อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มธ.
นโยบายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติที่เคย นำเสนอ
รศ. ดร.ชาลี : หลายคนเวลาพูดถึงเรื่องพลังงานเราก็จะแบ่งเป็นพลังงานไฟฟ้ากับพลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งโดยปกติพลังงานเชื้อเพลิงก็คือฟอสซิลต่าง ๆ ที่เราใช้ในการเดินทางในการประกอบอาชีพต่าง ๆส่วนพลังงานไฟฟ้านั้น แยกกันไม่ออกเลยครับว่า กระบวนการผลิตไฟฟ้านั้นต้องเกี่ยวข้องกับทั้งมิติ ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม แล้วก็จะอธิบายสิ่งที่จะตามมาจากสิ่งแวดล้อมที่แย่ลงจากการไฟฟ้าครับ
โดยปกติแล้ว เราทราบกันดีอยู่ว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมากในช่วงหลายปี อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ส่วนสำคัญอย่างยิ่งก็มาจากน้ำมือมนุษย์ ที่ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกออกไปมากนั่นเอง สถิติเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศกับปริมาณความถี่ของการเกิดภัยพิบัติ เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออกนะครับ
ดังนั้นแล้วเนี่ยทิศทางในการพัฒนาด้านการผลิตไฟฟ้าหรือการใช้พลังงานของประเทศก็ต้องยอมนำไปสู่ทิศทางที่ ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกนั่นเอง ประเทศไทยเราเองมี Commitment หรือว่าการให้คำสัญญากับประเทศนานาชาติ เอาไว้ตั้งแต่ COP21 คือตั้งแต่ปี 2015 มาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงคอปล่าสุด COP26 ที่กลาสโกว์ ท่านรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีเป็นคนประกาศเองนะครับ แต่ที่เราได้ยินมาทั้งหมดในอดีตก็จะเห็นได้ว่าประเทศเรา ยังไม่มีแผนในการนำไปสู่เน็ตซีโร่ คาร์บอนหรือ NET GREENHOUSE GAS ในปี 2050 อย่างที่ได้ประกาศเอาไว้ อันนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญซึ่งจุดสำคัญในเรื่องของพลังงานก็คือ ถ้าเกิดเราจะไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 ได้นะครับ
องค์การนานาชาติ เช่น อีไอเอ ได้ให้ Recommendation เอาไว้แล้วครับว่า เราควรจะต้องผลิตไฟฟ้าให้สะอาดให้ได้ภายในปี 2040 การบอกว่าผลิตไฟฟ้าให้สะอาด ก็หมายความว่า เราก็ต้องเป็น Net Greenhouse Gas Emission
ภาคการผลิตไฟฟ้าเนี่ยตั้งแต่ปี 2040 นะครับ แต่ถ้าเกิดเราดูปี 2040 โรงไฟฟ้า 1 โรงจะมีอายุใช้งานประมาณ 20-25 ปี แปลว่าลบออกจากปี 2040 ลงมา 20-25 ปี นี่ก็คือปัจจุบันนั่นเอง แสดงว่าถึงปีปัจจุบัน โรงไฟฟ้าเป็นฟอสซิลทั้งหมดเนี่ยก็ควรจะถูกรีไทร์ แต่สวนทางกัน ที่เราเห็นก็คือ ยังมีการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่มาจากโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซ ซึ่งเป็นฟอสซิลนะครับ แปลว่า โรงไฟฟ้าเหล่านี้ ถึงแม้ปี 2040 – 2050 ก็ยังคงผลิตอยู่ในระบบได้นั่นเอง นโยบายที่ผ่านมาก็เลยสวนข้าม สิ่งที่เราได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับนานาชาตินะครับ
เราดูกระบวนการผลิตไฟฟ้าเนี่ยเริ่มต้นทั้งหมดต้องจากแผนในการพัฒนาพลังการผลิตครับ ซึ่งแผนเหล่านี้เราเรียกว่าแผนพีดีพี ผ่านมาตั้งแต่แผนพีดีพีฉบับล่าสุดคือปี 2018 ที่มีการแก้ไขใหม่ฉบับปรับปรุง ปีนี้ 2020 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการออกแผนพีดีพีฉบับใหม่ ถ้าเราก็ยังเดินตามแผนพีดีพีฉบับเดิมจนกระทั่งถึงปัจจุบัน การเดินตามฉบับเดิมจุดสำคัญก็คือ เรื่องของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ แล้วก็ตัวก๊าซเรือนกระจกที่จะผลิต ไม่เพียงแต่เราไม่ได้ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกเลยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เราจะเพิ่มขึ้นในเรื่องของปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยรวมภาคการผลิตไฟฟ้าด้วยซ้ำ เนื่องจากนโยบายการเดินตามแผนพีดีพี 2018 หลายส่วนที่เราเสนอไปแล้ว รัฐบาลก็ทำนะครับ ตัวอย่างเช่น เราเคยต่อสู้กันเรื่องของการหยุดยั้ง โรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ ก็มีการทำเอสอีเอ ( การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA)ท้ายสุด สุดท้ายก็ไม่ได้จัดการสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างมากนะครับ
เราเคยเสนอให้รัฐบาลพัฒนาเรื่องของระบบสมาร์ทกริด (Smart Grid คือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีหลากหลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน ) ก็มีการพัฒนาเรื่องของแหล่งพลังงานที่เป็นพลังงานสะอาดอย่างเช่น โซลาเซลล์ลอยน้ำที่เขื่อนต่าง ๆ ของประเทศ ประกอบกับการเพิ่มแหล่งกักเก็บพลังงานระบบสูบกลับ ที่เขื่อนลำตะคองเป็นต้น ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในเชิงของภาคการปฏิบัติที่ทำให้เกิดเคสตัวอย่างใน เรื่องการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าให้สะอาด มากขึ้นแต่ถ้าจะดียิ่งกว่านะครับอนาคตก็อยากจะเห็นการที่จะมีโครงการต่างๆที่นำร่องเหล่านี้เนี่ยครับ ถูกขยายสเกลอัพให้เกิดในรูปแบบที่เกิดผลกระทบในเชิงของเชิงบวกนะครับที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างจริงจังเรื่องเหล่านี้เองครับก็จะนำไปสู่ในเรื่องของการลดภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นนะครับ แล้วก็ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะตามมานะครับ ก็จะสามารถลดได้ด้วยการที่เรา เปลี่ยนผ่านเรื่องของพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียน
นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติแบบไหนที่ไปต่อ และนโยบายไหนที่ควรเร่งแก้ไข

ผมกำลังมองว่าในเรื่องของการที่เราใช้พลังงานปัจจุบันมันนำไปสู่เรื่องของการเพิ่มโลกร้อน แล้วก็นำไปสู่ปรากฏการณ์โลกรวน ถ้าเกิดว่าเราจะรีบดำเนินการในเรื่องของการลดผลกระทบเหล่านี้ เราต้องพึ่งพาในเรื่องของพลังงานฟอสซิลให้ลดลง ประเด็นที่สองจะเป็นเรื่องจัดการ เราจัดการเหมือนน้ำแหละครับ ที่เราจะต้องจัดการในฝั่งดีมานด์ด้วย ไฟฟ้าก็เหมือนกัน เราไม่ได้สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามดีมานด์ที่เกิดขึ้น แต่เราต้องจัดการกับความต้องการของใช้ไฟฟ้าของประเทศให้ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กลไกของกองทุนอนุรักษ์พลังงานให้เกิดผลในการลดการใช้พลังงานอย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ ในการที่เราบอกว่าเราลดการพึ่งพาจากฟอสซิล เราจะทำได้อย่างไร เพราะว่าประเทศของเรานั้นพึ่งพาก๊าซธรรมชาติกันอยู่เกินกว่าร้อยละหกสิบ กำลังการผลิตของเราจำนวนหน่วยไฟทั้งหมดที่ผลิตก๊าซธรรมชาติสูงมาก เกินกว่าร้อยละหกสิบ ดังนั้นแล้วกว่าที่เราจะลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติได้ ก็แสดงว่าเราต้องมีแหล่งพลังงานใหม่ ซึ่งไม่ได้ผลิตก๊าซเรือนกระจกมากจนเกินไปนะครับ
อยากจะเสนอว่ามาตรการหนึ่งที่อาจจะได้เอ่อกระสุนนัดเดียวแต่ได้นกหลายตัวนะครับอาจจะนึกถึงเรื่องของการที่เราเปิดให้มีการทำเสรีในติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคานะครับไม่ว่าจะเป็นหลังคาโรงงาน หลังคาเอสเอ็มอี หรือว่าหลังคาบ้าน ถ้าเกิดว่าเรามีการส่งเสริมเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง เช่นตัวอย่างการใช้มาตรการในต่างประเทศ การเปิดให้ทำเน็ต มิเตอร์ริ่ง (Net Metering)ก็คือไฟที่เหลือ ในช่วงกลางวันที่ผลิตได้เกิน ก็สามารถสามารถขายคืนหรือว่าไหลคืนไปฝากไว้ในกริด ( Grid ) ได้นะครับ และถึงเวลาที่เราต้องใช้ไฟในช่วงกลางคืน ก็ถอนไฟที่เราฝากไว้กลับมาใช้โดยการหักลบกลบหน่วยกันแบบนี้
การทำลักษณะนี้ จะได้อะไรบ้างเนื่องด้วยเราใช้ก๊าซธรรมชาติมาก ก๊าซธรรมชาติมีราคาสูงขึ้น เราใช้แอลเอ็นจีจากต่างประเทศมาก ค่าต้นทุนของก๊าซแอลจีในการผลิตไฟหนึ่งหน่วยนั้น สูงถึง 6 บาท 8 บาทเลยทีเดียวนะครับ ดังนั้นแล้วยิ่งเราใช้แอลเอ็นจีมากค่าไฟเราจะไม่ถูกลง งั้นสิ่งที่เราต้องการทำก็คือ ต้องหาแหล่งพลังงานอื่นที่จะมาทดแทนแอลเอ็นจี ก็คือตัวโซลาร์เซลล์หรือการทำโซลาร์ รูฟท็อป แบบนี้นี่เองนะครับ
หลาย ๆ คนบอกว่าโซลาร์เซลล์ก็ผลิตได้แค่นี้นิดหน่อย จะกลับมาทดแทนพลังงานฟอสซิลได้จริงหรือ ในการทำซีมูเรชั่น โมเดล การศึกษาพีดีพีที่จะเป็นกรีนพีดีพี ของประเทศไทย โซล่าร์เซลล์กลายเป็นพลังงานหลักของหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยนะครับ ปัญหาสำคัญที่ต้องจัดการไม่ใช่ปริมาณโซลาเซลล์ แต่การที่เราสามารถเก็บพลังงานเอาไว้เพื่อใช้ในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ต่างหาก นั่นคือส่วนปัญหาที่ต้องสำคัญที่ต้องดำเนินการ
นอกจากเรื่องของการที่เราลดการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศแล้วด้วยการใช้โซลาร์ รูฟท็อป อันดับที่สองก็คือ การลงทุน รัฐบาลจะมุ่งเสมอว่า ถ้าเกิดว่า จะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ต้องลงทุนจะเอาเงินที่ไหนมาลงทุน หลายประเทศพิสูจน์มาแล้วครับการเปิดโซลาร์เสรี มีคนเข้ามาลงทุนติดตั้งบนหลังคาบ้านตัวเอง หรือว่าหลังคาโรงงานตัวเองโดยอัตโนมัติ รัฐไม่ต้องลงทุน เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องเงินไม่ใช่ประเด็น
เรื่องที่สาม เมื่อเราติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อปแล้วไม่ใช่ว่าเราลดเงินตราที่ต้องเสีย ขณะเดียวกันประชาชนครับ ได้ลดค่าไฟอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นั้นแปลว่าหน่วยทุกหน่วยที่เขาผลิตครับก็สามารถนำกลับมาเป็นเครดิตในการที่เค้าลดค่าไฟได้อย่างเต็มที่ และการลงทุนเหล่านี้ครับคืนทุนเร็วด้วย
นั่นหมายความว่า ถ้าเราประหยัดไฟได้หน่วยละ 5 บาท การลงทุนแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ ประมาณสามหมื่นบาท ได้เงินกลับมาลดค่าไฟเดือนละ 600 บาท ผ่านไปสัก 4 ปี ก็ได้คืนหมดแล้วนะครับ แต่โซล่าเซลล์เองเนี่ยอายุถึง 25 ปีนะครับ
นอกจากมันจะช่วยลดฟอสซิลมันก็นำไปสู่กระบวนการในการที่เราจะตอบโจทย์กับประชาคมโลกที่เราบอกเค้าไว้ว่าเราจะไปสู่เส้นทางการเป็นเน็ตซีโร่คาร์บอน หรือ Net Greenhouse Emission ใช่ไหมครับ ดังนั้นแล้วเนี่ยด้วยโซลาร์เซลล์อันเดียวครับมันสามารถที่จะตอบโจทย์ทั้งในเชิงของสเกล ออฟ อีโคโนมี่ (Scale of Economy ) สามารถที่จะลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟครัวเรือน ไปจนกระทั่งถึงระดับโลกเลยทีเดียว ที่ว่าสามารถที่จะตอบโจทย์การลดก๊าซเรือนกระจกได้นะครับ เรื่องของการเปิดเน็ต มีเตอร์ริ่ง โซลาร์เซลล์อันนี้ถือว่าเป็น สิ่งที่ควรจะทำอันดับแรกในเรื่องของพลังงาน
ส่วนที่สองครับหลาย ๆ คนกังวลเรื่องค่าไฟนั้นก็คือ เราจะต้องหยุดกระบวนการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ที่เป็นโรงไฟฟ้าฟอสซิลนะครับไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินถ้าอันไหนรีไทร์เร็วควรจะรีไทร์ทันทีนะครับเพราะว่านั้นตัวการสำคัญ ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฝุ่นและมลพิษต่าง ๆ นะครับแล้วก็เรื่องของก๊าซเรือนกระจกด้วย
ก็คือเรื่องของก๊าซธรรมชาตินะครับถ้าเกิดว่าเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของราคาก๊าซธรรมชาติครับทุกวันนี้เนี่ยมีกลุ่มปิโตรเคมีนะครับสามารถที่จะได้ก๊าซจากอ่าวไทยราคาถูก ทำให้พลูการ์ดที่เหลือเนี่ยมีราคาแพงขึ้นนะครับ เพราะของถูกนำไปใช้แล้ว ของถูก ๆ มารวมอยู่ในพูล ตรงกลางน้อยลง ราคาเฉลี่ยก็เลยสูงมากนะครับ ก๊าซที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าก็มีต้นทุนสูงครับนั้นเราจะต้องการลดในส่วนนี้เนี่ยก็ต้องลดในเรื่องของราคาที่จะมาร่วมในพลูการ์ดนะครับว่าเฉลี่ยจากปิโตรเคมีมาให้ผู้ใช้ไฟด้วยครับ
หลาย ๆ ประเด็นเหล่านี้ครับน่าจะรวบรวมไปสู่นโยบายเรื่องการเปลี่ยนผ่านพลังงานการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มากขึ้นนะครับ การมีก๊าซชีวภาพพลังงานจากชีวมวลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเรื่องที่ควรจะส่งเสริมและปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกันนะครับ

นโยบายสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติไหน ที่ควรมีในสนามเลือกตั้ง
กฎหมายสิ่งแวดล้อมมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ ถ้าเราตั้งนโยบายให้สอดคล้องกับแผนการระยะยาว ที่เป็นเป้าหมายของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจก ทำให้ไม่เพียงแต่เรามีที่ยืนบนเวทีโลกอย่างสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันเรากำลังช่วยประชาชนทุกคนที่กำลังได้รับผลกระทบ จากภาวะโลกร้อนต่าง ๆ เหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันนะครับ เพราะฉะนั้นแล้วไม่เพียงแต่เรารักษาสิ่งแวดล้อมภัยพิบัติ แต่เราต้องมองถึงปากท้อง เรื่องการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ มีราคาที่เป็นธรรม
จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่แหล่งพลังงานที่เราต้องหา แต่อยู่ที่การกำหนดนโยบายในการที่จะเดินหน้า เรื่องการใช้พลังงานส่วนต่าง ๆ เอาประชาชนเป็นที่ตั้งมากขึ้น ลดผลประโยชน์ของเอกชนให้น้อย อาจจะทำภาพรวมทั้งประเทศไม่ได้ดีเฉพาะเศรษฐกิจ แต่ดีเชิงสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นลดลงด้วย


