เครื่องหมายอัศเจรีย์

สุภาภรณ์ มาลัยลอย : การต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อม สู่ข้อเสนอนโยบายพรรคการเมือง

สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม EnLAW

สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม หรือ EnLAW  คือหนึ่งในแขกรับเชิญ วงพูดคุย นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566   หลายคำตอบที่ถูกพูดถึงไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาระดับ แต่มองถึงการแก้เชิงโครงสร้างรวมถึงการ ปฏิรูปกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติที่เคยนำเสนอ

สุภาภรณ์ : ทิศทางการพัฒนาของรัฐบาลแม้ว่ายุคไหน ๆ ก็มีการมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมเหมือนกัน  แต่ยุคที่ผ่านมาเพิ่มนอกจากมุ่งเน้นเรื่องนโยบายการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังลดทอนมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมผ่านทางกฎหมายด้วย   มันทำให้ สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งส่วนของ EnLAW มองว่า นี่คือสิ่งที่ทำให้หลักประกันด้านสิทธิหายไป และเพิ่มวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมในมิติผลกระทบที่ไม่มีมาตรการจัดการอย่างเป็นระบบ

ยกตัวอย่าง เช่น การพัฒนา EEC สามจังหวัดไม่มีการประเมินก่อน นี่คือ 3 จังหวัดและ ยกเว้นยกเลิกผังเมืองเดิมเปลี่ยนผังเมืองใหม่ให้สอดรับกับนโยบายการพัฒนาซึ่งเป็นพัฒนาขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมจะนะ มาแบบแพ็กเกจ แล้วจะไปยกเว้นผังเมือง มาแก้ไขผังเมืองเพื่อให้สอดรับกับอุตสาหกรรม ซึ่งทำไมในรัฐบาลที่ผ่านมาออกเป็นการพัฒนาเชิงกลุ่มพื้นที่ แต่ว่ากลุ่มพื้นที่นี้ พรบ. EEC ที่ออกมาคือลดทอนมาตรการสิ่งแวดล้อมหมดเลยแล้วเอื้อการลงทุนในการที่จะสนับสนุนการลงทุนที่จะให้ประโยชน์ต่าง ๆ แต่ว่าการลงทุนต่าง ๆ ไม่มีการประเมินว่า  อย่าง เช่น ภาคตะวันออกมีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอยู่แล้ว การต่อยอดจากมาบตาพุด มลพิษเดิมที่ยังเกินอยู่ เขตควบคุมมลพิษเดิมที่ยังไม่ได้ถูกปลดล็อกออกไป  หากเพิ่มจะทำให้ภาคตะวันออกวิกฤตขนาดไหน ในมิติสิ่งแวลดล้อม อันนี้คือตัวอย่าง อุตสาหกรรมจะนะ ไปทับพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ไม่มีการประเมินก่อนที่จะยกนโยบายขึ้นมา

วิกฤตเรื่องขยะเรายอมรับว่ามันคือวิกฤต  แต่พอมีโรดแมป การจัดการขยะ แล้วมาด้วยการยกเว้น มีคำสั่ง มีคำสั่งที่ 4/2599 ซึ่งเป็นปัญหาทุกคนบอกว่า การจัดการควรจะต้องคำนึงถึงปัญหาที่ตามมาจากการจัดการด้วย เพราะฉะนั้นมาตรการสิ่งแวดล้อมจึงสำคัญด้วยเหมือนกัน แล้วทำไมมาตรการจัดการขยะนี้  จึงไปยกเว้นผังเมือง ซึ่งความสำคัญคือพื้นที่ตั้งของกิจการด้านขยะ  ควรตั้งในพื้นที่ที่เหมาะสม

คุณไปยกเลิกผังเมืองไม่พอคุณยังยกเว้นการทำรายงาน EIA สำหรับโรงไฟฟ้าขยะทุกขนาดออกไป อันนี้คือหลักการที่มันลดทอนที่เรารับไม่ได้ เออว่าประกาศกระทรวงทรัพยากรฯ ที่บอกว่าเดิมเนี่ยโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนตั้งแต่สิบเมกะวัตต์ขึ้นไป ทำรายงานวิเคราะห์และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เนี่ยคุณ ยกเว้นเฉพาะโรงไฟฟ้าขยะทั้ง ๆ ที่พี่เพ็ญโฉมส่งพูดไปแล้วว่าโรงไฟฟ้าขยะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพสูงเช่นกัน แล้วก็แผนพลังงานซึ่งอาจจะเชื่อมโยงไปที่อาจารย์ชาลี ที่จะต่อ เรามองแผนพลังงานทางเลือก คุณเอาไฟฟ้าชีวมวลยี่สิบโรง ไปลงที่ภาคอีสานโดยไม่มีการประเมินว่าผลกระทบมันจะเกิดอะไรขึ้น  มันจะกระทบเรื่องฝุ่นหรือไม่ มันจะเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่อาหารเป็นพื้นที่ผลิตเกษตรเชิงเดี่ยวหรือไม่ ถ้าพูดแล้วจะเกิดอะไรขึ้นในวิกฤตด้านนิเวศ ของภาคอีสานอะไรอย่างนี้

สามจังหวัดภาคใต้ แพ็คเกจชีวมวลลงไปอันนี้คืออ้าง เรื่องพลังงานทางเลือก ถ้าจะมาขมวดก็คือว่า นโยบายที่ผ่านมารัฐพยายามขายความเป็นเขียว ขายความสะอาด ขายความเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ส่วนตัวมองว่านวัตกรรมใหม่ ๆ นั้นต้องมาคู่กับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่มันจะต้องมีหลักประกันที่จะคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพแล้วก็วิถีชีวิตของชุมชนเช่นกัน แต่ว่าสิ่งที่เราเห็นคือมันยกเว้น เอื้อให้กับการลงทุนแล้วก็มาลดทอนมาตรการสิ่งแวดล้อม

Think tank “นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566”

สิ่งที่ EnLAW ทำแล้วมีปัญหาคือเราฟ้องเพิกถอนคำสั่งที่ 4/2559 ไปแล้ว แต่ศาลไม่รับฟ้อง และเราคิดว่าเราอยากจะฟ้องอยู่รอบหนึ่ง เพราะตอนนั้น รัฐธรรมนูญ 2560 ยังไม่มี เราฟ้องตอนที่รัฐธรรมนูญยังเป็น รัฐธรรมนูญชั่วคราวอยู่ ตอนนี้เราคิดว่าผลกระทบมันชัด  ยกตัวอย่างกรณีอ่อนนุช หลายพื้นที่ที่เราทำ เรื่องการช้ำคำสั่งที่ 4/2559 แล้วก่อให้เกิดผลกระทบ อันนี้เราก็อาจจะฟ้องอีกรอบหนึ่ง  กับอีกอันคือ  เราฟ้องเพิกถอนประกาศกระทรวงทรัพยากรฯ ที่ยกเว้น เรื่องโรงไฟฟ้าขยะทุกขนาดไม่ต้องทำ EIA อันนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล แล้วก็หลังสุด ทั้งสามมูลนิธิและเครือข่ายภาคประชาชนฟ้องเรื่องค่ามาตรฐาน PM2.5 ซึ่งการฟ้อง คือ กระตุ้นให้รัฐบาลมีมาตรการที่เพิ่มมากขึ้นในเรื่องการที่มาคุยเรื่องมาตรฐาน เกณฑ์มาตรฐาน  แต่ว่าเราคิดว่ามันไม่เพียงพอเพราะว่าเหมือนที่พี่เพ็ญโฉมพูดไปแล้วว่าหลักเกณฑ์ค่ามาตรฐานไม่ใช่คำตอบอย่างเดียวแต่ว่าการนำไปสู่ค่ามาตรฐานนั่นคือสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน แต่เราไม่เห็นโรดแมป การที่จะนำไปสู่ว่าเราจะทำให้ ผลกระทบด้านPM2.5 มันลดลงมาจนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างนี้ค่ะ

อันนี้ก็จะสะท้อนในมุมเรื่องนโยบายการพัฒนาของรัฐที่มองไปข้างหน้าแล้วบอกว่ามันคือจะสะอาดขึ้นมันเขียวมันดีขึ้นแต่ว่าเห็นทางกลับกันคือการลดทอนมาตรการหลักประกันด้านสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน

จริง ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ตัดหลักการนี้ออกจากรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยซ้ำไป เริ่มการบริหารก็ตัดหลักเกณฑ์หลักการที่สำคัญนี้ออกไปเนี่ยนะคะ อันนี้ก็ไม่มีส่วนที่ที่อยากพูดแล้ว  อาจจะแถมอีกนิดหนึ่งที่พี่เอ (เพ็ญโฉม) พูดก็คือเรื่องอุบัติภัยต่าง ๆ นะคะ เรามองไปข้างหน้าว่าเทคโนโลยี คน ดีขึ้น แต่ที่เราพัฒนามาก่อนหน้านี้หมายความว่าเทคโนโลยีมันอาจจะไม่ดีใช่ไหมคะ เราไม่มีแผนในการทบทวนกลับไปย้อนหลังตรวจสอบโรงงานเก่า หรือว่ากิจการที่มีความเสี่ยงเก่าว่ามันอาจจะเกิดอุบัติภัยและมีมาตรการอย่างไรอันนี้เราไม่เคยได้ยินนโยบายหลักนี้จากรัฐบาลนะคะ

นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติแบบไหนที่ไปต่อ และนโยบายไหนที่ควรเร่งแก้ไข

สุภาภรณ์ : ประเด็นแรกคิดว่าพรรคการเมืองอาจจะไม่แตะ แต่เราคิดว่าเราต้องพูดเนื่องจากทำงานด้านนี้ด้วยก็คือว่าสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องแก้ไขก็คือ การบัญญัติรับการมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีในรัฐธรรมนูญไทยนะคะ แล้วก็รัฐบาลพรรคการเมืองทุกพรรคควรจะตอบรับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งตัวนี้มีเนื้อหาหลายส่วนที่ภาคประชาชนเสนอ แต่คิดว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือการผลักเรื่องประเด็นสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีในรัฐธรรมนูญ  บวกด้วยการที่ต้องที่ต้องยกคำสั่งหัวหน้าคสช.ต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านกระบวนการระบอบประชาธิปไตย

ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมออกไป แล้วก็แก้ไขกฎหมายที่มีปัญหาในการมิติที่อาจารย์เขียวพูดถึงเรื่องการแก้แก้ไขกฎหมายที่เป็นปัญหา ในเชิงการกำกับการควบคุม แล้วก็อีกส่วนสำคัญก็คือในมิติสิ่งแวดล้อมก็คือการผลักดันกฎหมาย ที่จะเป็นกฎหมายที่คุ้มครองปัญหาแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ที่เรากำลังผลักดันอยู่เรื่องพีอาร์ทีอาร์ แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องยาก แต่เราคาดหวังว่ารัฐบาลหน้าควรให้ความสำคัญ  ส่วนประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญก็คืออาจจะไม่ได้แตกต่างจากอาจารย์เขียว

ส่วนการจัดลำดับความสำคัญ คือเรื่อง PM2.5  เรื่องขยะ  แล้วก็เรื่องพลังงาน

สามประเด็นปัญหานี้เป็นประเด็นสำคัญท่านที่คิดว่ารัฐบาลหรือว่าพรรคการเมืองทุกพรรคที่ที่จะทำงานในรัฐบาลชุดต่อไปควรจะต้องพูด และควรจะพูดถึงเครื่องมือ หรือกลไก ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยมิใช่ การพูดถึงแค่สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น

สิ่งสำคัญที่เราพยายามพูดกันก็คือว่าการนำไปสู่สิ่งที่จะเกิดขึ้น เพราะเราเชื่อว่าพรรคการเมืองหลายพรรคไม่กล้าพูดถึงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพราะมันเห็นยากมันใช้เวลา เป็นกำลังใจ แต่เราต้องพูดถึงการที่จะเดินไปสู่สิ่งนั้น เราจะได้มอง ตรวจสอบ หรือว่าพูดคุยกันในเส้นทางเดินที่จะไปสู่เป้าที่คุณจะนำไปสู่ด้วย เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดการเป็นพรรคการเมือง ในรัฐบาลต่อไป มันคือสิ่งที่เราไปด้วยกัน  หมายความว่า ค่อย ๆ ก้าวไป มันอาจจะไม่ได้สำเร็จในปีสองปีแต่เราเชื่อว่าถ้าคุณให้ความสำคัญมันจะเดินแล้วก็ ภาคประชาชนก็พร้อมที่จะทำงานไปกับการทำงานคุณด้วยค่ะ  

Think tank “นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง 2566”

นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติไหน ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง

สุภาภรณ์ : ย้ำเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ และสิทธิประชาชน แล้วรัฐธรรมนูญก็เป็นหลักประกันที่สำคัญ

และสิ่งที่เราพูดกันเยอะ ๆ หรือเราต้องให้มีการปฏิรูปกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ให้มีกลไกสอดคล้องกับโลก ที่ให้ทำงานเป็นฐานมุ่งทำงานชุดข้อมูล วางกรอบ หรือแนวคิดที่ไปไกล เพราะว่า กลไกหน่วยงานปกติมันควรจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากลไกพิเศษ ซึ่งกลไกพิเศษ มันควรเป็นแค่ตัวช่วย หรือตัวเอื้อ ในเหตุฉุกเฉินบางเรื่องเท่านั้น แต่กลไกปกติ มันสำคัญ เพราะฉะนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรจะมีมาตรการเชิงป้องกันหรือคุ้มครองให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และกลไกปกติ ของหน่วยรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการลงทุน   การกำกับมาตรการลงทุนที่มีความเสี่ยง ต้องบังคับใช้กฎหมาย หรือมีกลไก เครื่องมือตรวจสอบ หรือการกำกับการควบคุม ไม่ใช่ที่ผ่านมา เราเห็นอุตสาหกรรมเยอะ พื้นที่ปนเปื้อนเยอะ แต่เมื่อชาวบ้านไปร้องเรียนที่อุตสาหกรรมจังหวัด เจ้าหน้าที่ตอบกลับว่า เจ้าหน้าที่ไม่พอ  และเครื่องมือ กลไกในการกำกับ มาตรการทางเทคโนโลยี เครื่องมือที่จะไปกำกับอย่างมีประสิทธิภาพเราไม่ใช้ เราไม่ได้พัฒนาเรื่องนี้กันขึ้นมา เพราะฉะนั้น  ตรงนี้อาจจะมองไปเพิ่ม  จากที่คุยไป คือการบังคับใช้กฎหมาย และการปฏิรูปกลไกหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง กับมาตรการคุ้มครอง หรือที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือการอนุญาตกิจกรรมที่มีความเสี่ยงจะต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 ในการกำกับดูแลตรวจสอบและหากเกิดปัญหาก็ต้องมีมาตรการเชิงป้องกันในการดูแล ผู้ได้รับผลกระทบ หรือการฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษ ทั้งในสิ่งแวดล้อม และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม EnLAW

แชร์