ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติชวนทำความรู้จักโครงสร้างป้องกันการ กัดเซาะชายฝั่ง ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมสำรวจชายหาดของไทยว่าพบโครงสร้างรูปแบบไหนอยู่ในพื้นที่แล้วบ้าง

1.1 กำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได เป็นกำเเพงคอนกรีตเสริมเหล็ก กำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได ปัจจุบันมีมูลค่าเฉลี่ยกิโลเมตรละ 120,000,000 บาท ตัวอย่างเช่น หาดชะอำใต้ จ.เพรชบุรี หาดปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
1.2 กำเเพงกันคลื่นเเบบหินเรียงใหญ่ เป็นกำเเพงกันคลื่นที่ก่อสร้างด้วยวิธีการเรียงหินขนาดใหญ่ตามเเนวชายฝั่ง มีมูลค่าการก่อสร้างเฉลี่ยกิโลเมตรละ 80,000,000 บาท ตัวอย่างเช่น หาดบ่ออิฐ-เกาะเเต้ว จ.สงขลา หาดหน้าสตน จ.นครศรีธรรมราช หาดสำเร็จ จ. สุราษฎร์ธานี
1.3 กำเเพงกันคลื่นเเบบลาดเอียง เป็นกำเเพงกันคลื่นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำในลักษณะลาดเอียง มูลค่าการก่อสร้างเฉลี่ย 120,000,000 บาท ตัวอย่างเช่น หาดเเก้ว จ.สงขลา
1.4 กำเเพงกันคลื่นเเบบหินทิ้ง เป็นกำเเพงกันคลื่นที่ใช้หินขนาดเล็ก ทิ้งลงบริเวณชายหาด ไม่ได้ถูกจัดวางเเละออกเเบบความลาดชัน ตัวอย่างเช่น หาดชลาทัศน์ จ.สงขลา
1.5 กำเเพงกันคลื่นเเบบกระสอบทราย เป็นการนำเอาทรายใส่ถุง Geotextile ขนาดใหญ่ วางเรียงซ้อนกัน เพื่อให้เป็นกำเเพงกันคลื่น พบเห็นได้ที่ ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา
1.6 กำเเพงกันคลื่นเเบบตุ๊กตาญี่ปุ่น(Tetrapod) เป็นกำเเพงกันคลื่นที่ใช้คอนกรีตที่มีรูปทรงคล้ายตัวต่อวางต่อกันเพื่อให้เกิดความเเข็งเเรงของโครงสร้างป้องกัน พบเห็นได้บริเวณชายหาด หาดทรายรี จ.ชุมพร หาดบางตาวา จ.ปัตตานี เเละ หาดปากบารา จ.สตูล
1.7 กำเเพงกันคลื่นเเบบเกเบี้ยน เป็นการนำเอาหินบรรจุในตะเเกรง เพื่อให้มวลเเละน้ำหนักของเกเบี้ยนนั้นเทียบเท่ากับหินขนาดใหญ่ เกเบี้ยนพบได้บริเวณ ชายหาดม่วงงาม เเละ หาดสมิหลา-ชลาทัศน์ จ.สงขลา
1.8 กำเเพงกันคลื่นเเบบเเนวดิ่ง เป็นกำเเพงกันคลื่นที่ตั้งตรงบนชายหาด ซึ่งปัจจุบันกำเเพงกันคลื่นเเนวดิ่งนั้นไม่เป็นโครงสร้างที่นิยมใช้ในการป้องกันชายฝั่ง เพราะทำให้เกิดผลกระทบที่มากกว่ากำเเพงกันคลื่นลักษณะอื่น ๆ เช่น การสะท้อนทรายหน้ากำเเพงกันคลื่น การปะทะของคลื่นรุนเเรงขึ้น ตัวอย่างกำเเพงกันคลื่นเเนวดิ่ง เช่น หาดบ้านหน้าศาล จ.นครศรีธรรมราช หาดบ้านฉาง จ.ระยอง

2. เขื่อนกันคลื่น
2.1 เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) สร้างเพื่อป้องกันการ กัดเซาะชายฝั่ง ทั้งจากคลื่นซัดฝั่งและกระแสน้ำที่จะมีการเคลื่อนตัวหักเหเข้าสู่ฝั่ง
2.2 เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่งแบบจมน้ำ (Submerged offshore breakwater) สร้างเพื่อลดหรือสลายพลังงานคลื่นซัดฝั่งและเสริมประสิทธิภาพการทำงานของรอดักทราย โดยมีรูปแบบเหมือนกับเขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง แต่จะจมน้ำในภาวะน้ำทะเลขึ้นปกติ และจะมองเห็นสันเขื่อนเฉพาะเวลาน้ำทะเลลงต่ำสุดเท่านั้น

3.รอดักทราย
โครงสร้างที่วางตั้งฉากกับชายหาดเพื่อดักทรายไม่ให้ไหลไปตามกระแสคลื่นที่วิ่งเลียดเฉียงหรือขนานไปกับชายฝั่ง ซึ่งจะทำให้ทรายถูกพัดไปตามด้านข้าง โดยเมื่อใช้คันดักทรายไปซักระยะจะพบว่าทรายจะทับถมด้านที่คลื่นขนานฝั่งตกกระทบ และจะถูกกัดเซาะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในพื้นที่ที่มีกระแสคลื่นขนานฝั่งที่รุนแรง และเด่นๆ ในทางเดียว แต่ก็ทำให้รูปร่างชายหาดเปลี่ยนไปจากเดิม เพราะด้านหน้าทรายจะพอก แต่ด้านหลังจะถูกกัด
4.เติมทราย
การสร้างหาดใหม่ (beach renourishment) โดยการเติมทรายไปให้ชายหาด ซึ่งแหล่งทรายอาจจะมาจากบนฝั่ง เช่นเนินทรายหลังหาดหรืออาจดูดมาจากนอกชายฝั่ง ทั้งนี้พบว่า การสร้างหาดใหม่มีข้อเสียสำคัญคือ มูลค่างบประมาณโครงการค่อนข้างสูง อีกทั้งยังไม่คงทนถาวร เพราะส่วนใหญ่ทรายจากนอกชายหาดที่เอามาเติมจะเป็นทรายคนละขนาดกับพื้นที่เดิมทำให้ถูกกัดเซาะไปได้เร็วกว่าทรายปกติ
5.ปักไม้ หรือ ปลูกป่าชายเลน
สร้างแนวชะลอคลื่นด้วยวัสดุธรรมชาติหรือต้นไม้เพื่อลดแรงกระทบของคลื่นที่ซัดเข้าหาชายฝั่ง
6.การใช้มาตรการถอยร่นของแนวชายฝั่ง
การใช้มาตรการด้านกฎหมายที่ดิน การเวนคืนที่ดิน เช่น บังคับให้อพยพบ้านเรือนประชาชนหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ติดริมชายฝั่งซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไปยังพื้นที่ปลอดภัย