เครื่องหมายอัศเจรีย์

GISTDA สรุปผลกระทบ แม่น้ำมูล หลังเหตุการณ์พายุโนรู

ภาพที่ 1 คือภาพเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำริมฝั่งแม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี ก่อน VS หลัง ได้รับผลกระทบจากพายุโนรู

GISTDA (จิสด้า) แสดงภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์  ก่อน-หลัง  ผลกระทบที่เกิดจากอิทธิพลของพายุโนรู รวมถึงฝนที่ตกในพื้นที่บริเวณริมน้ำมูล จ.อุบลราชธานี   ข้อมูลจากดาวเทียม Pléiades (เปลยาด) วันที่ 5 ต.ค.65  พบว่ามีน้ำท่วมขังตลอดแนวสองฝั่งริมแม่น้ำมูลที่ไหลผ่านในอ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมลุ่มต่ำ บ้านเรือนประชาชน และเส้นทางการจราจร

-สอดคล้องกับ ว่าที่ ร.ต.มนตสง่า ลีลาศสง่างาม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี ให้ข้อมูลกับศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ ระบุว่า ขณะนี้มีพื้นที่กว่า 309,710 ไร่ ใน จ.อุบลราชธานี ได้รับผลกระทบ ซึ่งมวลน้ำจาก อ.เมืองอุบลราชธานี จะไหลต่อไปยัง อ.โขงเจียม ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป

ภาพที่ 2 คือภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์ ก่อน-หลัง ผลกระทบที่เกิดจากอิทธิพลของพายุโนรู รวมถึงฝนที่ตกในพื้นที่ ด้วย ข้อมูลจากดาวเทียมเช่นกัน แต่เป็นภาพริมฝั่งแม่น้ำชี ในจ.ยโสธร และอุบลราชธานี(เฉพาะริมฝั่งแม่น้ำชี) จากข้อมูลคาดว่าทั้ง 2 จังหวัด มีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวมกันกว่า 150,000 ไร่ โดยมวลน้ำทั้งหมดจากแม่น้ำชี จะเดินทางต่อไปลงแม่น้ำมูล
ภาพที่ 3 คือภาพเปรียบเทียบปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ ก่อนVSหลัง ผลกระทบที่เกิดจากอิทธิพลของพายุโนรู รวมถึงฝนที่ตกในพื้นที่

GISTDA แสดงภาพเปรียบเทียบ จากข้อมูลจากดาวเทียมพบข้อมูลล่าสุด (7ต.ค.65) ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนอุบลรัตน์   ก่อน-หลัง ผลกระทบที่เกิดจากอิทธิพลของพายุโนรู   พบว่าขณะนี้มีปริมาณน้ำเกินความจุไปกว่า 132% ทำให้ต้องเพิ่มการระบาย ซึ่งมวลน้ำจากเขื่อนก็จะไหลไปเติมพื้นที่ริมน้ำพอง ใน จ.ขอนแก่น ที่ได้รับผลกระทบถูกน้ำท่วมไปก่อนหน้านี้ ทำให้สถานการณ์ยืดเยื้อต่อไปอีกระยะ และไม่เพียงเฉพาะ จ.ขอนแก่น แต่มวลน้ำดังกล่าวจะไหลต่อไปจนถึงพื้นที่ริมแม่น้ำชี จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ก่อนไหลไปบรรจบที่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งจากการตรวจสอบพื้นที่ พบน้ำสูงเฉลี่ย 3-5 เมตรแล้วในจุดลุ่มต่ำ แต่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นกว่านี้

ภาพที่ 4 ข้อมูลเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำท่วมของไทย ตามสถิติปีที่ถือว่ามีระดับรุนแรง

แม้ว่าพายุโนรูจะสลายตัวไปเกือบสัปดาห์ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้หลายพื้นที่ในภาคอีสานยังคงได้รับความเสียหาย เนื่องจากมวลน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับน้ำคงค้างยังมีอยู่มาก แต่จากการประเมินสถานการณ์ภาพรวมด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ในช่วงปีสำคัญ คือ ปี 2554, 2562, 2564 และ 2565 พบสถานการณ์ของปี 2565 ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงเท่าปี 2562

*สถานการณ์น้ำท่วมของภาคอีสานจะเปรียบเทียบความรุนแรงโดยอ้างอิงจากปี 2562 แตกต่างจากภาคกลางที่อ้างอิงจากปี 2554

แชร์