วันนี้….. ประเทศไทยพบค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ระดับสีแดงใน 11 จังหวัด คือ จ.ปทุมธานี ,กรุงเทพมหานคร ,นครปฐม ,สมุทรปราการ ,สมุทรสาคร ,สระบุรี ,พระนครศรีอยุธยา ,ราชบุรี ,สมุทรสงคราม ,หนองคาย และนครราชสีมา ซึ่งเป็นระดับที่อันตรายหากรับฝุ่นเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก อาจเกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และสุขภาพปอด
ขณะที่สถานการณ์ในภาคเหนือ ปริมาณค่าฝุ่นPM2.5 อยู่ที่ 10-40 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณค่าฝุ่นPM2.5 อยู่ที่ 20-66 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ,ภาคตะวันออกคุณภาพฝุ่นอยุ่ในระดับปานกลาง ปริมาณค่าฝุ่นPM2.5 อยู่ที่ 29-48 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ,ภาคกลางและตะวันตก อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณค่าฝุ่นPM2.5 อยู่ที่ 44-60 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ,กทม.-ปริมณฑล อยู่ในเกณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณค่าฝุ่นPM2.5 อยู่ที่ 42-77 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ,ภาคใต้ ปริมาณค่าฝุ่นPM2.5 อยู่ที่ 11-18 ไมโครกรัม/ลบ.ม.

ข้อมูลของ รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบุว่า มาตรฐานของฝุ่น PM2.5 ปัจจุบันถูกใช้มาเกือบ 12 ปี โดยยังไม่เคยมีการปรับเลย ค่ามาตรฐานฝุ่นพิษ PM2.5 ของไทยเฉลี่ย 24 ชั่วโมง คือ 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยรายปี คือ 25 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ซึ่งปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก(WHO) มีคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนค่ามาตรฐานใหม่ เฉลี่ย 24 ชั่วโมง คือ 15 ไมโครกรัม/ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยรายปี คือ 5 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ดังนั้นเมื่อประเทศไทยยังไม่ปรับค่ามาตรฐานเกณฑ์การวัดระดับฝุ่น PM2.5 ให้น้อยลงตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ก็จะส่งผลให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าระดับค่าฝุ่นที่ยังไม่ถึง 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. เป็นระดับที่ปลอดภัย ทั้งที่ความจริงแล้วค่าฝุ่นมีอันตรายตั้งแต่ที่ 15 ไมโครกรัม/ลบ.ม.แล้ว
รศ. ดร.วิษณุ ยังมองว่า รัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของคนไทยมากกว่านี้ โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงต่อสุขภาพ มากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืนอย่างเดียว โดยข้อมูลของธนาคารโลกประเมินว่า ไทยมีจำนวนปีที่สูญเสียไปเนื่องจากการเจ็บป่วยและพิการ 65,373 ปี สูงเป็นอันดับ 11 ของโลกจาก 180 ประเทศ และมีจำนวนการสูญเสียชีวิต 25,432 คน สูงเป็นอันดับ 22 ของโลกจาก 180 ประเทศ ซึ่งมากกว่าการ