เครื่องหมายอัศเจรีย์

“ลานีญา” ยาวถึงกุมภาพันธ์ 66 

ลานีญา
เอลนีโญ 1

ลานีญา ยังยืดเยื้อไปถึง ก.พ. 2566  ส่งผลให้ภาคใต้ ตะวันออก และตะวันตก ต้องเตรียมรับมือน้ำท่วมจากปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2565  ขณะที่ กรุงเทพฯ ปริมณฑล ตะวันออก และตะวันตกบางพื้นที่ เตรียมรับลมหนาวกว่าปกติ พ.ย.-ธ.ค.65 

เอลนีโญ 2

รศ. ดร. วิษณุ อรรถวานิช  อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  เปิดเผยกับศูนย์พัฒนการสื่อสารด้านภัยพิบัติ  เปิดเผยกับศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ ว่า  International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ Climate Prediction Center องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สหรัฐอเมริกา ได้พยากรณ์ความน่าจะเป็นที่จะเกิดลานีญาปรับเพิ่มจาก กันยายน – พฤศจิกายน  2565  โดยระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากเดิมและจะยืดเยื้อไปถึงกุมภาพันธ์ 2566  กำลังของลานีญาจะทำจุดสูงสุดในช่วงพฤศจิกายน และจะลดลงเรื่อยๆ ขณะที่สัญญาณเอลนีโญปีหน้ายังมีน้อยและภัยแล้งน่าจะไม่กระทบมาก

เอลนีโญ 3

– ส่วนภาคใต้ต้องเตรียมรับมือกับปริมาณฝนที่จะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติในช่วงฝน ต้องระวังน้ำท่วมให้มากช่วง ตุลาคม – ธันวาคม 2565 ฝนภาคใต้จะเพิ่มขึ้นจากนี้ไป ลานีญาที่ยืดเยื้อจะทำให้พื้นที่ตอนล่างของประเทศ (ภาคใต้ ตะวันออก ตะวันตก) มีฝนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึงอย่างน้อย กุมภาพันธ์ 2566 ส่วนตอนบนของประเทศ ปริมาณฝนจะกลับมาเท่ากับค่าเฉลี่ยปกติ ขณะที่บางพื้นที่ของภาคกลาง อีสาน และเหนือ อาจเจอแล้งช่วงสั้นประมาณเดือนธันวาคม 2565 ดังนั้นจะส่งผลให้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ในปีนี้น่าจะรุนแรงกว่าปีที่แล้วเพราะฝนจะไม่ช่วยเหมือนปีที่ผ่านมา

เอลนีโญ 4

-ขณะที่อากาศหนาวเย็นกว่าปกติจะน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ มีเพียงกรุงเทพฯ ปริมณฑล ตะวันออก และตะวันตกบางพื้นที่ ที่คาดว่าจะได้สัมผัสกับอากาศหนาวเย็นกว่าปกติช่วง พฤศจิกายน – ธันวาคม 2565 ขณะที่ภาคเหนืออุณหภูมิคาดว่าจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติจากนี้ไปถึงอย่างน้อย กุมภาพันธ์ 2566 ส่วนพื้นที่อื่นๆ อากาศจะหนาวเย็นเท่ากับค่าเฉลี่ยปกติ

วิษณุ
รศ. ดร. วิษณุ อรรถวานิช  อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แชร์