เครื่องหมายอัศเจรีย์

ทำไมจึงต้องลด การปล่อยก๊าซ มีเทน เพื่อรักษาโลก

มีเทน CH4

การปล่อยก๊าซมีเทนจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบมากที่สุดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้มีเทนยังเป็นสารตั้งต้นของโอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ ก๊าซเรือนกระจกและมลภาวะทางอากาศอีกชนิดหนึ่ง 

แหล่งที่มา 

มีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มจำนวนรวดเร็วที่สุดชนิดหนึ่งในบรรยากาศ กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์มีส่วนในการปล่อยก๊าซนี้กว่า 2 ใน 3  

42% การเกษตร  36% อุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิล  18% ขยะ 3% อื่นๆ (% สัดส่วนการปล่อยมีเทนทั่วโลก)

ผลกระทบ

สภาพภูมิอากาศ  มีเทนมีส่วนทำให้โลกร้อนถึง 40% ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ,มีเทนทำให้โลกร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 86 เท่าในระยะเวลา 20 ปี

สุขภาพ การปล่อยมีเทนเพิ่มทำให้มลพิษจากโอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์มีมากขึ้น ทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยมากกว่า 1 ล้านคน/ปี โดยมีเทนมีส่วนประมาณครึ่งหนึ่ง 

  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคหัวใจ
  • ทำลายทางเดินหายใจและเนื้อเยื่อปอด 

การเกษตรและระบบนิเวศ สูญเสียผลผลิตต่อปีสูงสุด 15% ทั้งถั่วเหลือ ข้าวสาลี และข้าวโพด 

วงจรชีวิตในบรรยากาศ 12 ปี 

เพราะมีเทนอยู่ในบรรยากาศไม่นาน การลดปริมาณจึงส่งผลดีต่อสภาพอากาศและสุขภาพมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว  

มีเทน 1

มีเทนคืออะไร 

มีเทนคือก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งซึ่งมีที่มาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การรั่วซึมจากระบบก๊าซธรรมชาติ หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ โดยมีแหล่งที่มาจากธรรมชาติเช่นเดียวกันด้วย อย่างเช่นพื้นที่ชุ่มน้ำ ก๊าซนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และยังส่งผลทางอ้อมต่อสุขภาพของมนุษย์ ผลผลิตทางการเกษตร และคุณภาพของพืชผล เนื่องจากก๊าซนี้มีบทบาทสำคัญในการเป็นก๊าซตั้งต้นซึ่งก่อให้เกิด การเกิดโอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ 

มีเทนจัดเป็นก๊าซปนเปื้อนที่อายุสั้น โดยจะอยู่ในบรรยากาศโลกได้ประมาณ 12 ปี แต่แม้ว่าระยะเวลาที่อยู่ในบรรยากาศจะสั้นกว่าคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมาก มีเทนกลับมีศักยภาพในการกักเก็บความร้อนมากกว่าหลายเท่าตัว โดยหากเทียบกันต่อมวล ในระยะ 20 ปี ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากก๊าซมีเทนจะมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 86 เท่า ส่วนในระยะ 100 ปี ผลกระทบที่เกิดจากมีเทนจะมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 28 เท่า 

การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าการใช้มาตรการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยมีเทนจะช่วยลดโลกร้อนได้ในระยะสั้น ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้  

 ตัวเลขสำคัญที่น่าสนใจ  

86 เท่า12 ปี60%40%
มีเทนทำให้โลกร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 86 เท่าในระยะเวลา 20 ปี  มีเทนอยู่ในบรรยากาศได้ประมาณ 12 ปี  มากกว่า 60% ของการปล่อยมีเทนทั่วโลกมาจากกิจกรรมของมนุษย์  ภาคการเกษตรมีส่วนปล่อยมีเทนมากที่สุดถึงประมาณ 40%
มีเทน 2

แหล่งปล่อยมีเทนที่สำคัญ 

ความเข้มข้นของมีเทนในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับการทำการเกษตร รวมถึงการปลูกข้าว เลี้ยงปศุสัตว์ การทำเหมืองแร่ถ่านหิน การผลิตและจำหน่ายน้ำมันและก๊าซ การเผาไหม้ชีวมวล และการทิ้งขยะตามบ่อขยะ โดยจากการคาดการณ์ การปล่อยมีเทนจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องภายในปี 2030 จนกว่าจะมีมาตรการรับมือปัญหานี้อย่างทันท่วงที 

ในภาคการเกษตร การหันมาทำปศุสัตว์โดยใช้วิธีการให้อาหารแบบปรับปรุงใหม่อย่างรวดเร็วในวงกว้างจะช่วยลดการปล่อยมีเทนในโลกได้ 20% ภายในปี 2030 ขณะที่การจัดการน้ำในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้งจะช่วยลดการปล่อยมีเทนจากกระบวนการปลูกข้าวได้มากกว่า 30% 

การปล่อยมีเทนจากเหมืองถ่านหินและอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซจะลดลงได้ถึง 65% หากมีการป้องกันก๊าซรั่วไหลระหว่างการส่งและกระจายผลิตภัณฑ์ การกักเก็บก๊าซที่รั่วและนำมาใช้เป็นพลังงานในขั้นตอนการผลิต รวมถึงการไล่ก๊าซก่อนการทำเหมืองและกักเก็บมีเทนระหว่างทำเหมืองถ่านหิน 

มีเทน 3

ผลกระทบจากมีเทน ต่อสภาพภูมิอากาศ  

โดยทั่วไปจัดว่ามีเทนมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับสองรองจากคาร์บอนไดออกไซด์ การดำรงอยู่ของมีเทนในบรรยากาศยังส่งผลต่อปริมาณของก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ เช่น โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ ไอน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย 

การศึกษาในระยะหลังชี้ว่ามีเทนมีส่วนในการทำให้โลกร้อนมากกว่าที่เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ถึง 25% 

ผลกระทบต่อสุขภาพ  

มีเทนจัดเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญของมลภาวะในอากาศ คือ โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ โดยพบว่าการปล่อยมีเทนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับโอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์มากถึงครึ่งหนึ่ง 

แม้ว่ามีเทนจะไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์หรือผลผลิตทางการเกษตร แต่โอโซนมีส่วนในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากปัญหาระบบทางเดินหายใจของผู้คนมากถึง 1 ล้านคนทั่วโลก มีเทนเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการเสียชีวิตราวครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว   

ทางออก 

ด้วยช่วงชีวิตในบรรยากาศของมีเทนที่ค่อนข้างสั้น ประกอบกับขีดความสามารถในการกักเก็บความร้อนที่สูง นั่นหมายความว่าการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาสภาพภูมิอากาศและส่งผลดีต่อสุขภาพได้ในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ   

แนวร่วมนี้สนับสนุนการใช้มาตรการควบคุมซึ่งหากบังคับใช้ได้ทั่วโลกภายในปี 2030 จะช่วยลดการปล่อยมีเทนทั่วโลกได้มากถึง 40% โดยการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยมีเทนสามารถทำได้ผ่านแนวทางการลดการปล่อยก๊าซในทุกมิติทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อสภาพภูมิอากาศ สาธารณสุข และผลผลิตทางการเกษตร 

มีเทน-ทั่วโลกมีศักยภาพลดการปล่อยมีเทนได้ 40% ภายในปี 2030  
การเกษตรปรับปรุงการจัดการมูลสัตว์และคุณภาพอาหารสัตว์   ใช้การจัดการน้ำในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง  ส่งเสริมสุขภาพสัตว์และการเพาะปลูกผ่านการดูแลเชิงบูรณาการ ทั้งการจัดการปศุสัตว์และสุขอนามัย โภชนาการ และการวางแผนการให้อาหารสัตว์   นำวิธีการคัดเลือกพันธุ์สัตว์มาใช้เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซและเพิ่มผลผลิต   สนับสนุนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนในระดับฟาร์มเพื้่อควบคุมการปล่อยมีเทนจากปศุสัตว์   นำแนวทางอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพมาปรับใช้  
พลังงานฟอสซิลใช้การไล่ก๊าซก่อนทำเหมือง รวมถึงกักเก็บมีเทนจากระบบระบายอากาศของเหมืองถ่านหิน  ลดการรั่วไหลของก๊าซจากท่อส่งก๊าซทางไกลและระบบท่อส่งก๊าซต่างๆ    ขยายระบบการกักเก็บก๊าซจากกระบวนการผลิตก๊าซและน้ำมันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์   กักเก็บและนำก๊าซที่รั่วไหลในการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไปใช้ประโยชน์  
การจัดการขยะแยกและบำบัดขยะที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แปรรูปเป็นปุ๋ยหรือพลังงานชีวภาพ    ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้มีการกักเก็บก๊าซและการควบคุมระบบน้ำล้น   ปรับปรุงการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนของขยะทั้งในรูปของแข็งและของเหลวจากอุตสาหกรรมอาหาร   ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียหลัก   เบี่ยงเบนขยะอินทรีย์  รวบรวม กักเก็บ และนำก๊าซจากบ่อทิ้งขยะไปใช้ประโยชน์  

ที่มา  https://www.ccacoalition.org/en/slcps/methane

แชร์