เครื่องหมายอัศเจรีย์

จิสด้า เผยข้อมูลจากดาวเทียม ประเทศไทย  เผชิญ ฝุ่น PM 2.5 มานานเกือบ 20 ปี

PM 2.5

จิสด้า (GISTDA) ได้เก็บข้อมูลจากดาวเทียมและพบว่าประเทศไทยเผชิญฝุ่นละอองขนาดเล็ก และPM 2.5 มายาวนาน ข้อมูลจากดาวเทียมบางส่วนระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ PM 2.5 ในประเทศไทยช่วงปี 2541 – 2559 มีค่าความเข้มข้นกระจุกในพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก โดยเฉพาะน่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮองสอน ซึ่งอยู่ในจุดเสี่ยงที่ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานมานานเกือบ 20 ปี ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นข้อมูลเชิงสถิติที่เก็บมาตั้งแต่ประเทศไทยยังไม่มีการนำเครื่องมือวัดเข้ามา  …..(รายละเอียดตามรูปภาพด้านล่าง ☟ )

PM 2.5 1
(ภาพที่ 1. ค่าเฉลี่ยPM 2.5 ช่วงเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ เป็นระยะที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวนาข้าว และพืชผลทางการเกษตรแล้วเสร็จ และจะเริ่มทำการเผา เพื่อปรับปรุงพื้นที่เตรียมเพาะปลูกรอบใหม่  ตั้งแต่ปี 2546 – 2563 พบว่าระยะเวลา 18 ปี ดาวเทียมของจิสด้า สามารถตรวจพบฝุ่นPM 2.5 (สีแดง) กระจายในหลายพื้นที่ รวมถึงยังพบฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้าน)
PM 2.5 2
(ภาพที่ 2. ค่าเฉลี่ยฝุ่นPM 2.5 ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน  ซึ่งเป็นฤดูร้อนที่มักจะเกิดไฟป่า และจุดความร้อนจำนวนมาก เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (สีแดง)  ตั้งแต่ปี 2546 – 2563 )
PM 2.5 3
(ภาพที่ 3. ค่าเฉลี่ยรายเดือนฝุ่นPM 2.5  ตั้งแต่ปี 2545 – 2564  พบว่าในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน  เป็นช่วงที่พบค่าฝุ่นมากที่สุด)
PM 2.5 4
(ภาพที่ 4. ค่าเฉลี่ยฝุ่นPM 2.5  ตามระดับการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเลที่เกิดจาก “ลานีญา”  “เอลนีโญ”  
(ในกรอบสีน้ำเงิน) ช่วงเวลาของลานีญา ที่ทำให้ฝนตกมาก ฝุ่นจึงน้อยลง   (กรอบสีแดง) ช่วงเวลาการเกิดเอลนีโญ ฝนตกน้อย ฝุ่นกลับมาเยอะ )
PM 2.5 5
( ภาพที่ 5. ค่าเฉลี่ย 20 ปี ที่นำมาวิเคราะห์การเกิดฝุ่นPM 2.5 พบว่า ช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. จะเกิดฝุ่นในภาคกลาง และลุ่มเจ้าพระยา  ขณะที่เดือน มี.ค.-เม.ย. จะเกิดฝุ่นในภาคอีสาน ภาคเหนือ และยังได้รับผลกระทบจากฝุ่นข้ามพรมแดน)
PM 2.5 6
(ภาพที่ 6. ผลการศึกษาวิเคราะห์ 20 ปี พบว่าสถานการณ์ฝุ่นจะรุนแรงในภาคกลาง ภาคตะวันออก และยังได้รับผลกระทบจากฝุ่นข้ามพรมแดนจากเมียนมา ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.  ขณะที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน จะได้รับผลกระทบฝุ่นรุนแรงในเดือน มี.ค.-เม.ย. และยังได้รับฝุ่นข้ามพรมแดนจากเวียดนาม กัมพูชา และ ลาว) 
PM 2.5 7
(ภาพที่ 7. แสดงให้เห็นว่าในเดือน มีนาคม – เมษายน  ตรวจพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นPM 2.5 มีค่าสูง  ซึ่งตรงกับช่วงอุณหภูมิอากาศสูง และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ  โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และใน 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 
PM 2.5 8

ปัจจุบัน GISTDA ใช้ดาวเทียมระบบ MODIS ในการติดตามสถานการณ์ PM 2.5 ซึ่งจะได้ข้อมูลวันละ 2 รอบ คือเช้าและบ่าย นอกจากนี้ GISTDA ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว โดยใช้ดาวเทียม Himawari (ฮิมาวาริ) ซึ่งเป็นดาวเทียมสัญชาติญี่ปุ่นอีก 1 ดวงที่จะทำให้ได้รับข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำในทุกๆ ชั่วโมง  

ดาวเทียมสำรวจโลกที่ติดตั้งเซนเชอร์ตรวจวัดจากระยะไกล  จะสามารถให้ข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง ทั้งที่เป็น PM10 และ PM2.5 ได้ ข้อได้เปรียบของการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมก็คือสามารถวัดและรายงานปริมาณฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศได้ทุกที่ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และประมวลผล  แม้แต่ในพื้นที่ที่ไม่มีสถานีตรวจวัดภาคพื้นดิน   ซึ่งปกติสถานีตรวจวัดภาคพื้นดิน จะสามารถตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ในระยะรัศมีใกล้ๆ  หากในวันที่เกิดลมแปรปรวน หรือสภาพอากาศเปลี่ยน  ก็จะทำให้การตรวจวัดค่าฝุ่นในรัศมีที่ห่างออกไปไม่คงที่

ปกรณ์

ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศของ GISTDA กล่าวว่า ปัจจุบันข้อมูลการตรวจวัดจากภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจโลกได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษามลพิษสิ่งแวดล้อมหลากหลายมิติ ด้วยดาวเทียมมีการบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีหลากหลายระบบที่มีคุณลักษณะตรวจวัดแตกต่างกัน ทำให้ได้ข้อมูลแสดงความเชื่อมโยงระบบสิ่งแวดล้อมในระดับมหภาค และนักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบบสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม GISTDA จึงร่วมมือกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนา application ที่มีชื่อว่า “เช็คฝุ่น”  ซึ่งเป็นการนำฐานข้อมูลของข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ และข้อมูลจากสถานีตรวจวัดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการPM2.5 เชิงพื้นที่ มาผสมผสานเชื่อมโยงกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ชั่วโมงต่อชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้รับรู้ และเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว และถูกต้อง สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันอันตรายจากมลภาวะทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนสามารถตรวจสอบฝุ่น จากเทคโนโลยีดาวเทียมที่จะติดตามไปทุกที่ตลอดเวลา รวมทั้งฝุ่นข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน

เช็คฝุ่น 2
(แอพพิเคชั่น เช็คฝุ่น ผ่านระบบดาวเทียมของจิสด้า  ที่สามารถโหลดไว้ในโทรศัพท์ได้ทันที)
เช็คฝุ่น 1
(ขั้นตอนการตรวจเช็คฝุ่น PM 2.5 ในแอพพิเคชั่น  ตามพื้นที่ต่างๆ )

แชร์