เครื่องหมายอัศเจรีย์

โลก เผชิญผลกระทบภาวะโลกรวนอย่างหนัก หลังอุณหภูมิสูงทำสถิติร้อนสุดเป็นอันดับที่ 8

Temp

อุณหภูมิ โลก ในระยะ 8 ปีที่ผ่านมาทำสถิติร้อนสุดเป็นอันดับที่ 8 อันเป็นผลมาจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นและความร้อนที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ

รายงานประจำปี 2022 ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกระบุถึงสภาพเบื้องต้นของภูมิอากาศโลกปีนี้ว่าคลื่นความร้อนรุนแรง ภัยแล้งและน้ำท่วมหนักก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนจำนวนมากและสูญเงินเป็นจำนวนกว่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ทั้งนี้สัญญาณเตือนและผลกระทบจากภาวะโลกรวนกำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่านับแต่ปี พ.ศ. 2536 หรือเกือบถึง 10 มิลลิเมตร ทำลายสถิติของเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2563 นอกจากนี้ ในรอบ 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา น้ำทะเลสูงขึ้นราว 10% เมื่อเทียบกับความสูงที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดนับตั้งแต่มีการวัดด้วยระบบดาวเทียมเป็นครั้งแรกเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว

นอกจากนี้ปี พ.ศ. 2565 ยังเป็นปีที่ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรปได้รับผลกระทบอย่างหนัก แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์สูญเสียมวลเป็นปีที่ 26 ติดต่อกัน ทั้งยังพบฝนตกแทนที่จะเป็นหิมะเป็นครั้งแรกเมื่อกันยายนที่ผ่านมา

โลก รวน 3

มีการประเมินว่าค่าอุณหภูมิ โลก โดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2565 จะสูงกว่าก่อนยุคอุตสาหกรรมเมื่อช่วงคริสศตวรรษที่ 1850-1900 อยู่ที่ราว 1.15 (จาก 1.02 เป็น 1.28) องศาเซลเซียส แม้ว่าปรากฏการณ์ลานีญาอาจช่วยทำให้ปีนี้โลกร้อนสุดเป็นอันดับที่ 5 หรือ 6 จากสถิติทั้งหมด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแนวโน้มในระยะยาวจะเปลี่ยนแปลง เพียงแต่รอว่าปีไหนจะทำลายสถิติเท่านั้น

สรุปได้ว่าโลกยังคงร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินว่าอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2556 จนถึง 2565 เพิ่มขึ้น 1.14 (จาก 1.02 เป็น 1.27) องศาเซสเซียส ตัวเลขดังกล่าวเปรียบเทียบกับ 1.09 องศาเซสเซียสระหว่างปี พ.ศ. 2554 จนถึง 2563 ดังระบุในรายงานประเมินอุณหภูมิครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

นอกจากนี้ อุณหภูมิของมหาสมุทรร้อนทำลายสถิติในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาเมื่อปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นปีที่มีการประมินล่าสุด

ศาสตราจารย์ Petteri Taalas เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าวว่า ยิ่งโลกร้อนขึ้นเท่าใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันในชั้นบรรยากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่สูงมากจนเกือบจะถึงระดับ 1.5 องศาเซสเซียสซึ่งเป็นระดับเพดานอุณหภูมิตามข้อตกลงปารีส

การละลายของธารน้ำแข็งหลายแห่งจะดำเนินต่อไปในระยะเวลาหลายร้อยปี และอาจละลายหมดภายในเสียก่อนที่จะถึงพันปี ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาลต่อความมั่นคงทางน้ำ ขณะเดียวกันระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงเป็นอัตรา 2 เท่าในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการวัดความสูงของน้ำทะเลเป็นหน่วยมิลลิเมตรทุกปี แต่หากมองในภาพใหญ่แล้วระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นนี้รวมเป็นหลักครึ่งถึง 1 เซนติเมตรต่อศตวรรษ ซึ่งนับเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ในระยะยาวสำหรับคนหลายล้านคนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งและประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่ำ

ศาสตราจารย์ Petteri กล่าวเน้นย้ำว่า ผู้ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกรวนน้อยที่สุดกลับเป็นผู้ที่รับผลกระทบมากที่สุด เห็นได้จากน้ำท่วมใหญ่ที่ปากีสถาน และภัยแล้งอันยาวนานในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้แม้กระทั่งสั่งคมที่เตรียมตัวรับมือสภาพอากาศสุดขั้วไว้อย่างดีก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เห็นได้จากปรากฏการณ์คลื่นความร้อนและภัยแล้งในยุโรปหลายประเทศและทางตอนใต้ของจีน

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO ได้ออกรายงานสถานการณ์ภูมิอากาศโลกเบื้องต้น และภาพแผนที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการประชุม COP27 ที่เมืองชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ รายงานนี้จะมีการตีพิมพ์ทุกปีและเป็นการรวบรวมสถานการ์ปัจจุบันของสภาพภูมิอากาศโลก โดยใช้มาตรวัดด้านภูมิอากาศที่สำคัญๆ รวมถึงรายงานสภาพอากาศสุดขั้วและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตัวเลขของอุณหภูมิที่ปรากฎในรายงานเบื้องต้นประจำปี พ.ศ. 2565 นี้เป็นสถิติถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ จะมีการตีพิมพ์รายงานฉบับสมบูรณ์ของทั้งปีในเดือนเมษายนปีหน้า

โลก รวน 1
เหตุการณ์ทางภูมิอากาศที่สำคัญในรอบปี

ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกหลักๆ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ได้ทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2564 ขณะที่ระดับความเข้นข้นของก๊าซมีเทนในรอบปีเพิ่มสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ สถิติจากสถานีติดตามสภาพภูมิอากาศหลายแห่งระบุว่า ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ชนิดจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปในปี พ.ศ. 2565

อุณหภูมิ: มีการประเมินว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2565 จะสูงขึ้นกว่าอุณหภูมิโดยเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมในช่วงคริสศตวรรษที่ 1850-1900 อยู่ที่ราว 1.15 (จาก 1.02 เป็น 1.28) องศาเซสเซียส อีกทั้งคาดว่า ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2565 จะเป็นปีที่ร้อนสุดเป็นอันดับ 8  ทั้งนี้ ปรากฎการณ์ลานีญาได้กำหนดสถานการณ์ภูมิอากาศโลกมาตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 และคาดว่าจะคงดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ปรากฏการณ์ลานีญาทำให้อุณหภูมิโลกค่อนข้างต่ำกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นระดับที่สูงกว่าเมื่อมีปรากฏการณ์ลานีญาครั้งก่อนหน้าเมื่อปี พ.ศ. 2554

ธารน้ำแข็งและน้ำแข็ง: ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ในยุโรปละลายทำสถิติในปี พ.ศ. 2565 ธารน้ำแข็งทั่วเทือกเขาแอลป์สูญเสียความหนาโดยเฉลี่ระหว่าง 3-4 เมตร ซึ่งมากกว่าปี พ.ศ. 2546 ที่มีการบันทึกสถิติสูงสุดก่อนหน้า

จากการวัดเบื้องต้น ธารน้ำแข็งในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สูญเสียปริมาตรทั้งหมดถึง 6% ระหว่างปี พ.ศ. 2564 และ 2565 อีกทั้ง นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ไม่มีหิมะตกจนถึงฤดูร้อนแม้ในพื้นที่อยู่ระดับสูงที่สุด ทำให้ไม่มีน้ำแข็งใหม่เกิดขึ้นทดแทน โดยระหว่างปี พ.ศ. 2564 และ 2565 ปริมาตรของธารน้ำแข็งในสวิตเซอร์แลนด์ลดลงจาก 77 ลูกบาศก์กิโลเมตร จนเหลือ 49 ลูกบาศก์กิโลเมตร ซึ่งลดลงมากกว่า 1 ใน 3 ของทั้งหมด

ระดับน้ำทะเลโลกโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 3.4 มิลลิเมตรต่อปีตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึง 2565 ตั้งแต่มีการเก็บสถิติด้วยดาวเทียม การเพิ่มขึ้นนี้มีอัตราเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2536 จนถึง 2545 และ ปี พ.ศ. 2556 จนถึง 2565 อีกทั้ง ระดับน้ำทะเลก็เพิ่มสูงขึ้นราว 5 มิลลิเมตรระหว่างเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2564 และ 2565 การเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วนี้จะทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น

โลก รวน 2

ความร้อนของมหาสมุทร: มหาสมุทรดูดซับความร้อนประมาณ 90% จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ อุณหภูมิของพื้นผิวด้านบนมหาสมุทรลึก 200 เมตรสูงขึ้นทำลายสถิติในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่มีการเก็บข้อมูล มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้นในอัตราที่สูงเป็นพิเศษในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมา คาดว่ามหาสมุทรจะยังคงร้อนขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในห้วงเวลาร้อยถึงพันปีนี้

55% ของพื้นผิวมหาสมุทรเผชิญกับคลื่นความร้อนทางทะเลอย่างน้อย 1 ครั้งในปี พ.ศ. 2565 ในทางตรงกันข้าม พื้นผิวมหาสมุทรเพียง 22% เท่านั้นที่เผชิญปรากฏการณ์กระแสน้ำเย็น ทั้งนี้คลื่นความร้อนทางทะเลเป็นปรากฏการณ์ที่พบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับปรากฏการณ์กระแสน้ำเย็น

น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกมีพื้นที่ลดลงจากค่าเฉลี่ยในระยะยาวเมื่อเทียบกับปีส่วนใหญ่ พื้นที่ของน้ำแข็งในเดือนกันยายนที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.87 ล้านตารางกิโลเมตร หรือน้อยกว่าปริมาณพื้นที่โดยเฉลี่ยในระยะยาวถึง 1.54 ล้านตารางกิโลเมตร ทั้งนี้พื้นที่น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกลดลงเหลือเพียง 1.92 ล้านตารางกิโลเมตรเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และน้อยกว่าพื้นที่โดยเฉลี่ยในระยะยาวเกือบ 1 ล้านตารางกิโลเมตร

สภาพอากาศสุดขั้ว: ในทวีปแอฟริกาตะวันออก ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยติดต่อกันเป็นฤดูกาลที่ 4 ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบ 40 ปี และหมายถึงฤดูฝนในปีนี้จะยังคงแห้งแล้ง ผู้คนราว 18.4 ถึง 19.3 ล้านคนประสบวิกฤตอาหารหรือภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารเฉียบพลันช่วงก่อนเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จากภัยแล้งที่ยืดเยื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ หน่วยงานให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมหลายแห่งเตือนว่า หากยังมีปริมาณฝนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในฤดูกาลถัดไป จะทำให้ไม่สามารถเก็บพืชผลได้และทำให้สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารทวีความรุนแรงขึ้นในเคนย่า โซมาเลีย และเอธิโอเปีย

ในทางกลับกัน ปริมาณฝนที่มากเป็นประวัติการณ์ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมก่อให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน คร่าชีวิตผู้คนกว่า 1,700 คน และกระทบคนกว่า 33 ล้านคน ทำให้คน 7.9 ล้านคนไม่มีที่อยู่อาศัย น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดคลื่นความร้อนรุนแรงที่อินเดียและปากีสถานในเดือนมีนาคมและเมษายน

ทวีปแอฟริกาตอนใต้เผชิญพายุไซโคลนหลายลูกติดต่อกันในช่วง 2 เดือนแรกของปี ก่อให้เกิดฝนตกและน้ำท่วมหนักในมาดากัสการ์ นอกจากนี้พายุเฮอร์ริเคนเอียนได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง และทำคร่าชีวิตผู้คนในคิวบาร์ และทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฟอริดา สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกันยายน

นอกจากนี้ พื้นที่ซีกโลกเหนือในวงกว้างทั้งร้อนและแห้งแล้งมากกว่าปกติ จีนเผชิญคลื่นความร้อนที่รุนแรงและยาวนานที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ ขณะที่ฤดูร้อนในจีนมีความแห้งแล้งเป็นอันดับ 2 จากที่มีการบันทึกสถิติ แม่น้ำแยงซีที่เมืองอู่ฮั่นมีน้ำน้อยที่สุดเท่าที่ประวัติศาสตร์มีการบันทึก เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

พื้นที่ยุโรปในวงกว้างเผชิญความร้อนสุดขั้วหลายระลอก ขณะที่สหราชอาณาจักรมีอุณหภูมิร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม หรือมากกว่า 40 องศาเซสเซียสเป็นครั้งแรก ตามด้วยภัยแล้งอย่างต่อเนื่องและไฟป่า แม่น้ำในยุโรป ได้แก่ แม่น้ำไรน์ ลัวร์ และดานูบมีปริมาณน้ำน้อยขั้นวิกฤต

ที่มา : https://public.wmo.int/en/media/press-release/eight-warmest-years-record-witness-upsurge-climate-change-impacts

แชร์