จากเวทีนโยบายสาธารณะ ข้อเสนอภาคประชาสังคมด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติต่อพรรคการเมือง ที่กลุ่มภาคประชาสังคม และนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ได้เสนอแนวทางต่อพรรคการเมืองไปนั้น ( https://bit.ly/40OEKjv )
กลุ่มตัวแทนพรรคการเมือง ที่มาร่วมฟัง มองตรงกันว่า การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งประเด็นมลพิษทางอากาศ ที่ดิน น้ำ ระบบนิเวศทะเล และชายฝั่ง แม่น้ำโขง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรเริ่มที่การกระจายอำนาจ ให้ความสำคัญสิทธิชุมชนที่มีส่วนร่วมการแก้ปัญหา การแก้กฎหมาย รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหา
“ที่ผ่านมาเป็นการออกโดยด้านบน การพัฒนาเลยไม่ตอบโจทย์ริดรอนทำลายวัฒนธรรมและระบบนิเวศเดิม พื้นที่ควรมีอำนาจการกำหนดขอบเขตการพัฒนาและสามารถนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ ต้องยกเลิกและแก้ไขกฎหมายที่เป็นปัญหา” มูฮัมหมัดกัดดาฟี กูนา พรรคเป็นธรรม

“การมีส่วนร่วมสิทธิชุมชนกระจายอำนาจและเรื่องพลังงานที่ทำให้ประชาชนไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ … สิ่งที่นำเสนอสอดคล้องนโยบายของพรรคอยู่แล้ว การกำหนดนโยบายที่ดีจะต้องทำให้สิ่งเหล่านี้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนโยบายที่ดีต้องส่งผลต่อทุกกลุ่ม การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การกระจายอำนาจและสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและการแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม” สุรพงษ์ พรมเท้า พรรคชาติไทยพัฒนา
“ไม่เห็นด้วยกับ BCG ไม่เห็นด้วยกับการฟอกเขียวไม่เห็นด้วยกับการผลิตล้นเกินและการผลักภาระให้สิ่งแวดล้อมต้องดูแลอีกครั้ง เห็นด้วยกับการจัดการให้คนที่อยู่ฟากของทุนนิยมอุตสาหกรรมภาคผลิตต้องรับผิดชอบในพื้นที่ของเขาเองโดยไม่ต้องผลักภาระให้ป่าเขา ประเทศที่ 3 แล้วอ้างว่าเป็นการเมืองระหว่างประเทศความก้าวหน้าเรื่องสิ่งแวดล้อม …… สร้างความเข้าใจประชาชนใหม่ตอนนี้ประชาชนเข้าใจและหลงว่าการขายคาร์บอนเครดิตคือสิ่งที่เป็นอนาคต … มลพิษทางอากาศอย่าผลักภาระเกษตรกรรายย่อยกำหนดค่ามาตรฐานเปิดช่องให้ปชช. ฟ้องรัฐได้สร้างกลไกการตัดสินใจให้อยู่กับชุมชนท้องถิ่นทั้งเรื่อง EEC เขื่อน” วาดดาว แต่งเกลี้ยง พรรคสามัญชน
“การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นหน้าที่ประชาชนและภาคเอกชนอาจทำให้มีประสิทธิภาพไม่พอรัฐมีหน้าที่สำคัญการออกกฎหมายการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ ถ้ากฎหมายเรามีความทันสมัยสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้อย่างจริงจังโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจะมีช่องว่าทำให้เกิดคอร์รัปชั่นตรงนี้ต้องออกมาให้ชัดเจนมี KPI ชัดเจนในการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม .. ปัญหาหลักคือการละเลยการใช้กฎหมายที่มีช่องว่างให้เอกชนกลุ่มทุนเห็นช่องว่าง ต่อมาคือการกระจายอำนาจเห็นด้วยกับหลายพรรคเพราะไม่มีใครเข้าใจพื้นที่ได้เท่าคนในพื้นที่ การบริหารแบบบนลงล่างไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงแต่เราเพิ่มเรื่องประชาชนต้องมีส่วนร่วมการแก้ปัญหา ” ทันธรรม วงษ์ชื่น พรรคเส้นด้าย

ท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญมากการจัดการฝุ่นเชื้อเพลิงนอกจากให้อำนาจงบประมาณแต่ละตำบลควรจัดให้ท้องถิ่นต้องจัดการเอง … กฎหมายและ พรบ.ป่าไม้ที่ดินต้องพิสูจน์และคืนสิทธิ์ แก้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมควบคุมกลุ่มทุนที่สร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมเห็นด้วยกับ พรบ.อากาศสะอาด การควบคุมการทำธุรกิจของกลุ่มทุน การเจรจาระหว่างประเทศทั้งการแก้ปัญหาฝุ่นไม่ได้กีดกันทางการค้าแต่ต้องจัดการที่ดีเช่นการห้ามเผาถึงนำเข้าได้” เดชรัต สุขกำเนิด พรรคก้าวไกล
“ถ้าจะไม่ให้ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ต้องเพิ่มโอกาส และสร้างโอกาสให้ประชาชนสร้างธุรกิจเฉดสีให้โอกาสใหม่สร้างรายได้ให้ประชาชนเพื่อให้มีทางเลือกเพื่อป้องกันการโทษกัน ให้เห็นภาพอนาคต จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ … กระทรวงเกษตร มี App ของกรมต่างๆ เยอะมาก Big Data การเกษตรจริงๆ มันไม่ควรจะอยู่ในกรมที่ทำหน้าที่วิจัย เมื่อมีการเอาเทคโนโลยีมาใช้งานให้มันเกิดขึ้นและแก้ปัญหา ข้าราชการจะเริ่มว่าง การกระจายอำนาจที่สำคัญที่สุด นอกเหนือจากการเลือกตั้ง คือเอาข้าราชการที่เกิดในจังหวัดนั้นไปอยู่จังหวัดนั้น ไม่ใช่มาอยู่ในกรุงเทพ กระจายอำนาจ ไปพร้อมกับงบ และต้องเพิ่มเรื่องข้าราชการ แล้วข้าราชการไปทำโครงการละเอียดของปัญหาพวกคุณ คนที่อยู่ในแท่งวิชาการ ซี 8 คือหัวหน้าโครงการ ” พรชัย มาระเนตร์ พรรคชาติพัฒนากล้า
“การแก้ปัญหา เป็นทั้งเทคนิค และสิทธิความเสมอภาค 3 เรื่องยุทธศาสตร์ของประชาธิปัตย์ การใช้เทคโนโลยี ทดแทน รัฐราชการ เวลาแก้ไม่ได้เพิ่มกรรมการ เพิ่มบอร์ด สุดท้ายซ้ำซ้อน ช่องของการเกิดคอร์รัปชั่น เสียงบเพิ่ม สองเน้นแรงจูงใจ มากกว่าการบังคับ สามผลักดันกม.ภาคประชาชน นักวิชาการ ร่วมกับการเมือง เป็นกฎหมายที่ทันสมัย ยืดหยุ่น ปรับได้ตามสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้น … ผลักดันดาวเทียมเรื่อง สิทธิทำกิน 1 ล้านแปลง แก้ปัญหาฝุ่นพิษ รวมถึงฝุ่นจากอุตสาหกรรม โดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียม เพื่อให้โปร่งใส ประชาชนมีสิทธิฟ้องร้อง ดาวเทียมบอกความสูญเสียปัญหานิเวศชายฝั่งได้อย่างไร และใครเป็นคนทำ .. การกระจายอำนาจ เห็นด้วยแต่ ต้องไปทั้งเรื่องเงิน งบประมาณ คน และเทคโนโลยี” ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ พรรคประชาธิปัตย์

“ต้องทำต้นไม้ให้เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ส่วนเรื่องพลังงานที่ เราซื้อจากลาว ซึ่งกั้นแม่น้ำจากนานาชาติ … ผมตั้งคำถามว่า ถ้ามีกังหันลมทั่วประเทศ ชาวนายังจนอยู่หรือเปล่า เรามีโซลาร์เซลล์ ชาวนาหายจนมั๊ย และทั้งกังหันลม และโซลาเซลล์ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ หรือไม่ … เราต้องมีโรงไฟฟ้าชีวมวลระดับชุมชน ที่ใช้ไม้จากประชาชน เราจินตนาการว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ไม่มีปั๊มน้ำมัน เราจะใช้พลังงานสะอาดแบบไหน ต้องให้ชุมชนผลิต ผลิตมาจากไม้ ไม้ที่ประชาชนปลูก การปลูกต้นไม้จะทำให้เลิกอาชีพเผาได้ โดยเฉพาะข้าวโพด” พงศา ชูแนม พรรคกรีน
“การแก้ไขระยะยาว ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ คือเป้าหมายอันดับ1 ปัญหาโลกที่ร้อนขึ้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทย อันดับ 1 มาจากภาคพลังงาน 73% อันดับ2 ภาคการเกษตร ป่าไม้ 15% อันดับ3 ภาคอุตสาหกรรม 9.5% ซึ่งต้องแก้ที่ภาคพลังงาน …. ท่านรู้มั๊ยว่าโรงไฟฟ้า 90% ที่ส่วนใหญ่มาจากฟอสซิล ฟิว หรือ ถ่านหิน และนี่คือส่วนที่ทำให้เกิดโลกร้อน ซึ่งไทยซื้อพลังงานจากประเภทนี้ทั้งหมด ระยะยาวคือทำอย่างไร ลดโรงงานไฟฟ้าประเภทได้ และเพิ่มโรงงานไฟฟ้าประเภทโซลาร์ คือการแก้กฎหมาย เพราะการทำโรงไฟฟ้า ค่อนข้างยาก สองคือ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอาคาร ต้องใช้พลังงานให้น้อยลง ส่วนเรื่องลด PM2.5 อย่างจริงจัง การบังคับใช้ กม.ในไทยวันนี้ มีปัญหา เรียกว่าเป็นหมันเป็นช่องทางทำมาหากิน ซึ่งต้องแก้เรื่องนี้” ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส พรรคไทยสร้างไทย
“ให้ PM2.5 จะถือเป็นวาระแห่งชาติให้เหมือนโควิด เรื่องป่าไม้ ทวงคืนผืนป่า ไม่มีเด็ดขาด ที่ผ่านมาโกหก One Map อย่าเชื่อ น้ำ กทม.จมน้ำ ไม่จมเด็ดขาด เชื่อว่ารักษาได้ เรื่องการก่อสร้างที่สมดุลเห็นด้วย เรื่องชายฝั่งทะเล ชายฝั่งทะเลเป็นจุดเชื่อมทะเล และแผ่นดิน เป็นจุดที่อ่อนไหวมาก เราดูแลอย่างดียิ่ง และเข้าใจระบบนิเวศตรงนี้ และนี่คือจุดที่ท่วมกทม. เรื่องแม่น้ำโขง ไม่เห็นด้วย แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ผมเคยพยายามเชิญจีนมาคุย แต่ไม่มา ระบบนิเวศ เปลี่ยนไปจริง ที่นักวิชาการพูดมาจริง เคยพยายามเชิญจีนมา แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ” ปลอดประสพ สุรัสวดี พรรคเพื่อไทย