
เราอาจจะเคยได้ยินกันมาบ่อยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างรุนแรง ส่วนหนึ่งมาจากปรากฏการณ์ “ลานีญา” และ “เอลนีโญ” ทั้งสองปรากฏการณ์มีข้อสังเกตและข้อแตกต่างกันอย่างไร? ประเทศไทยจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง?
หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ … ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลก และกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ดังนั้นเมื่อกระแสลมเกิดการเปลี่ยนทิศและกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงก่อให้เกิดปรากฏการณ์สภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน สังเกตได้จากเมื่อเกิด “เอลนีโญ” จะมีฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่จะเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในกลางภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวไทย ดังนั้นหากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ประเทศไทยก็จะเกิดสภาวะที่ฝนตกน้อย หรือไม่มีฝนตกเลย แม้จะอยู่ในหน้าฝนก็ตาม



ในทางกลับกัน “ลานีญา” จะทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่จะเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงของปรากฏการณ์ลานีญา ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว และเพิ่มกำลังแรงขึ้นในช่วงต้นปี 2565 ทำให้ฤดูฝนมาเร็วกว่าปกติ ยาวไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 หลังจากนั้นไทยจะเริ่มเข้าฤดูแล้งเร็วกว่าปกติ จากเอลนีโญ
