
ปูนลดโลกร้อน หรือที่มีชื่อว่า “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” ปูนที่มีขั้นตอนกระบวนการผลิตจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุแทนปูนเม็ด หรือการนำวัสดุไม่ใช้แล้ว (Waste) จากภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคชุมชน มาสู่กระบวนการแปรสภาพและใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน เพื่อลดขั้นตอนการเผาวัตถุดิบเพื่อเปลี่ยนเป็นปูนเม็ด อันเป็นเหตุให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ถ้าแปลตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก คือปูนที่ก่อตัวและแข็งตัวเนื่องจากการทำปฏิกิริยากับน้ำ และมีความสามารถทำนองเดียวกันเมื่ออยู่ในน้ำ
ปัจจุบัน 12 โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ของไทยตั้งกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ กำลังการผลิตรวม 60.15 ล้านตันต่อปี เพื่อสนองตอบความต้องการใช้งานทั่วประเทศ ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ก็ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งเป็นวาระสำคัญของโลก จึงนำไปสู่การร่วมกันจัดทำ Thailand Net Zero Cement & Concrete Roadmap 2050 เพื่อให้ตลอดกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หนึ่งในสาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน
ปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก) มอก. 2594 สามารถใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้างแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 ได้เป็นอย่างดี ทั้งงานโครงสร้างทั่วไป งานโครงสร้างขนาดใหญ่ งานพื้นทาง โดยสิ่งสำคัญ คือ ช่วยลดภาวะก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันในหลายประเทศมีการใช้ปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก) อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปมีสัดส่วนการใช้งานมากกว่าร้อยละ 75” นายชนะ กล่าวเพิ่มเติม
ที่มา : https://greendigitallibrary.deqp.go.th/news/detail/984