
ภาพประจำสัปดาห์ …. หลังจากเผชิญภาวะแล้งช่วงหน้าน้ำต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2019-2021 โตนเลสาบ หรือทะเลสาบเขมรกลับมามีน้ำท่วมในระดับที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาหลายปี หรือนับตั้งแต่ฤดูน้ำหลากเมื่อปี 2018 ตามปกติแล้วระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นรอบบริเวณทะเลสาบซึ่งเป็นแหล่งทำประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้จะทำให้ชาวประมงหลายล้านคนหาปลาได้มากขึ้น แต่ทว่าภาพถ่ายเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่าระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ ยังมีปริมาณไม่มากเท่ากับช่วงเดียวกันของเมื่อปี 2018


วงจรน้ำหลากดีขึ้น แต่ยังไม่มากเท่าที่ควร…..หากได้เดินทางไปยัง โตนเลสาบ ในช่วงนี้ จะสังเกตเห็นว่าทะเลสาบแห่งนี้มีน้ำปริ่ม และชาวบ้านมักกล่าวว่าเป็นภาพที่เหมือนกับในสมัยก่อน เว้นแต่ว่าพวกเขาไม่สามารถจับปลาได้อย่างที่เคยเพราะมีกฎห้ามจับปลาไปจนถึงเดือนหน้า ซึ่งโตนเลสาบมีน้ำท่วมกินวงกว้างขึ้นอย่างชัดเจนในฤดูน้ำหลากปีนี้จริง แต่ทว่าระดับน้ำที่ท่วมรอบพนมเปญน้อยกว่าปกติทำให้วงจรน้ำท่วมในหน้าน้ำยังมีปริมาณน้ำน้อยกว่า ระดับปกติมากพอสมควร วงจรน้ำท่วมที่นี่ขยายตัวขึ้น 14% เมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือนกันยายน และไต้ฝุ่นโนรูที่พัดถล่มเมื่อสัปดาห์ก่อนอาจทำให้วงจรน้ำท่วมในเดือนตุลาคมนี้ขยายวงกว้างขึ้นได้อีกเช่นกัน

สัปดาห์ที่แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง
น้ำหายไปไหน – ไต้ฝุ่นโนรูทำให้เขื่อนต่างๆ ตลอดแนวลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างต่างพากันกักเก็บน้ำมากกว่าปกติ การกักน้ำของเขื่อน 7 แห่งต่อไปนี้ทำให้ความจุของอ่างเก็บน้ำเต็ม 100% หรือบางแห่งถึงกับต้องกักน้ำไว้เกินความจุ ทั้งเขื่อนน้ำคาน 2 (ลาว) เขื่อนน้ำลึก (ลาว) เขื่อนน้ำเงี๊ยบ (ลาว) เขื่อนอุบลรัตน์ (ไทย) เขื่อนห้วยลำพันใหญ่ (ลาว) เขื่อนน้ำตกยาลี (เวียดนาม) และเขื่อนบวนก๊วบ (เวียดนาม)
ระดับน้ำในแม่น้ำ – Eyes on Earth ประมาณการว่าปริมาณน้ำที่เชียงแสนลดลง 40% จากการกักน้ำของเขื่อนต่างๆ ที่ต้นน้ำ โดยจุดนี้มีระดับน้ำต่ำกว่าปกติประมาณ 2 เมตร ส่วนระดับน้ำท้ายเขื่อนมีมากเนื่องจากฝนที่ตกหนักจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นโนรู โดยระดับน้ำที่สตึงเตรงสูงกว่าปกติถึง 2 เมตรในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำกำลังทยอยลดลงหลังจากพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านไปแล้ว
ความชื้นและสภาพอากาศ – ต้นน้ำของแม่น้ำโขงมีน้ำมากกว่าปกติในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว แม้ว่าในพื้นที่ลุ่มต้นน้ำในประเทศลาวตลอดจนทางน้ำหลักจะยังมีน้ำน้อยกว่าที่คาดไว้ ทั้งๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากไต้ฝุ่นโนรูเป็นปัจจัยเสริม พื้นที่บางส่วนของลุ่มน้ำ 3S รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และกัมพูชา มีน้ำมากกว่าปกติมากจากอิทธิพลของไต้ฝุ่นดังกล่าว ซึ่งปริมาณน้ำที่มากกว่าปกติในกัมพูชาช่วยทำให้โตนเลสาบมีน้ำท่วมพื้นที่เป็นวงกว้างมากขึ้น รวมทั้งยังมีทำให้น้ำท่วมพื้นที่ตามฤดูกาลในแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เวียดนามเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ลุ่มน้ำโขงตอนล่างมีน้ำมากที่สุดในรอบ 4 ปี ช่วงใกล้ฤดูน้ำหลากสูงสุด
เมื่อเปรียบเทียบความชื้นที่ผิวดินของช่วงสัปดาห์สุดท้ายในเดือนกันยายนปี 2022 กับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อปี 2019-2021 ทำให้เห็นข้อมูลชัดเจนว่าลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างค่อนข้างชุ่มน้ำ และระดับความชื้นในปีนี้นับว่าเป็นไปตามปกติสำหรับช่วงเวลานี้ของปี ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากและวงจรน้ำท่วมของแม่น้ำโขงอยู่ในช่วงน้ำหลากสูงสุด
ที่มา :
https://monitor.mekongwater.org
https://monitor.mekongwater.org/home/?v=_376766c8a9498a0e8a0c_fadc72f