การกระจายวัคซีนไปยังชาวอเมริกันคือ “หายนะ” แต่ยังไม่สายที่จะแก้ไข

ความตอนหนึ่งจากบทความของ Peter Hotez ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์และไวรัสวิทยาระดับโมเลกุลและจุลชีววิทยา Baylor College of Medicine ในฐานะผู้อำนวยการร่วมของ Texas Children’s Center for Vaccine Development ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เดอะวอชิงตันโพสต์
บทความดังกล่าวระบุว่า สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับภารกิจท้าทาย เนื่องจาก ต้องฉีดวัคซีนให้แก่ชาวอเมริกันประมาณ 3 ใน 4 เพื่อควบคุมและหยุดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ภายในวันที่ 1 กันยายน โดยแปดเดือนหลังจากนี้ต้องได้เป้าประมาณ 240 ล้านคน หรือเฉลี่ยเท่ากับ 1 ล้านคน ทุกวันนับจากนี้ และหากจะการป้องกันโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละคนจะต้องได้รับการฉีดถึง 2 โดส นั่นหมายความว่าต้องมีวัคซีน 2 เท่าของปริมาณที่ต้องการ ขณะที่วัคซีนมีเพียง 2 บริษัท ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองเรื่องไวรัสโคโรนาของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ไม่มีแนวทางการตอบโต้ที่ชัดเจน
สิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ของสหรัฐฯ คือ การดำเนินการขยายกำลังการจัดส่งวัคซีน แม้ฝ่ายบริหารของโดนัลด์ ทรัมป์ มีความพยายามในการนำวัคซีนออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงในการทดลองระยะที่ 3 ก่อนกำหนด คือก่อนสิ้นปี 2020 และถึงจะมีการจัดส่งวัคซีนที่รวดเร็วแต่ก็ไม่มีความคิดริเริ่มที่ครอบคลุมสำหรับการฉีดวัคซีน ฝ่ายบริหารของทรัมป์ทำเพียงส่งวัคซีนไปยังรัฐต่าง ๆ โดยยังคงสภาพสมบูรณ์และถูกแช่แข็งอย่างปลอดภัย ไม่มีแผนอะไรนอกเหนือจากนั้น
ส่วนพื้นที่ที่ต้องการวัคซีนปริมาณมาก คือ พื้นที่รถไฟใต้ดินขนาดใหญ่ เช่น บอสตัน วอชิงตันดีซี และฮูสตัน จำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้กับผู้คนอย่างน้อย 10,000 คน ทุกวันเป็นเวลาแปดเดือน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 มีเพียง 139,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนในแมสซาชูเซตส์ 21,000 คน ในวอชิงตันและประมาณ 105,000 คน ในแฮร์ริสเคาน์ตี้เท็กซัส ซึ่งไม่ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้
Peter Hotez ให้ข้อมูลว่า ให้ข้อมูลว่า การจะถึงเป้าหมายต้องมีการใช้โครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมเพื่อฉีดวัคซีนให้กับผู้คนจำนวนมากในแต่ละครั้ง อาจสร้างฮับขนาดใหญ่ในสนามกีฬากลางแจ้ง เช่น Gillette Stadium หรือ Fenway Park ในแมสซาชูเซตส์ หรือ Yankee Stadium และ Citi Field ในนิวยอร์ก เป็นต้น และในแต่ละที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพรวมถึงทีมที่สามารถจัดการผู้ป่วยได้ในกรณีที่มีคนมีอาการแพ้อย่างรุนแรง แต่ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่รัฐบาลต้องยอมจ่าย ทั้งในด้านโลจิสติกส์และการสนับสนุนทางการเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้คน 10,000 ถึง 20,000 คนต่อวันในพื้นที่เมืองใหญ่ การตั้งศูนย์การฉีดวัคซีนไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เพียงอย่างเดียว และยังรวมถึงการจ้างผู้ฉีดวัคซีน เจ้าหน้าที่สนับสนุนหลายร้อยหรือหลายพันคน การจ่ายเงินสำหรับพนักงานรักษาความปลอดภัย และที่จอดรถ
ศาสตราจารย์ยังมองว่า วัคซีน mRNA ทั้งสองชนิดที่อนุมัติให้ใช้ได้ในปี 2564 อาจไม่เพียงพอ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องอนุมัติการปล่อยวัคซีนตัวอื่นอีก 3 ตัว เป็นกรณีฉุกเฉิน ซึ่งขณะนี้เสร็จสิ้นการทดลองทางคลินิกแล้ว
ขณะที่ในประเทศไทย มีการจัดซื้อวัคซีน 2 ล้านโดส จากบริษัท ซิโนแวค เป็นวัคซีนเชื้อตาย ที่ผลิตโดยเทคโนโลยีดั้งเดิมที่มีความปลอดภัยสูง โดยในประเทศจีนมีการฉีดวัคซีนตัวนี้ในกรณีฉุกเฉินให้กับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งยังไม่พบว่ามีรายงานผลข้างเคียงชนิดรุนแรง ไทยเองจะมีการทยอยนำเข้ามาล็อตแรกปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ก่อนนำเข้าล็อตถัดไปในเดือนมีนาคมและเมษายน
ส่วนแผนการจัดสรรวัคซีน 2 แสนโดสแรก ที่จะเข้ามาฉีดในสถานการณ์เร่งด่วน จะมีการฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว นอกจากนี้ ยังให้กับบุคลากรทางสาธารณสุข และบุคลากรที่ทำงานหน้าด่านในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 5 จังหวัด คือ สมุทรสาคร ชลบุรี ระยองจันทบุรี และตราด โดยอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมพิจารณาสถานพยาบาลที่จะจัดบริการฉีด อบรมเจ้าหน้าที่ และลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชัน เพื่อติดตามการฉีดวัคซีนให้ครบ 2 โดส รวมถึงการติดตามผลข้างเคียง และผลหลังการรับวัคซีน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า หลังการรับวัคซีน จะมีการดำเนินการติดตามเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ผู้รับวัคซีนทุกราย เป็นเวลา 4 สัปดาห์ มีระบบบันทึกข้อมูล หากมีอาการรุนแรงจะมีคณะกรรมการตรวจสอบอาการไม่พึงประสงค์ ทำการสอบสวนและหยุดการฉีดวัคซีนไว้ก่อน
อ้างอิง : https://www.washingtonpost.com/outlook/2021/01/11/vaccine-distribution-how-fix/