เครือข่าย สิ่งแวดล้อม-พลังงาน เสมอภาคการเมืองปฏิรูปหน่วยงาน ด้านสิ่งแวดล้อม มองนโยบายฝุ่น ขยะ โลกรวน อยู่ในสนามเลือกตั้ง
จากวงพูดคุย นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566 ที่นักวิชาการ และเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม โดยนายธารา บัวคำศรี ผอ.กรีนพีซ ประเทศไทย น.ส.สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผจก.มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ รศ. ดร.ชาลี เจริญราช อ.ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มธ. และ ดร.สมนึก จงมีวศิน ผอ.ฝ่ายวิจัย EEC Watch ร่วมเสนอนโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่ผ่านมา รวมถึงนโยบายใดที่พรรคการเมืองควรมีในสนามเลือกตั้ง

Think tank “นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566”
นายธารา ระบุว่า ช่วง 4 ปีที่ผ่านมามีความท้าทายในการนำเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ
พรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ตระหนักเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น แต่กลับไม่มีรูปธรรมชัดเจน
ส่วนปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน โดยเฉพาะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ความรุนแรงเพิ่มขึ้น มองได้ว่าการแก้ไขขอบรัฐไม่สามารถแก้ได้ด้วยพรมแดนทางภูมิศาสตร์เท่านั้น

ธารา บัวคำศรี ผอ.กรีนพีซ ประเทศไทย
ดร.สมนึก ที่ผ่านมานโยบายขยะ การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจ การจัดการน้ำ ถูกนำเสนอแต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้รับความสนใจ หรือแก้ปัญหาจริงจัง
“ถ้าให้คะแนนเกี่ยวกับรัฐบาลชุดนี้นะครับในการดูแลเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมนโยบายเรื่องภัยสาธารณะต่างๆรวมถึงผมเรียกว่าpolicy crisis คือมันมีหลายตัวมันมีเต็มไปหมดเลยทั้งวิกฤตเศรษฐกิจวิกฤตของสิ่งแวดล้อมวิกฤติของโลกครัวโลกไม่ได้ร้อนอย่างเดียวมันรวนด้วย .. ผมให้ 3 เต็ม 10”

Think tank “นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566”
ขณะที่ผจก.มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นว่า นโยบายที่ผ่านมาลดทอนมาตรการสิ่งแวดล้อม แต่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน
“ทิศทางการพัฒนาของรัฐ แม้ว่ายุคไหนมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ยุคที่ผ่านมา ขณะเดียวกันลดทอนมาตรการสิ่งแวดล้อม ภายใต้การผ่านทางกฎหมาย มันทำให้สิทธิด้านสิ่งแวดล้อม ของประชาชนลดน้อยลงอย่างมาก นี่คือสิ่งที่ทำให้หลักประกันด้านสิทธิหายไป และเพิ่มวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ที่ไม่มีมาตรการจัดการ เช่น การพัฒนา EEC 3 จังหวัด ไม่มีการประเมินก่อนเลย หรือมาตรการจัดการขยะที่ยกเลิกผังเมืองเดิม เปลี่ยนผังเมืองใหม่

ขณะที่การจัดลำดับความสำคัญปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่ควรเร่งแก้ไข และพรรคการเมืองควรจัดอยู่ในนโยบายพรรค ทั้งหมดมองตรงกันว่า ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาขยะ พลังงาน และวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พรรคการเมือง ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน และกำหนดในนโยบายพรรค
“ปัญหาฝุ่น อันดับหนึ่ง สองปัญหาขยะ และสามปัญหาการจัดการน้ำ .. และเพิ่มประเด็นน้ำมันรั่ว” ผอ.ส่วนวิจัย EEC WATCH ระบุ

Think tank “นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566”
ในวงพูดคุยยังขยายความว่า รัฐให้ความสำคัญมองตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่มองเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดี จะสามารถลดภัยพิบัติ เมื่อลงรายละเอียดประเด็นฝุ่น ขยะ และโลกรวน สามารถแตกออกเป็นนโยบายต่างๆ เช่นการบัญญัติรับรองสิทธิการมีชีวิตที่ดีอยู่ในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย PRTR การชดเชย และการฟื้นฟูความเสียหายสิ่งแวดล้อม ที่ยังขาดกฎหมายเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องไม่เกิดขึ้นเฉพาะนโยบาย แต่ต้องนำเสนอเครื่องมือและกลไก ที่จะนำไปสู่สิ่งที่เกิดขึ้น
พร้อมเสนอการปฏิรูปหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงความเป็นไปได้ตั้งคณะทำงานกลางผ่าน เรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การทำงานการแก้ปัญหาเป็นไปอย่างต่อเนื่องแม้เปลี่ยนรัฐบาล
“ถ้าเราตั้งนโยบายให้สอดคล้องกับแผนระยะยาวที่เป็นเป้าหมายของประเทศ เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก ไม่เพียงแต่มีที่ยืนบนเวทีโลกที่สง่างาม แต่เรากำลังช่วยประชาชนทุกคน ที่กำลังรับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน” รศ.ดร.ชาลี ทิ้งท้าย






