เครื่องหมายอัศเจรีย์

นโยบายเลือกตั้ง 66 ที่ควรมี กับ ธารา บัวคำศรี

จากวงพูดคุย นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566 ที่กลุ่มนักวิชากร และภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม แสดงความคิดเห็น ในประเด็นการเมืองกับสิ่งแวดล้อม กองบรรณาธิการศูนย์พัฒนาการสื่อสารภัยพิบัติ ถอดคำพูดจากวงพูดคุย แต่ละบุคคล ในวงพูดคุยแบบคำต่อคำ  ซึ่งวันนี้ เป็นมุมมอง ทัศนคติ และประสบการณ์ของ ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย

นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่เคยนำเสนอ

ธารา บัวคำศรี : การทำงานของกลุ่มกรีนพีชก็ ด้วยความที่เราทำงานรณรงค์ ในประเด็น สาม ถึงสี่ ประเด็นที่เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม งานหลักของเราที่ทำในหลายๆส่วนนี้ก็จะเป็นการทำงานร่วมกับ ทั้งภาคส่วนต่างๆทั้งองค์กรต่างๆที่เป็นองค์กรแนวร่วมของเรา

ในช่วงสี่ปี เป็นช่วงที่ เรียกว่ามีความท้าทายพอสมควร ในการนำเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมเรื่อง ภัยพิบัติซึ่งในหลาย ๆ ส่วนผมเข้าใจว่าทาง คุณเพ็ญโฉม คุณสุภาพร แล้วก็อาจารย์ชาลีเองเนี่ยจะช่วยเติมให้อยู่แล้วในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นถึงปัญหา

ผมขออนุญาตเสนอภาพรวม เริ่มจาก

ช่วงสี่ปีที่ผ่านมา อาจจะเป็นเรื่องของ นโยบายของรัฐบาลเอง คือเรื่องของการอธิบายการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่มันไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจน นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate policy  มันเป็นมันเป็นนโยบายที่เรียกว่าโยงใยกับเรื่องอื่นใช่ไหมครับ ผมคิดว่าทั้งรัฐบาลเองที่ บริหารประเทศ แล้วก็พรรคการเมืองที่เป็น ฝ่ายรัฐบาลรวมถึงพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายค้านเนี่ยก็ ก็มีความ เรียกว่ามีความตระหนักเพิ่มมากขึ้น

ถ้าดูในแผนที่เราจะเห็นว่าอันนี้คือแถบ ที่นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศพยายามที่จะทำ เรียกว่าสร้างให้เห็นว่าให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเรื่องของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกของประเทศไทยง่ายๆเนี่ยก็เริ่มตั้งแต่ซ้ายมือ ปี 2383 จนถึงปี 2563 สีที่มันเปลี่ยนไปเนี่ยสีแดงมากขึ้น สีก็คืออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกของประเทศไทยเนี่ยมันเพิ่มสูงขึ้น  แล้วจะสังเกตเห็นว่าเราอยู่ในช่วงที่มันมีความที่ความแตกต่างเฉลี่ยโดยรวมมันเพิ่มมากกว่า1.3 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลก

ทีนี้ในเรื่องของนโยบายที่เราเคยนำเสนอไปแล้ว มันก็คือการที่ พยายามจะเสนอในส่วนของ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองเอง หรือรัฐบาลเองในแง่ที่ แผนปฏิบัติการว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่ง มันเป็น อยู่ในแผนของรัฐบาลอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่จะฉายภาพให้เข้าใจ ตัวอย่างคือ เรื่องของหมอกควันพิษข้ามพรมแดน นโยบายของรัฐหรือว่าแม้กระทั่งพรรคการเมืองเอง มีแผนจริง แต่มุมมอง อาจยังไม่ลงลึก เช่น

จากแนวโน้มของ มลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเนี่ย เราจะเห็นว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมาแถวแรกปี 2563  แถวที่สองคือ 2564 แล้วแถวท้ายแถวล่าสุดเป็นปีที่แล้ว

เทียบให้เห็นว่าเดือนกุมภา มีนา เมษายน แถบของมลพิษทางอากาศพรมแดนในอนุภูมิภาค สามปีที่ผ่านมาได้เป็นปีที่เป็นปีที่มีปรากฏการณ์ ลานิญาเป็น  ปีที่แบบเราเจอฝนเยอะมากมีความชื้นสูงมากในพื้นที่นะฮะ แต่เราก็ยังเห็น ว่าหมอกควันถ้าพรมแดนเนี่ยก็ยังเป็นปัญหา

ในช่วงสี่ปีเนี่ยเราทำเรื่อง ต้นตอของหมอกควันพิษข้ามพรมแดน ก็คือเรื่องของการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มันลงทุนไปในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  ภาคเหนือตอนบนของไทย รัฐฉานแล้วก็ ลาวตอนเหนือ เรายังไม่ได้ดูเรื่องกัมพูชาเท่าไหร่

พยายามชี้ให้เห็นว่า ปัญหาหมอกควันพิษที่เราแก้กันฝุ่นPM2.5 ที่เราเจอ ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา มันแยกออกจากเรื่องการขยายตัวของพืชเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะข้าวโพด พืชอื่น ๆ พืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวที่มันพยายามจะส่งออกไปเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ มันเข้าไปรุกพื้นที่ป่า ของพื้นที่ต่าง ๆ ใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงด้วย เพราะฉะนั้นข้อเสนอนี้ มันก็มีตั้งแต่ที่รัฐบาลปัจจุบันได้เริ่มต้นทำงานมาบริหารประเทศ มาจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ข้อตกลง อาเซียนว่าด้วยเรื่องของหมอกควันที่ข้ามพรมแดน หรือแม้กระทั่ง

เขาเรียกว่าโรดแมปว่าเรื่องการที่อาเซียนจะเข้าสู่โหมดปลอดหมอกควันภายในปี 2020  ซึ่งผ่านไปแล้ว  แต่ว่าเราก็ไม่เห็นว่าปลอดหมอกควัน อันนี้คือถามว่า   ทำไมมันถึงไม่มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนที่สามารถที่จะต่อกรกับเรื่องวิกฤตหมอกควันข้ามพรมแดนได้ครับก็  เป็นเรื่องที่ได้มีข้อเรียกร้อง ที่ทำอะไรตลอดช่วงสี่ปี  โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนซึ่งมันเป็นสิ่งที่รบกวนสุขภาพ เวลาเราดูแบบแผนของหมอกควันพิษข้ามพรมแดนบางครั้งเราก็จะดูตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์นะครับคิดว่า ในป่า เผาเท่าไหร่ แถวการเผาในที่โล่งเป็นเท่าไหร่ หรือภาคอุตสาหกรรม หรือกรณีของภาคเหนือเรามีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเป็นจุด จุดแหล่งกำเนิดหนึ่งของมลพิษทางอากาศแล้วมันก็รวมกัน 

อันนี้เรามองขยายให้เห็นภาพรวมว่า การแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนที่เราเจออยู่ทุกๆปี มันไม่สามารถแก้ได้โดยนโยบาย ที่มีอยู่ที่ไปจำกัดเฉพาะ พรมแดนทางภูมิศาสตร์  เพราะฉะนั้นนโยบายที่ เราอยากจะเห็นก็คือ แผนปฏิบัติการที่มันจะนำไปสู่ความร่วมมือของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ซึ่งมันก็มีเวทีนะ แต่ว่าถ้าเราดูสามปีแล้วย้อนกลับไปในอดีตสามปีก็เห็นได้ชัดว่ามันยังเป็นปัญหาที่ท้าทายหรือมาก ในเรื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพทั้งเศรษฐกิจสังคมต่างๆนานาที่ของกลุ่มพื้นที่ของกลุ่มประชากรต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่

นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติไหนที่ควรไปต่อ  การจัดลำดับความสำคัญของนโยบายที่ต้องเร่งแก้ไข

ธารา บัวคำศรี : เรื่องมลพิษอากาศฝุ่นพีเอ็มเนี่ยยังไงมันก็อยู่ในใจ ก็เป็นเรื่องลำดับต้นๆ ผมอยากจะลองชวนคิดในเชิงที่ว่าคือ พยายามติดตามเรื่องนโยบายสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยมาหลายชุด

แล้วก็พบว่ามีความน่าสนใจหลายอย่าง ตั้งแต่ตอนที่นายกประยุทธ์ ได้ประกาศที่สกอตแลนด์ บอกว่าจะต้อง 40เปอร์เซ็นต์ ในแผนการลดก๊าซเรือนกระจก นำมาสู่การทำแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการลดก๊าซเรือนกระจกต่ำ ชื่อมันยาวมาก หรือที่เรียกว่า NET ZERO ที่มาในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เนี่ยล่ะ

แต่ว่าที่ผมตั้งข้อสังเกตคือ ประเด็นเรื่องนโยบายสภาพอากาศ ด้วยความที่บางคนอาจจะบอกว่ารัฐบาลไหนมาก็ต้องจัดการ รัฐบาลไหนมาต้องไปเจรจา 

ผมคิดว่าในช่วงเลือกตั้งเนี่ย  ประเด็นนี้ยังให้ประเด็นเนี่ยยังไงก็หาเสียงไม่ได้อยู่แล้ว แต่ผมอยากให้พรรคการเมืองเก็บไว้ในกระเป๋าของตัวเอง เพื่อที่ว่าจะได้ทำให้เกิดกระบวนการ เพราะว่าพรรคการเมืองก็มีบทบาท ถ้าเกิดว่าวันใดวันหนึ่ง เข้าไปเป็นรัฐบาล นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็จะถูกตีกรอบด้วย นโยบายของพรรคการเมืองนั้น หรือพรรคการเมืองร่วมนั้น

อันหนึ่งที่ผมคิดว่าอยากจะชวนคิดต่อว่าจริงๆมันก็มีความความสำคัญและความเชื่อมโยงก็คือ อันแรกเลยรัฐบาลทุกชุดโดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบัน บอกว่า ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆเสี่ยง  ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศระยะยาว ช่วงสิบยี่สิบปี เราเจอกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ที่เป็นภัยพิบัติเป็นร้อยครั้ง มีคนเสียชีวิตมีการสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็น7พัน กว่าล้านเหรียญสหรัฐฯหรือประมาณเกือบหนึ่งเปอร์เซนต์ ของ GDP ของประเทศ

เวลาเราไปดูเรื่องนี้ เวลาเราพูดว่าเราเสี่ยงมาก แต่ทำไมมาตรการ การปรับตัว  การรับมือการปรับตัวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ มันยังไม่ได้สัดส่วน  ไม่ได้หมายถึงไม่มีนะแต่ค่อนข้าง ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวที่ริเริ่มโดยชุมชนเนี่ยแทบจะไม่เห็นเลย  อาจจะมีตัวอย่างเล็ก ๆ ที่ จ.พิษณุโลก

อีกอันนึงก็คือเวลาคณะเจรจาของรัฐบาลไทยที่ถูกแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี อะไรก็แล้วแต่  ก็จะพบว่า มีการไปเจรจาภายใต้กรอบที่รัฐบาลกำหนด ล่าสุด มีประชาคมโลกเขาเถียงกันเรื่อง Loss and Damage แต่ก็ไม่ได้ยินคำนี้หลุดมาจากปากคณะเจรจาของไทยเลย ซึ่งคุณบอกว่าเสี่ยงอันดับ 9 อันดับสิบของโลก แต่ทำไม ไม่มีเรื่องนี้ พอมันไม่ได้สัดส่วน สมดุล ก็กลายเป็นเครื่องมือฟอกเขียวทันที เพราะว่าพอเราไปเจรจา เราก็โอเคจะเปิดตลาดคาร์บอนนะ มาตรา6 ในความตกลงปารีสบอกว่า ประเทศต่างๆต้องร่วมมือกันในการลดก๊าซเรือนกระจก ต่างๆนานา ตลาดคาร์บอน ถูกตีความ  ว่าเป็นกลไกหนึ่ง ซึ่งก็ถูก แต่ว่า กลไกนั้นถูกใช้ โดยพรรคการเมืองที่อยู่ในฝ่ายรัฐบาล ตอนนี้มีบางพรรคเอาเรื่องตลาดคาร์บอนมาหาเสียง ผมคิดว่า บางส่วนยังไม่เข้าใจกลไกพวกนี้ ประเด็นนี้อาจจะไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วนมาก แต่คนต้องเริ่มทำความเข้าใจ อาจจะเริ่มจากพรรคการเมืองแต่ละพรรค เพราะถ้ามีตลาดคาร์บอน มันก็เปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมฟอสซิลทั้งหลายยังปล่อยก๊าซ ดูดซับที่อื่น ไปทวงผืนป่าจากชุมชน หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้การแปลงทรัพยากรเป็นสินค้าง่ายขึ้น  ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนทำลายระบบนิเวศ

ประเด็นของผมมีนิดเดียว ทั้งหมดทั้งมวลปีนี้เรามีการเลือกตั้ง  กว่าเราจะได้รัฐบาลเข้าใจว่าประมาณเดือนสิงหาคม แต่ทีนี้มันจะมีประชุม COP28 ปลายปี ผมคิดว่าบางครั้งนอกจากรัฐบาลเองที่จัดตั้งได้ ผมคิดว่าพรรคการเมืองอาจจะมีบทบาทสำคัญ ในการที่จับตาดูว่ากลไก หรือการดำเนินการภายใต้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ มันควรไปอยู่ในทิศทางที่มันควรเป็น ที่มันจะเอื้อให้เกิดความความเป็นธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ชุมชนที่เปราะบางปรับตัวรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้

ผมคิดว่า รัฐบาลใหม่ หรือพรรคการเมืองเกือบทุกพรรค ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนเรื่องการเจรจาในเวทีโลก  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นรัฐบาลก็ตาม    แต่ว่าควรมีในกระเป๋าไว้อย่างที่บอก ซึ่งอาจจะช่วยโต้ในสภา หรือ มีบทบาทการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการรัฐสภาเพื่อที่จะมาดูเรื่องนี้เลย  ด้วยความที่เราเป็นประเทศที่เสี่ยง มันน่าจะมีการคณะกรรมาธิการ กลไกของรัฐสภาในเรื่องนี้ ในเรื่องของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แล้วก็อยู่ยาว ไม่จำเป็นต้อง รัฐบาลนี้ไปล้ม แต่ควรเป็น standing committee ที่ดูเรื่องนี้ เพื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามา จะมีกลไกเหล่านี้ติดตามตรวจสอบ เพื่อให้นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของไทย ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ผมคิดว่าสำคัญมาก

ตอนนี้มันจะโยง ว่าเราจะจัดการกับภัยพิบัติยังไง ถ้าเกิดน้ำท่วมหรือเกิดภัยแล้งหรือเกิดคลื่นความร้อน หรือแม้กระทั่งเกิดฝุ่นมลพิษทางอากาศ ตัวกองทุน loss and damage  จะช่วยตอบโจทย์ ซึ่งมันเป็นเรื่องระยะยาว ปีนี้จะเป็นปีที่สำคัญมากรัฐบาลใหม่ จะมีจุดยืนอย่างไร กับการประชุม COP28

นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติไหน ที่ควรมีในสนามเลือกตั้งนี้

ธารา บัวคำศรี : เราเห็นพัฒนาการนึงที่น่าสนใจ

กระบวนการเล่าเรื่องสังคม ทำให้พรรคการเมืองได้มีพัฒนาการด้านนี้มากขึ้น มีหลายพรรคพยายามทำให้ ประเด็นนโยบายสิ่งแวดล้อมใจง่าย และเข้าถึงกลุ่มคนมากขึ้น

มีอันไหน เข้าสู่สนามเลือกตั้ง เช่นบางพรรคแก้ปัญหาค่าไฟด้วยวิธีต่างๆ  หรือเรื่องฝุ่น จะแก้ปัญหา 1 2 3  เพื่อให้เข้าถึงประชาชน แต่คิดว่า ข้างหลังบ้านต้องตอบโจทย์ว่าโครงสร้างใหญ่ การแก้ปัญหาที่แท้จริงคืออะไรจริงๆ ฝุ่น แก้ด้วยเปลี่ยนรถไฟฟ้า มันอาจจะไม่หลักการแก้ที่ถูกต้อง แต่การแก้ควรแก้เชิงโครงสร้าง

แชร์