อุณหภูมิโลกในเดือนกรกฎาคม +1.15°C ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 3 นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1880
ข้อมูลความคืบหน้าจาก CSAS / GISS ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2022
- อุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม 2022 เพิ่มมากกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 1880-1920 ถึง 1.15 องศาเซลเซียส
- เดือนกรกฎาคม 2022 เป็นเดือนกรกฎาคมที่ร้อนที่สุดอันดับ 3 นับตั้งแต่ปี 1880
ข้อมูลและรายงานอุณหภูมิโลกรายเดือน
ความคืบหน้าเกี่ยวกับอุณหภูมิโลกเหล่านี้มีที่มาจาก Climate Science, Awareness and Solutions (CSAS) จากสถาบัน Earth Institute ที่มหาวิทยาลัย Columbia ในรัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ ซึ่งข้อมูลนี้ประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลอุณหภูมิโลกระหว่างปี 1880-2022 โดยสถาบันศึกษาอวกาศ Goddard Institute for Space Studies (GISS) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA)

ส่วนหน้าเว็บไซต์ CO2.Earth นี้จัดทำขึ้นต่างหาก แต่เหตุผลเบื้องหลังการนำเสนอการเปรียบเทียบอุณหภูมิโลกพร้อมค่าเฉลี่ยในช่วงปี 1880-1920 มีอธิบายไว้ในบทความวิชาการ A better graph โดย ดร. James Hansen และ ดร. Makiko Sato ที่เผยแพร่เมื่อปี 2016
อุณหภูมิโลกในปี 2021 +1.12°C ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 6 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1880
อุณหภูมิผิวโลกในปี 2021 สูงกว่าค่าเฉลี่ยช่วงปี 1880-1920 อยู่ 1.12 องศาเซลเซียส จากการวิเคราะห์โดย GISS (สถาบันศึกษาอวกาศ Goddard Institute)
ส่วนปี 2021 และ 2018 ต่างเป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับ 6 เท่ากันตามการบันทึกสถิติ และปีที่ ร้อน ที่สุด 8 อันดับเกิดขึ้นในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา อัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเหนือพื้นดินเร็วกว่าเหนือมหาสมุทร 2.5 เท่า และวงจรเอลนีโญ/ลานีญา ต่างมีผลต่อความหลากหลายของอุณหภูมิระหว่างช่วงปี ซึ่งสะท้อนว่าปี 2022 จะไม่ร้อนไปกว่าปี 2021 มากนัก แต่อาจเกิดสถิติใหม่ขึ้นได้ในปี 2023 โดยมี 3 ปัจจัยที่น่าสนใจ
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้น
- ละอองหมอกที่ลดลง
- วงจรความเข้มรังสีอาทิตย์จะเป็นปัจจัยเสริมต่อค่าพลังงานที่ไม่สมดุลรอบโลกอยู่เดิม ซึ่งจะผลักให้อุณหภูมิโลกเพิ่มเกินเพดาน 1.35 องศาเซลเซียส โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2020
“นอกจากนี้ ความล่าช้าและการรับมือที่ไม่ทันท่วงทีในภาคการพลังงาน ยังจะทำให้โลกร้อนเกิน 2 องศาเซลเซียสภายในช่วงกลางศตวรรษ เป็นอุปสรรคต่อการพยายามลดผลกระทบจากในอดีตด้วยสมดุลทางพลังงานของโลก

ที่มา: Global Temperatures in 2021; Hansen, Makiko & Ruedy
อัตราการเกิดภาวะโลกร้อนที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
รายงานจากมหาวิทยาลัย Columbia ติดตามอัตราการเกิดภาวะโลก ร้อน ที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
โดย J. Hansen and M. Sato
14 ธันวาคม 2020
บทคัดย่อ 14 ธันวาคม 2020
“อุณหภูมิโลกสูงทำสถิติในปี 2020 แม้จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญาในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้า ตอกย้ำว่าอัตราการเกิดภาวะโลกร้อนที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั้นเด่นชัดเกินกว่าจะเป็นเพียงแค่ปัจจัยที่ไร้อิทธิพล และสะท้อนถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของแรงกระทำต่อสภาพภูมิอากาศโดยรวมและความไม่สมดุลของพลังงานในโลก การเพิ่มขึ้นของแรงกระทำที่วัดได้ (ก๊าซเรือนกระจกบวกกับความเข้มรังสีอาทิตย์) ลดลงในช่วงที่โลกร้อนมากขึ้น เป็นนัยว่าละอองหมอกในอากาศอาจลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ยังจำเป็นจะต้องวัดปริมาณละอองหมอกให้ได้อย่างแม่นยำและพัฒนาระบบสังเกตการณ์ความไม่สมดุลทางพลังงานของโลก
“เดือนพฤศจิกายนปี 2020 เป็นเดือนพฤศจิกายนที่อุ่นที่สุดเท่าที่เคยเก็บข้อมูล จึงทำให้ค่าเฉลี่ยช่วง 11 เดือนของปี 2020 พุ่งสูงกว่าปี 2016 ไปโดยปริยาย ส่วนเดือนธันวาคม 2016 เป็นเดือนที่ค่อนข้างเย็น จึงเป็นที่ชัดเจนว่าปี 2020 จะอุ่นกว่าปี 2016 เล็กน้อยในการทำสถิติเป็นปีที่อุ่นที่สุด อย่างน้อยก็ตามผลวิเคราะห์โดย GISTEMP ขณะที่อัตราการเกิดภาวะโลกร้อนรวดเร็วมากยิ่งขึ้นในช่วง 6-7 ปีมานี้ โดยค่าความคาดเคลื่อนในช่วง 5 ปีจากค่าเฉลี่ยของอัตราการอุ่นขึ้นที่เป็นเส้นตรงยังกว้างและเกิดขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของแรงกระทำต่อสภาพภูมิอากาศและความไม่สมดุลของพลังงานในโลกอันเป็นต้นตอของภาวะโลกร้อน

>> ที่มา: Global Warming Acceleration โดย Hansen & Sato, 2020
Projections for Global Temperatures in 2022
Berkeley Earth (ม.ค. 2022): ปี 2022 จะ “คล้าย” หรือร้อนกว่าปี 2021 “เล็กน้อย”
Columbia Climate School / CSAS (ม.ค. 2022): “ปี 2022 จะไม่ร้อนกว่าปี 2021 มากนัก แต่ปี 2023 อาจสร้างสถิติใหม่ได้”
สัญญาณเตือนจากอดีต
“อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2015 ทำลายสถิติเดิมในปี 2014 ไป 0.13 องศาเซลเซียส มีเพียงครั้งเดียวในอดีตเมื่อปี 1998 เท่านั้นที่สถิติใหม่แตกต่างจากสถิติในปีเดิมมากเท่านี้”
~ โดย สถาบันศึกษาอวกาศ Goddard Institute ของ NASA [NASA post of January 20, 2016]
ก่อนจะสิ้นสุดปี 2015 นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2015 จะเพิ่มเกิน 1°C เหนือระดับช่วงยุคก่อนอุตสาหกรรม ช่วงปี 1850-1900 ใช้เป็นเส้นฐานช่วงยุคก่อนอุตสาหกรรมโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของอังกฤษและหน่วยวิจัยด้านสภาพอากาศที่มหาวิทยาลัย East Anglia ซึ่ง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอังกฤษเผยแพร่แถลงการณ์นี้ในเดือนพฤศจิกายนปี 2015
“ปีนี้นับเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกที่สำคัญ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกปีนับจากนี้โลกจะร้อนกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1 องศาหรือมากกว่านั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจะยังคงมีบทบาทในการกำหนดอุณหภูมิในแต่ละปี แต่ระหว่างที่โลกอุ่นขึ้นในช่วงทศวรรษต่อๆ ไป เราจะได้เห็นปีที่มีอุณหภูมิสูงกว่าเกณฑ์ 1 องศาบ่อยครั้งขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติในที่สุด”
~ โดย Peter Stott
หัวหน้าหน่วยสังเกตการณ์สภาพอากาศและสิ่งบ่งชี้ (สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอังกฤษ)
คาร์บอนไดออกไซด์หรือแสงอาทิตย์อะไรก่อโลกร้อน?
การติดตามค่าคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศและอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้พบว่ามีแสงอาทิตย์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ข้อมูลนี้ออกแบบและติดตามโดย Bernd Herd และได้รับแรงบันดาลใจจาก Stefan Rahmstorf
