
สรุปสาเหตุน้ำท่วม “ปากีสถาน” จากปริมาณน้ำฝนเกินค่าเฉลี่ย 784% สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ จากฝนที่เกิดขึ้น ทำให้ เกิดเหตุน้ำท่วมมากว่า 50% ของประเทศ เขื่อนขนาดเล็กมากว่า 40 แห่งพัง รายงานระบุว่า เกิดน้ำท่วมฉับพลันในจังหวัด Khyber Pakhtunkhwa ทางตอนเหนือ ทำให้แม่น้ำคาบูลขยายตัว พัดสะพานขนาดใหญ่ออกไป และถูกตัดขาด หน่วยงานสภาพภูมิอากาศปากีสถานบันทึกปริมาณน้ำฝนสูงกว่าปกติในแคว้น Sindh (สินธุ์) มีฝนมากกว่าปกติถึง 784% แคว้น Balochistan (บาลูจิสถาน) มากกว่าปกติ 500% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอินเดีย และบังคลาเทศ 2 แคว้นนี้ ได้รับผลกระทบมากที่สุดทั้งต่อมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐาน ผลกระทบประชาชนมากว่า 30 ล้านคน

รัฐมนตรีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรียกสถานการณ์นี้ว่า “ภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศในสัดส่วนที่ร้ายแรง” นายกรัฐมนตรี เซห์บาซ ชารีฟ ผู้นำชาวปากีสถาน ขอความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ และวางแผนเปิดตัวกองทุนฟื้นฟูประเทศ พร้อมทวิตข้อความว่า “ขนาดของภัยพิบัติใหญ่กว่าที่คาดการณ์ไว้” เป็นอุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่เหตุอุทกภัยในเอเชียใต้ปี 2017

สาเหตุก่อนหน้า
น้ำท่วมหนัก : มิถุนายน ปี 2022 เหตุน้ำท่วมในปากีสถาน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีข้อมูลระบุว่า มีมรสุมรวม 8 ลูก คลื่นความร้อน :เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน ตอนใต้ของปากีสถาน ยังประสบปัญหาคลื่นความร้อนแบบ Back to Back ส่งผลให้เกิดความร้อนแบบรุนแรง และฝนตกหนักกว่าปกติ คลื่นความร้อนยังก่อให้เกิดการละลายของธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำสายสำคัญหลายสายของปากีสถาน

หมายเหตุ : มหาสมุทรอินเดีย เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ร้อนเร็วที่สุดในโลก (อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 1 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งโลกที่ 0.7 องศาเซลเซียส)
ที่มา :
The Guardian
โลกใบใหญ่