
รู้หรือไม่?……. ทำไมเรามักจะเห็นอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นในจุดซ้ำๆ จากรายงาน Big Data & AI for Safer Roads ของมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย วิเคราะห์พบว่ามี 7 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่



ทางแยก เมื่อเทียบกับเส้นทางปกติการมีทางแยกบนถนน ทำให้อุบัติเหตุเพิ่มขึ้นอีก 1.05 เท่า และความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มขึ้นสูงกว่า 1.3 เท่า ในเวลากลางคืน
สัญญาณไฟจราจร ถนนที่มีสัญญาณไฟจะมีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น 0.93 เท่า เมื่อเทียบกับถนนปกติ ซึ่งเหตุผลมาจากการขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร และจะเพิ่มสูงถึง 1.1 เท่า ในเวลากลางคืน
ป้ายจราจร ถนนที่มีป้ายหยุดจะมีอุบัติเหตุมากกว่าถนนปกติ 0.84 เท่า เหตุผลหลักอาจเป็นเพราะบริเวณที่มีป้ายเตือน มักเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แต่ผู้ขับขี่อาจไม่ได้ให้ความสนใจกับป้าย ในทางกลับกัน การติดตั้งป้ายเตือนทางโค้งและถนนคดเคี้ยว กลับสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้ 0.5 เท่า
ป้ายรถประจำทาง ในกรุงเทพมหานคร มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเฉลี่ย 2 ครั้ง ในทุกๆ ป้ายรถประจำทาง ในช่วงเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา สาเหตุหลักมักเกิดจากการเปลี่ยนช่องทางการจราจร รวมถึงเปลี่ยนความเร็วของรถ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรถคันอื่นๆ ที่อยู่บนถนน
นอกจากนี้ยังมีอีก 3 ปัจจัยหลัก ที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น อันดับหนึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 87.28 เกิดจาก “บุคคล” (ขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด 49%, ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด 43%, ขับรถหลับใน 4%,เมาสุรา 4%) รองลงมาเป็น “สภาพแวดล้อม” ร้อยละ 38.97 (สัญญาณไฟจราจร/ป้ายบอกทางไม่ชัดเจน 59.83 ,สาเหตุอื่นจากสัญญาณไฟจราจร ป้ายบอกทาง 30.85%, ถนนลื่น 1.76%, มีฝนตก 1.17%, คนตัดหน้ารถ 1.04%, สาเหตุอื่น 2.54% และสุดท้ายเป็น “ยานพาหนะ” ร้อยละ 6.8 (ห้ามล้อขัดข้อง 47%,ระบบไฟขัดข้อง 47%,สาเหตุอื่น 6%)