กิจกรรมนี้ เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ เพื่อการมีส่วนร่วมของกลุ่มภาคีเครือข่าย และกทม. ในการหาแนวทางป้องกันผลักดันด้านกฎหมาย ด้านเทคโนโลยี และการสื่อสาร ที่สามารถช่วยแก้ปัญหา โดยเฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และมีความรู้เรื่อง ฝุ่น ที่ถูกต้องและสามารถป้องกันตัวเองได้เบื้องต้น

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มองว่า ในบางครั้งข้อจำกัดของกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร ไม่สามารถปฏิบัติได้ ในการแก้ปัญหา เช่น พื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีการเผา รวมถึงข้อจำกัดด้านสภาพอากาศที่ควบคุมไม่ได้
การขอความร่วมมือกับเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งในด้านต่างๆ เพราะการแก้ปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องของกฎหมายและการบังคับใช้ แต่รวมถึงวิถีชีวิต พฤติกรรม การขนส่ง จนเกิดความร่วมมือ ทำให้การแก้ปัญหา ฝุ่น มีประสิทธิภาพ ซึ่งนี่คือ Soft power เพราะอากาศเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน การหายใจ

มารีญา พูลเลิศลาภ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2560 ที่ผลักดัน #พรบ.อากาศสะอาด และเดินทางมาร่วมกิจกรรม ให้ความเห็นว่า
อากาศเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น และปัญหาฝุ่นพิษ ไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่งที่จะแก้ไข เป็นบางครั้งทำอะไรที่มีอิมแพคและเร็ว จึงต้องมุ่งไปที่นโยบาย ในการแก้ปัญหา
“อากาศ support เรา เราต้อง support อากาศ และ support นโยบาย”
: สื่อสารเรื่องฝุ่น :

ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ ไทยพีบีเอส ร่วมกับตัวแทนครูสังกัด กทม. ฐานการเรียนรู้ “ฝุ่นนอกรั้ว” ที่มีคณะครูจากโรงเรียนสังกัดกทม. มาร่วมออกแบบกิจกรรมให้ความรู้คู่กับความสนุก เช่น กิจกรรมบอร์ดเกมส์บันไดงู

ส่วนแสดง Photo Essay รวบรวมภาพสื่อความหมายจากกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่น ตามโรงเรียนต่าง ๆ ในสังกัด กทม. ที่สร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กการเฝ้าระวังป้องกันตัวเองจากปัญหาฝุ่น PM 2.5

: พูดคุย ป้องกันฝุ่น :
เวทีหลัก ในงาน เป็นกิจกรรม “คุยในสวน”
วงที่ 1 : BKK Risk Map กับ แผนที่ดูแลสุขภาพคนเมือง” โดย รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯ กทม. ระุบว่า การที่ กทม.มีแผนที่เสี่ยงภัย สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นได้ เพราะเป็นการให้ข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่นอกจากแสดงพิกัดฝุ่นแล้ว ทำให้รู้แหล่งกำเนิดฝุ่น และวิเคราะห์กลุ่มเปราะบางในพื้นที่
วงที่ 2 : “อนาคต ฝุ่นศึกษา” โดย ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) การกำหนดค่ามาตรฐานสารก่อมะเร็ง ในหัวข้อ “อนาคตฝุ่นศึกษา” การก้าวข้ามค่ามาตรฐานที่ดูแต่เฉพาะ PM2.5 เพราะจากข้อมูลล่าสุด WHO มีผู้เสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 และมลพิษในอากาศมากว่า 6-7 ล้านคน
วงที่ 3 : “ปั่นต่อ ต่อระบบขนส่งเมือง” โดย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม. และ นายศิลป์ ไวรัชพานิช เครือข่ายสัญจรทางเลือก ที่มองว่าจักรยานเป็นทางเลือกของการสัญจร การนิยามของคำว่าปั่นต่อ ไม่ใช่ปั่นจากบ้านไปที่ทำงาน แต่อาจหมายถึงการปั่นจากบ้านไประบบขนส่งมวลชน เพื่อไปทำงานได้เช่นกัน การปั่นต่อคือการ ชวนคนกลับมาปั่น และหาจุดเชื่อมต่อ ที่มำให้จักรยานหรือสัญจรทางเลือกมีประสิทธิภาพ
วงที่ 4 : “พลังงานบริสุทธิ์” การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนกับการขับเคลื่อนงานด้านมลพิษทางอากาศใน กทม