เครื่องหมายอัศเจรีย์

“ลอยกระทง แค่ 1 วัน แต่ใช้เวลาย่อยสลาย 50 ปี”

10 พฤศจิกายน 2565

ลอยกระทง

จำนวนกระทงที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ กำลังสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของภาครัฐยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร  เพราะเริ่มสื่อสารกระชั้นชิดก่อนเทศกาล ลอยกระทง เพียง 1-2 วันเท่านั้นจึงไม่เป็นผล” 

ลอยกระทง 1
รูปที่1 : Info ยอดกระทงปี 2565 ทะลุ ปี2562

นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย สะท้อนมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ในเทศกาลวัน ลอยกระทง ปี 2565 ที่ผ่านมา  โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ควรรณรงค์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี  ไม่ใช่แค่ช่วงเทศกาลเท่านั้น รวมถึงข้อมูลที่จะใช้อธิบายเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมควรเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวประชาชน 

ในมุมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะเห็นว่าเทศกาลวันลอยกระทง”  ไม่ต่างกับ เทศกาลเอาขยะไปทิ้งแม่น้ำ”   

แต่ในมุมวัฒนธรรม “เทศกาลวันลอยกระทง”  เป็นหนึ่งในประเพณีที่งดงามและมีคุณค่าที่แสดงความเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างชัดเจน  นอกเหนือไปกว่านั้นวันลอยกระทง ยังกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจากคนไทยและต่างชาติได้เป็นอย่างดี 

ลอยกระทง 2
รูปที่2: ภาพเก็บขยะกระทงปี2565 

เพื่อให้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เดินควบคู่ไปกับ การอนุรักษ์ประเพณี  

ทางออกที่ดีที่สุด นายสนธิ มองว่า ภาครัฐต้องหาจุดกึ่งกลางในมุมสิ่งแวดล้อม ควรทำการสื่อการอย่างต่อเนื่อง และรณรงค์ให้ประดิษฐ์กระทงจาก วัสดุเหลือใช้ตามธรรมชาติแบบ 100%”  เช่น กาบกล้วย ใบตอง กะลา   ส่วนกระทงจำพวก ขนมปังหรือโคนไอศกรีม  แม้จะย่อยสลายและกลายเป็นอาหารปลา แต่กระทงจำพวกนี้นับเป็นวัสดุที่ทำลายแหล่งน้ำมากที่สุด เพราะในการะบวนการย่อยสลายต้องอาศัยจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียมาช่วย และดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ นั้นหมายความว่าหากมีการใช้ออกซิเจนในน้ำมากเกินไปโอกาสน้ำเน่าเสียก็เพิ่มขึ้น  แต่การห้ามจำหน่ายกระทงขนมปัง หรือ โคนไอศกรีม ไม่ใช่ทางออกที่ดี ภาครัฐควรกำหนดสถานที่อย่างชัดเจนไว้ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวลอยกระทง เพื่อป้องกันกระทงที่อาจเล็ดลอดจากการถูกเก็บนำไปทำลาย 

ลอยกระทง

รูปที่ 3: ภาพภูเขากองขยะจำนวน 300,000 ตัน บนเนื้อที่ 100 ไร่ ในจ.อ่างทอง 

แชร์