองบียาริตส์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอุณหภูมิสูง ทุบสถิตินับตั้งแต่บันทึกมา คือ 42.9 องศาเซลเซียส   

“เมื่อถามว่าประเทศไทยจะเจอกับคลื่นความร้อนไหม”

ส่วนทางฝั่งเอเชีย อย่างจีน ก็ต้องเจอกับสภาพอากาศสุดขั้วเช่นกัน โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ น้ำท่วมและดินถล่ม เพราะเจอกับฝนตกหนักที่สุดในรอบ 60 ปี ถนนหลายสายกลายเป็นแม่น้ำ บ้านเรือนและรถยนต์จำนวนมากถูกกระแสน้ำพัดพาไป ประชาชนเสียชีวิตและสูญหาย ต้องอพยพประชาชนออกจากพื้นที่หลายพันคน เช่นเดียวกับที่ บังคลาเทศ ฤดูมรสุมเดือนนี้ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ต้องอพยพประชาชนจำนวนมากมีประชาชนพลัดถิ่นกว่า สามล้านคน   และล่าสุด ประเทศญี่ปุ่น  ก็กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนอย่างรุนแรง  อุณหภูมิกว่า 40 องศาเซลเซียส ในรอบ 150 ปี  

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์  หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ระบุว่า  การเกิดคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป  เกิดขึ้นเป็นปกติในช่วงฤดูร้อนแต่ห้วงระยะเวลาของการเกิดและระดับความรุนแรง รวมทั้งระดับความเสียหายมีความแตกต่างกัน  จากอากาศที่ร้อนประกอบกับพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากความชื้นของมหาสมุทรแผ่เข้ามาปกคลุม  ส่วนจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากน้อยเพียงใด  ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ที่จะทำให้เกิดสภาพอากาศสุดโต่ง หรือสุดขีด 

ประกอบกับลักษณะของประเทศในแถบยุโรป ที่บ้านเรือนส่วนใหญ่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความหนาวเย็น  ส่วนประกอบโครงสร้างจึงทำมาจากโลหะ เมื่อเกิดความร้อนจึงร้อนมากกว่าปกติ  อีกทั้งประเทศเหล่านี้ไม่ค่อยมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นเมืองหนาว ในอดีตที่เกิดเหตุการณ์คลื่นความร้อนที่รุนแรงจึงมีพื้นที่หลบภัยเพื่อปรับสภาพอุณหภูมิร่างกายไม่ให้อยู่ในระดับที่อันตราย แต่ก็ค่อนข้างมีจำกัด ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมาก  อย่างไรก็ตามประเทศที่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว เชื่อว่าความสูญเสียลดลงเนื่องจากได้มีการถอดบทเรียนและมีการเตรียมความพร้อมในการับมือปัญหาได้  แต่ความน่าเป็นห่วงหากเหตุการเหล่านี้เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่อาจจะไม่มีศักยภาพเพียงพอในการรับมือที่ดีพอ 

“เมื่อถามว่าประเทศไทยจะเจอกับคลื่นความร้อนไหม”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต  ระบุว่า  คลื่นความร้อนในประเทศไทยสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าถามว่าคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นแถบยุโรปจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยไหมนั้น คำตอบคือไม่ส่งผลโดยตรง เนื่องจากระบบการหมุนเวียนของบรรยากาศโลกที่จำกัดขอบเขตการเชื่อมต่อของมวลอากาศไว้อยู่  แต่ความผิดปกติของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นพื้นที่อื่นๆของโลกในปีนี้ อาจทำให้เราต้องเฝ้าระวังการเกิดคลื่นความร้อนในไทยมากขึ้นจาก Climate Teleconnections หรือการเชื่อมต่อสภาพภูมิอากาศจากระยะไกล กล่าวคือความแปรปรวนของสภาพอากาศ หรือภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกล อาจส่งผลกระทบหรือมีความเชื่อมโยงกับความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในพื้นที่อื่นๆ ด้วย  ยกตัวอย่าง เช่น เหตุการณ์คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในยุโรปตอนนี้ อาจมีความสัมพันธ์กับความแปรปรวนของสภาพอากาศในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศ ก็ได้มีความพยายามศึกษาวิจัยในประเด็นเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง และทำความเข้าใจกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและปรับปรุงระบบพยากรณ์ให้แม่นยำมากขึ้น   

ในขณะที่ฤดูร้อนปีนี้ของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีญา ที่ทำให้เกิดฝนตกมากกว่าปกติ ทำให้ประชาชนรู้สึกได้ว่าสภาพอากาศไม่ร้อนจัด ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนกรกฎาคม มักเป็นช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงในประเทศไทย ทำให้อากาศร้อนจัด หากมีความชื้นสัมพัทธ์จำนวนมากเข้ามาปกคลุมโดยไม่มีฝน ก็จะทำให้ดัชนีความร้อนมีค่าสูงและเป็นอันตราย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง อย่างไรก็ตามประชาชนคนไทยมักคุ้นชินกับอากาศร้อนชื้นอยู่แล้ว 

แต่สิ่งที่น่ากังวลของจากความเคยชินกับสภาพอุณหภูมิความร้อนชื้น  จนทำให้เราอาจจะขาดการรับรู้ได้ว่าจะเกิดคลื่นความร้อนเมื่อไหร่  ดังนั้นเราจึงควรมีงานวิจัยที่ช่วยตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล  ทำความเข้าใจกระบวนการเกิดคลื่นความร้อนในประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น  เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ประกาศแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าในอนาคต ที่เราจะต้องอยู่ในสภาพอากาศเริ่มแปรเปลี่ยนไปในทุกปี ที่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน

ในขณะที่ฤดูร้อนปีนี้ของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีญา ที่ทำให้เกิดฝนตกมากกว่าปกติ ทำให้ประชาชนรู้สึกได้ว่าสภาพอากาศไม่ร้อนจัด ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนกรกฎาคม มักเป็นช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงในประเทศไทย ทำให้อากาศร้อนจัด หากมีความชื้นสัมพัทธ์จำนวนมากเข้ามาปกคลุมโดยไม่มีฝน ก็จะทำให้ดัชนีความร้อนมีค่าสูงและเป็นอันตราย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง อย่างไรก็ตามประชาชนคนไทยมักคุ้นชินกับอากาศร้อนชื้นอยู่แล้ว 

แต่สิ่งที่น่ากังวลของจากความเคยชินกับสภาพอุณหภูมิความร้อนชื้น  จนทำให้เราอาจจะขาดการรับรู้ได้ว่าจะเกิดคลื่นความร้อนเมื่อไหร่  ดังนั้นเราจึงควรมีงานวิจัยที่ช่วยตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล  ทำความเข้าใจกระบวนการเกิดคลื่นความร้อนในประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น  เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ประกาศแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าในอนาคต ที่เราจะต้องอยู่ในสภาพอากาศเริ่มแปรเปลี่ยนไปในทุกปี ที่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน

แชร์